อาวาร์ยูเรเชีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่แสดงตำแหน่งของอาณาจักรข่านของอาวาร์ราว ค.ศ. 600

อาวาร์ยูเรเชีย หรือ อาวาร์ยุโรป หรือ อาวาร์โบราณ (อังกฤษ: Eurasian Avars หรือ European Avars หรือ Ancient Avars) เป็นกลุ่มชนที่มีระบบสังคมที่มีระเบียบแบบแผน และเป็นสหพันธ์ของกลุ่มชนที่มีอำนาจที่มาจากหลายชาติพันธุ์ที่มีความสัมพันธ์กับชนบัลการ์, ชนคาซาร์ และกลุ่มชนที่พูดภาษาโอเกอร์ (Oghur languages) ในขณะนั้น อาวาร์ยูเรเชียปกครองโดยประมุขที่มีตำแหน่งเป็น “คากาน” หรือ “มหาข่าน” (Khagan หรือ Great Khan) ผู้ล้อมรอบตัวด้วยนักการทหารที่มาจากกลุ่มชนเร่ร่อน (nomad) ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับระบบของกลุ่มชนชนเตอร์กิกโดยทั่วไป อาวาร์ยูเรเชียปรากฏเป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในชื่อรูราน (Rouran) ที่ตั้งถิ่นฐานในบริเวณพรมแดนทางตอนเหนือของจีนและมีอำนาจอยู่ในบริเวณนั้นอยู่ราวสองร้อยปี[1] ก่อนที่จะมาปรากฏตัวในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกในคริสต์ศตวรรษที่ 6 และมามีอิทธิพลในบริเวณส่วนใหญ่ของที่ราบแพนโนเนียน (Pannonian Plain) มาจนกระทั่งถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 นอกจากในยุโรปแล้วอาวาร์ยูเรเชียยังปรากฏในอินเดียในชื่ออาเฮอร์ (ahir)

อ้างอิง[แก้]

  1. Christopher I. Beckwith, Empires of the Silk Road: A History of Central Eurasia from the Bronze Age to the Present (Princeton University Press, 2009: ISBN 978-0-691-13589-2), p. 103 ff., 406 ff.

ดูเพิ่ม[แก้]