อิมเมซีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อิมเมซีน (อังกฤษ: Imazine) เป็นเครื่องหมายการค้า ที่เกิดจากการร่วมทุนของชาวเกาหลี ชื่อว่า "หลิน" (อาจารย์และนักออกแบบ) และชาวฮ่องกงชื่อว่า "พอล" ทั้ง 2 คนนี้เป็นเพื่อนสนิทกัน โดยเครื่องหมายการค้านี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2006 หลังจากที่ หลิน ได้ออกแบบนาฬิกาข้อมือซึ่งได้รับรางวัลการออกแบบยอดเยี่ยมประจำประเทศเกาหลี (GOOD DESIGN AWARD) ของ KIDP ทำให้หลินได้มาเริ่มเจรจากับ พอล ในการที่จะประดิษฐ์นาฬิกาข้อมือดังกล่าวให้สามารถใช้ได้จริง โดยผู้ออกแบบมีบริษัทของตนอยู่แล้ว คือ Jupiter Project (Jupiter Design) ในประเทศเกาหลี ซึ่งได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น

ประวัติ[แก้]

เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศคือเกาหลี และฮ่องกง ต่างก็มีอาณาเขตใกล้กับประเทศจีน จึงทำให้มีการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศจีน โดยเริ่มแรกนั้น บริษัทฯได้ดำเนินการตลาดในประเทศเกาหลี จีน และฮ่องกง โดยยังคงซึ่งมาตรฐานการผลิตคุณภาพสูงโดยมีทางเกาหลีควบคุมการผลิต ต่อมาจึงได้มีการขยายตลาดไปยังประเทศใกล้เคียงมากขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่น (ซึ่งประเทศญี่ปุ่นเองผลิตภัณฑ์ประเภทอิออนลบเป็นที่แพร่หลายมากอยู่แล้ว) ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และเริ่มมีการขยายไปยังตลาดโลกอันได้แก่ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา อิตาลี อัฟริกาใต้ รวมทั้งในประเทศไทยด้วย

ที่มาของเครื่องหมายการค้า[แก้]

เครื่องหมายการค้าจะเป็นรูปคล้ายกับนาฬิกาทราย ซึ่งบ่งบอกถึงเวลา และเป็นการเล่นคำของคำว่า Imagine (จินตนาการ) คือ การจินตนาการถึงเวลา โดยสินค้าตัวแรกเองนั้นก็คือ นาฬิกาข้อมือนั่นเอง

สาเหตุที่ทำให้เป็นที่รู้จัก[แก้]

อย่างแรกคือ การได้รับรางวัลการออกแบบยอดเยี่ยม และต่อมานิตยสาร Times ในประเทศเกาหลี ได้ลงว่า "Imazine" เป็นสินค้าที่ได้รับการคัดเลือกจากกลุ่มลูกค้าว่าเป็น 21'C Leading Company (Blue Ocean Industry and Brand) และเริ่มเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในประเทศแถบยุโรป ซึ่งมีการ ODM สินค้าของอิมเมซีน ภายใต้ตราสินค้าว่า "breo" (ประเทศอังกฤษ) และ "io?ion?" (ประเทศอิตาลี) ซึ่งสร้างความโด่งดังเป็นอย่างมาก ด้วยดีไซน์ที่แปลกใหม่ และเหมาะสำหรับทั้งนักกีฬาหรือผู้หลงใหลในแฟชั่น

ของละเมิดลิขสิทธิ์และของปลอม[แก้]

เนื่องด้วยสินค้าเริ่มมีชื่อเสียงในวงกว้าง การลอกเลียนแบบจึงเกิดขึ้น โดยปัจจุบันมีสินค้าที่ลอกเลียนแบบตัวสินค้า และมีการแอบอ้างชื่อตราสินค้า แต่ใช้เป็นชื่ออื่น เช่น Ion watch หรือใช้เป็นรูปสินค้าแทนตราสินค้า เป็นต้น โดยทั้งนี้เองเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นของจริง หรือของปลอม ที่สังเกตได้จากตัวสินค้าเลยจะเป็น คุณภาพของยางที่ใช้หรือแม้กระทั่งสีที่จะเห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจน แตกหากไม่มีตัวเทียบแล้ว แนะนำให้ดูที่บรรจุภัณฑ์ เช่น กรณีของประเทศไทย บรรจุภัณฑ์จะมีสีสันที่สดใส และเมื่อซื้อสินค้ามาแล้ว สามารถนำไปลงทะเบียนได้ผ่านเว็บไซต์ของสาขาในประเทศไทย เป็นต้น และของแท้สามารถตรวจวัดค่าปริมาณอิออนลบที่มีในผลิตภัณฑ์ได้จริง ซึ่งสามารถวัดค่าปริมาณอิออนได้ด้วยเครื่องมือวัด COM-PRO-3010 (ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น)

อ้างอิง[แก้]

  1. JUPITER PROJECT
  2. IMAZINE BRAND; www.imazinebrand.com เก็บถาวร 2009-07-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. IMAZINE of South Africa เก็บถาวร 2009-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. IMAZINE USA
  5. breo (United Kingdom) เก็บถาวร 2009-09-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. io?ion? (Italy)
  7. ข้อมูลเกี่ยวกับอิออนลบ เก็บถาวร 2009-07-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน