อินดี 800

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อินดี 800
ผู้พัฒนาอาตาริ อิงค์.
ผู้จัดจำหน่าย
เครื่องเล่นอาร์เคด
วางจำหน่าย
แนวแข่งความเร็ว
รูปแบบผู้เล่นสูงสุด 8 คน

อินดี 800 (อังกฤษ: Indy 800) เป็นวิดีโอเกมแข่งความเร็วอาร์เคดที่ได้รับการเปิดตัวใน ค.ศ. 1975 โดยบริษัทอาตาริ อิงค์.[3] และจัดจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นโดยนากามูระ เซซากูโช (นัมโค)[1]

เทคโนโลยี[แก้]

เกมดังกล่าวตั้งอยู่ในตู้สี่เหลี่ยมแบบกำหนดเองขนาดใหญ่ที่ใช้พื้นที่ 16 ตารางฟุต (1.5 ตร.ม.) แต่ละด้านของตู้มีพวงมาลัยสองพวงและคันเหยียบสี่คัน ส่วนจอภาพขนาด 25 นิ้วติดตั้งไว้ที่ด้านบนสุดของตู้และมองลงมาด้านล่าง[4] เกมดังกล่าวใช้จอแสดงผลอาร์จีบีแบบสีเต็มรูปแบบและไม่ใช้การซ้อนทับสี

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับการประมวลผลประกอบด้วยกล่องใส่การ์ดที่มี "แบ็กเพลน" หรือ "มาเธอร์บอร์ด", แปดแผงฟังก์ชันรถที่เหมือนกัน และสามแผงประมวลผลทั่วไปที่ไม่ซ้ำกัน ซึ่งแผงแบ็กเพลนรองรับและเชื่อมต่อถึงกัน แผงทั้ง 11 แผงมีไอซี เรกูเลเตอร์ 5 โวลต์คงที่ในตัว วงจรลอจิกทั้งหมดเป็นแบบทีทีแอล และไม่มีการใช้ไมโครโปรเซสเซอร์

แต่ละเกมขายพร้อมแผงรถสำรองสองแผง และหนึ่งในสามแผงประมวลผล เพื่อให้เจ้าของเกมสามารถซ่อมมันได้โดยการเปลี่ยนแผงวงจรอย่างง่าย ส่วนแผง "ตัวขยายการ์ด" สองแผงได้รับการตกแต่งด้วยแต่ละเกมที่จำหน่าย ซึ่งช่วยให้ช่างเทคนิคสามารถตรวจสอบส่วนประกอบแต่ละส่วนบนแผงต้องสงสัยในขณะที่ยังคงใช้งานอยู่ในเกม นอกจากนี้ ยังมีการติดตั้งชุดลอจิกไดอะแกรมของแผงวงจรครบชุด เช่นเดียวกับชุดแผนผังสำหรับจอภาพสีจีอี ที่ได้รับการดัดแปลง

และตู้นี้ยังมีกระจกเหนือศีรษะเพื่อให้ผู้ชมได้ชมเกมในขณะที่กำลังเล่นอยู่

รูปแบบการเล่น[แก้]

รูปแบบการเล่นเป็นการจำลองการแข่งความเร็วรูปแบบอินเดียแนโพลิส 500 ซึ่งผู้เล่นแข่งกันด้วยรถแข่งอินดีคาร์จำลอง โดยผู้เล่นแข่งความเร็วรถแบบก้อนเหลี่ยมรอบ ๆ ลู่วิ่งที่เรียบง่ายพร้อมมุมมองจากด้านบนลงล่าง ส่วนสีรถของผู้เล่นคือม่วง, พีช, เหลือง, เขียว, ฟ้าอ่อน, ขาว, แดง และน้ำเงินเข้ม

การตอบรับ[แก้]

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1976 ชาร์ตอาร์เคดของรีเพลย์ประจำปีแรกได้ระบุว่าอินดี 800 เป็นวิดีโอเกมอาร์เคดที่สร้างรายได้สูงสุดเป็นอันดับสี่ของปีที่แล้วในสหรัฐ ต่อจากแทงก์, วีลส์ และกันไฟต์[5] ส่วนในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1976 ทางรีเพลย์ได้ระบุว่าอินดี 800 เป็นวิดีโอเกมอาร์เคดที่มีรายได้สูงสุดเป็นอันดับสี่ของ ค.ศ. 1976 ในสหรัฐ ต่อจากซีวูล์ฟ, กันไฟต์ และวีลส์[6] นอกจากนี้ ในประเทศญี่ปุ่น เกมนี้เป็นวิดีโอเกมอาร์เคดที่ทำรายได้สูงสุดเป็นอันดับสิบเมื่อ ค.ศ. 1976[7]

สิ่งสืบทอด[แก้]

  • โคลนของเกมที่มีชื่อเดียวกันได้รับการเผยแพร่โดยคีเกมส์ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของอาตาริ
  • อินดี 800 ได้มีเกมที่ติดตามมาในปีต่อไปด้วยเวอร์ชันผู้เล่น 4 คนที่มีขนาดเล็กกว่าชื่ออินดี 4
  • อินดี 800 เวอร์ชันลดขนาดลงได้เป็นเกมเปิดตัวสำหรับอาตาริ 2600 ใน ค.ศ. 1977 โดยเปลี่ยนชื่อเป็นอินดี 500

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "Indy 800". Media Arts Database. Agency for Cultural Affairs. สืบค้นเมื่อ 31 May 2021.
  2. "Production Numbers" (PDF). Atari Games. August 31, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-05-10. สืบค้นเมื่อ April 19, 2021.
  3. "Indy 800 Killer List of Video Games Entry". สืบค้นเมื่อ 2007-07-10.
  4. "An Interview with Dan Van Elderen". Next Generation. No. 35. Imagine Media. November 1997. p. 81.
  5. "The Nation's Top Arcade Games". RePlay. March 1976.
  6. "Profit Chart". RePlay. October 1976.
  7. "本紙アンケー 〜 ト調査の結果" [Paper Questionnaire: Results of the Survey] (PDF). Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 65. Amusement Press, Inc. 1 February 1977. pp. 2–3.