อิงกิตาตุส
อิงกิตาตุส (ละติน: Incitātus, เสียงอ่านภาษาละติน: [ɪŋkɪˈtaːtʊs], แปลว่า "รวดเร็ว" หรือ "วิ่งเต็มที่") เป็นม้าทรงโปรดของจักรพรรดิกาลิกุลา (ค. 37 – 41 ) ตามตำนาน กาลิกุลาวางแผนแต่งตั้งม้าตัวนี้เป็นกงสุล แม้ว่าข้อมูลสมัยโบราณให้ความกระจ่างว่าสิ่งนี้ไม่เคยเกิดขึ้น
ตำนาน
[แก้]ซุเอโตนิอุสรายงานใน Lives of the Twelve Caesars (ค.ศ. 121) ไว้ว่า จักรพรรดิกาลิกุลาทรงวางแผนให้อิงกิตาตุสเป็นกงสุล[1] และม้าตัวนี้จะ "เชิญ" แขกผู้มีเกียรติไปรับประทานอาหารในบ้านที่มีคนรับใช้คอยให้ความบันเทิงในงานดังกล่าว ซุเอโตนิอุสยังเขียนอีกว่าม้าตัวนี้มีคอกที่ทำจากหินอ่อน รางใส่อาหารสัตว์ที่ทำจากงาช้าง ผ้าคลุมสีม่วง และปลอกคอที่มีหินมีค่าหลายก้อน
กัสซีอุส ดีโอ (ค.ศ. 155–235) ระบุว่าคนรับใช้เชิญม้าตัวนี้และให้อาหารมันด้วยข้าวโอ๊ตผสมเกล็ดทอง[2] และกาลิกุลาแต่งตั้งมันเป็นนักบวช[3]
ความถูกต้องทางประวัติศาสตร์
[แก้]มีการตั้งคำถามถึงความถูกต้องตามประวัติศาสตร์ของสิ่งนี้ นักประวัติศาสตร์อย่าง Anthony A. Barrett กล่าวแนะว่า นักประวัติศาสตร์ชาวโรมันยุคหลังอย่างซุเอโตนิอุสกับกัสซีอุส ดีโอได้รับอิทธิพลจากสถานการณ์ทางการเมืองในเวลาที่พวกเขายังมีชีวิตอยู่ เมื่อมันอาจมีประโยชน์ต่อจักรพรรดิสมัยปัจจุบันในการสร้างเสื่อมเสียแก่บรรดาจักรพรรดิยูลิอุส-เกลาดิอุสก่อนหน้า และลักษณะที่น่าสยดสยองของเรื่องราวได้เพิ่มอรรถรสให้กับเรื่องเล่าของพวกเขาและดึงดูดผู้อ่านเพิ่ม
นักวิชาการเสนอแนะว่าการปฏิบัติต่ออิงกิตาตุสของจักรพรรดิกาลิกุลาเป็นการเล่นตลกเชิงซับซ้อนโดยมีเจตนาเพื่อเยาะเย้ยและยั่วยุฝ่ายวุฒิสภา มากกว่าที่จะเป็นสัญญาณของความวิกลจริต หรือบางทีอาจเป็นรูปแบบหนึ่งของการเสียดสีโดยมีนัยว่าม้าสามารถทำหน้าที่วุฒิสมาชิกได้[4]
Barrett กล่าวว่า "มีเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับอิงกิตาตุสที่เผยแพร่ออกไป น่าจะมีต้นกำเนิดมาจากคำพูดที่ตลกขบขันของกาลิกุลาเอง...อาจเพราะอารมณ์ขันในทางที่ผิด กาลิกุลาจะกรวดน้ำให้ ซาลุส [สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี] แก่อิงกิตาตุส และอ้างว่าพระองค์ตั้งใจที่จะเลือกมันเป็นนักบวชร่วมกับพระองค์"[5]
ข้อมูลสมัยโบราณหลายแหล่งระบุชัดเจนว่าม้าตัวนี้ไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกงสุล[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Suetonius. De vita Caesarum, Caligula, 55: consulatum quoque traditur destinasse "it is also said that he planned to make him consul"
- ↑ Cassius Dio, Roman History LIX.14.
- ↑ Cassius Dio, Roman History LIX.28.
- ↑ Did Caligula really make his horse a consul?, Elizabeth Nix, History Channel, June 21, 2016
- ↑ Barrett, Anthony A. (1990). Caligula: The Corruption of Power. New Haven, CT: Yale University Press. ISBN 9780300046533.
- ↑ Mythbusting Ancient Rome – Caligula’s Horse, Shushma Malik and Caillan Davenport, The Conversation, May 4, 2017