อามีร์ มูฮัมมัด
อามีร์ มูฮัมมัด | |
---|---|
เกิด | กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย | 5 ธันวาคม ค.ศ. 1972
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยอีสต์แองเกลีย |
เว็บไซต์ | ผลงานโดยอามีร์ |
อามีร์ มูฮัมมัด (มลายู: Amir Muhammad) เป็นนักเขียนและนักสร้างภาพยนตร์อิสระ
ประวัติ
[แก้]เขาเกิดวันที่ 5 ธันวาคม 1972 ที่กัวลาลัมเปอร์ เป็นลูกของข้าราชการ มูฮัมมัด อับดุลละฮ์ กับแม่บ้าน อาซียะฮ์ เกอจิก และศึกษาที่มหาวิทยาลัยอีสต์แองเกลีย สหราชอาณาจักร ได้รับปริญญาทางกฎหมาย แม้ว่าเขาไม่เคยเป็นองค์คณะผู้พิพากษา แต่ทำงานให้กับบริษัทกฎหมายของบริษัทผู้สนับสนุนของเขาเป็นเวลา 9 เดือน[1]
เขาเขียนให้กับสื่อสิ่งพิมพ์มาเลเซียตั้งแต่อายุ 14 ปี ที่โดดเด่นคือหนังสือพิมพ์นิวเสตรทไทมส์ เขาเคยมีคอลัมน์ของตนเองใน ค.ศ. 1995 จนกระทั่งหยุดตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1999[1] ในช่วงกาลเลือกตั้งทั่วไป เนื่องจากคอลัมน์นี้ถูกมองว่า "ไม่เอื้อประโยชน์ให้รัฐบาลในการชนะการเลือกตั้ง"[2]
ในปี 2000 เขาเขียนบทและกำกับสารคดี DV เรื่องแรกของมาเลเซีย งานของเขาจำนวนหนึ่งถูกฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ เช่น เทศกาลภาพยนตร์ซันแดนซ์ และ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน ภาพยนตร์สองเรื่องของเขา Apa Khabar Orang Kampung และ The Last Communist ถูกแบนในมาเลเซีย งานย้อนหลังของเขาทั้งหมดถูกฉายที่เทศกาลภาพยนตร์ Pesaro Film Festival ในปี 2008 ที่อิตาลี Italy เขาเป็นหุ้นส่วนที่ Da Huang Pictures
เขาก็ตีพิมพ์หนังสือภายใต้นามของบริษัท Matahari Books ของตนเอง (ก่อตั้งใน ค.ศ. 2007)[3] และ Buku FIXI (ตั้งแต่ ค.ศ. 2011)[4] และหยุดพักจากการสร้างภาพยนตร์[5]
ผลงาน
[แก้]ภาพยนตร์
[แก้]- Lips to Lips (2000)
- The Big Durian (2003) - Special citation, Dragons and Tigers Award in 2004 Vancouver International Film Festival; Special mention, New Asian Currents in 2003 Yamagata International Documentary Film Festival
- The Year of Living Vicariously (2005)
- Tokyo Magic Hour (2005)
- The Last Communist (Lelaki komunis terakhir) (2006)
- Apa Khabar Orang Kampung (Village People Radio Show) (2007)
- Susuk (2008)
- Malaysian Gods (2009)
- Kisah Pelayaran Ke Terengganu (2016)[6]
ภาพยนตร์สั้น
[แก้]- 6horts #1: Lost (2002) - ชนะรางวัล Critics prize for Best Asian Digital Film ใน ค.ศ. 2002 ที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติสิงคโปร์ (SIFF)
- 6horts #2: Friday (2002)
- 6horts #3: Mona (2002)
- 6horts #4: Checkpoint (2002)
- 6horts #5: Kamunting (2002) - ชนะรางวัล Silver Screen Award for Best Asian Digital Short ใน ค.ศ. 2003 ที่ SIFF
- 6horts #6: Pangyau (2002)
- The Amber Sexalogy (2006)
หนังสือ
[แก้]- Yasmin Ahmad's Films (Matahari Books, 2009)
- Rojak (ZI Publications, 2010)
- 120 Malay Movies (Matahari Books, 2010)
- Malaysian Politicians Say the Darndest Things series (Matahari Books)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 McKay, Benjamin (13 October 2005). "A Conversation with Amir Muhammad". Criticine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-24. สืบค้นเมื่อ 13 October 2016.
- ↑ Bissme S. (30 June 2005). "A rebel with a cause". The Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-17. สืบค้นเมื่อ 16 January 2017 – โดยทาง BissmeTheSun.
- ↑ Tan May Lee (9 October 2010). "Catching up with Amir Muhammad". The Malaysian Insider. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2011.
- ↑ Ling (5 August 2014). "Fixi Forward". Poskod Malaysia (ภาษาอังกฤษ). PopDigital Sdn Bhd. สืบค้นเมื่อ 26 June 2016.
- ↑ "Hitting the books" in The Star (Malaysia) - 8 April 2009
- ↑ "Freedom Film Fest 2016 | Kisah Pelayaran ke Terengganu". freedomfilmfest.komas.org. FreedomFilmFest. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2016. สืบค้นเมื่อ 21 August 2016.