อาคารคิวนาร์ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาคารคิวนาร์ด
ข้อผิดพลาด Lua ใน มอดูล:Location_map บรรทัดที่ 522: Unable to find the specified location map definition: "Module:Location map/data/United Kingdom Liverpool Central" does not exist
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทOffice Building
สถาปัตยกรรมItalian Renaissance and สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีก
ที่ตั้งลิเวอร์พูล, ประเทศอังกฤษ
ผู้เช่าในปัจจุบันVariety of public and private sector firms
เริ่มสร้าง1914
แล้วเสร็จ1917
เจ้าของMerseyside Pension Fund
ข้อมูลทางเทคนิค
โครงสร้างคอนกรีตเสริมแรง with Portland Stone cladding
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกWilliam Edward Willink and Philip Coldwell Thicknesse
ผู้รับเหมาก่อสร้างHolland, Hannen & Cubitts

อาคารคิวนาร์ด (อังกฤษ: Cunard Building) เป็นสิ่งก่อสร้างที่ได้รับการประกาศให้เป็นอาคารอนุรักษ์ประเภท 2 และเป็น 1 ใน 3 อาคารที่สำคัญของเมืองลิเวอร์พูล สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำพื้นที่หัวมุมใกล้กับตึกลิเวอร์ และท่าเรือของเมือง นอกจากนี้ยังได้รับรองจากยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก ผู้ออกแบบอาคารคือวิลเลียม เอ็ดเวิร์ด วิลลิงก์ (William Edward Willink) และฟิลิป โคลด์เวลล์ ทิกเนสส์ (Philip Coldwell Thicknesse) สร้างขึ้นระหว่างปี 1914–1917 เป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากพระราชวังในอิตาลี เป็นสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีและกรีก ที่เน้นการตกแต่งด้านนอกอาคารให้มีความหรูหรา

ปี 1960 บริษัทคิวนาร์ดได้สร้างอาคารนี้ขึ้นเพื่อเป็นสถานีท่าสำหรับดำเนินธุรกิจการเดินทางจากลิเวอร์พูลไปแอตแลนติก โดยตั้งอยู่ตรงข้ามอาคารแอลเบียน สำนักงานใหญ่บริษัทไวต์สตาร์ไลน์ ปัจจุบันอาคารคิวนาร์ดได้ขายให้แก่บริษัทกองทุนเมอร์ซีย์ไซด์ และเปิดให้เข้าชมได้เป็นบางส่วน

ประวัติศาสตร์[แก้]

ย้อนกลับไปเมื่อปี 1914 เมื่อบริษัทเดินเรือคิวนาร์ดต้องการสร้างสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ เพื่อรองรับการขยายตัวของบริษัท และต้องอยู่ในลิเวอร์พูล[1] อาคารได้รับการออกแบบโดยวิลเลียม เอ็ดเวิร์ด วิลลิงก์ และฟิลิป โคลด์เวลล์ ทิกเนสส์ (William Edward Willink and Philip Coldwell Thicknesse) ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากพระราชวังสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี[2] และควบคุมการก่อสร้างโดยบริษัทฮอลแลนด์, ฮันเนน และคิวบิตส์ ช่วงปี 1914 – 1917 ส่วนที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างได้แก่ J.Davis [3] with Arthur J. Davis, of Mewes and Davis, acting as consultant on the project.[4]

ปี 1934 บริษัทคิวนาร์ดได้ควบรวมธุรกิจกับบริษัทไวต์สตาร์ไลน์ ทำให้กลายเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจขนส่งเส้นทางแอตแลนติกที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก และเมืองลิเวอร์พูลก็ได้กลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญเมืองหนึ่งอีกด้วย[2] ส่วนอาคารคิวนาร์ดหลังจากควบรวมกิจการแล้วยังคงเป็นอาคารสำนักงานใหญ่ต่อไป เพื่อใช้เป็นที่ทำงานแผนกธุรการ และขนส่งสินค้าทางเรือเข้าทางใต้อาคารเพราะอาคารตั้งอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำเมอร์ซีย์ และมีการออกแบบชั้นล่างของอาคารให้เรือสามารถแล่นเข้ามาได้ เรือหลายลำได้รับการออกแบบในตึกคิวนาร์ด สองลำในจำนวนนั้นคือ อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี (RMS Queen Mary) และอาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบท (RMS Queen Elizabeth)[5] ภายในอาคารคิวนาร์ดมีการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารที่เดินทางโดยเรือ และรถยนต์ รวมทั้งเพื่อให้บริการแก่พนักงานด้วยเช่นกัน ตัวอย่างของสิ่งอำนวยความสะดวกที่ให้บริการ เช่น ห้องพักผู้โดยสารโดยแยกแต่ละคลาส, ห้องสมุด, ห้องฝากกระเป๋า[6][7] ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เมืองลิเวอร์พูลกลายเป็นเมืองท่าหลักของเส้นทางเดินเรือไปยังแอตแลนติก[8] และช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อาคารได้ปรับปรุงโครงสร้างให้มีความทนทานต่อการถูกโจมตี และชั้นใต้ตินได้ปรับเป็นหลุมหลบภัยของประชาชนทั่วไปและพนักงานของบริษัท [9]

บริษัทคิวนาร์ดยังคงใช้อาคารสำนักงานใหญ่เดิม จนถึงปี 1960 จึงได้ตัดสินใจย้ายแผนกธุรการไปอยู่เมืองเซาแทมป์ตัน (Southampton) เมืองทางใต้ของอังกฤษ และย้ายสำนักงานใหญ่ไปอยู่นิวยอร์ก[3] และปี 1969 ได้ขายอาคารนี้ให้กับบริษัทพรูเด็นเชิล (Prudential) ช่วงปี 1965 องค์กรอนุรักษ์แห่งอังกฤษได้ประกาศให้อาคารเป็นอาคารอนุรักษ์ประเภท 2 พร้อมกับอาคารลิเวอร์และท่าเรือเมืองลิเวอร์พูล[10] ต่อมาปี 2001 อาคารได้กลายเป็นแมนชั่นสำหรับพนักงานบริษัทกองทุนเมอร์ซีย์ไซด์ แพนชั่นที่มาประจำที่เมืองลิเวอร์พูล ปัจจุบันอาคารได้ปรับให้เป็นพื้นที่ให้เช่าสำหรับสำนักงานต่าง ๆ และแมนชั่นสำหรับคนทั่วไป และผู้เช่ารายหนึ่งได้แก่หน่วยราชการของนอร์ทเวส[1] ปี 2008 เดือนพฤศจิกายน ได้มีโครงการอนุรักษ์อาคาร ซึ่งกำหนดโดยองค์กรอนุรักษ์แห่งอังกฤษและองค์กรท้องถิ่น เพื่อควบคุมการปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงอาคารต่าง ๆ[11] The plan involved collaboration with English Heritage and the Local Authority Conservation Officer and would be used to control any modification and repairs made to the building.[12]

ปี 2013 เดือนตุลาคม สภาเมืองลิเวอร์พูลได้รับการอนุมัติเพื่อซื้ออาคารคิวนาร์ด เพื่อใช้เป็นที่อยู่ให้กับพนักงานประมาณ 1000 คน และเป็นท่าเรือ ซึ่งจะทำให้ประหยัดงบประมาณการจ่ายค่าเช่าบ้านให้พนักงานได้ประมาณ 1.3 ล้านปอนด์[13]

รูปแบบการก่อสร้างอาคาร[แก้]

One of the faces of the world representing the global nature of Cunard's operations

รูปแบบการก่อสร้างอาคารคิวนาร์ดเป็นการผสมระหว่างสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาแบบอิตาลี[14] กับสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีก[2] ซึ่งสถาปนิกวิลลิงก์และโคลด์เวลล์ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากบัลดัสซาเร เปรุซซี สถาปนิกชาวอิตาลี ซึ่งอิทธิพลของศิลปะนี้สามารถเห็นได้ทั่วไปในโรม[14] ตัวอย่างเช่น พระราชวังฟาร์เนเซ[9] แม้ว่ารูปแบบจะเน้นความแข็งแรงแบบอิตาลี แต่สถาปนิกได้เลือกตกแต่งโดยรอบตึกด้วยสถาปัตยกรรมแบบกรีก ทำให้โครงสร้างตึกดูใหญ่กว่าพระราชวังต้นแบบ และมีความสง่างามเหมือนอาคารหอศิลป Beaux ที่ตั้งอยู่ในนิวยอร์ก[4][14]

รูปแบบอาคารคิวนาร์ดเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าตัวอาคารสูง 6 ชั้น และมีชั้นใต้ดิน 2 ชั้น โดยสร้างทีหลังตึกลิเวอร์ และท่าเรือของลิเวอร์พูล ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ ทำให้โครงสร้างอาคารด้านทิศตะวันออกกว้างกว่าทิศตะวันตก 30 ฟุต[9] ประตูทางเข้าแต่ละด้านทำจากแผ่นไม้โอ๊กขนาดใหญ่และมีเสาขนาบข้างซึ่งเป็นศิลปแบบกรีก[4]และยังคงสามารถเห็นได้ในปัจจุบันที่ชั้น 1 ของอาคาร[9]

The Cunard Building is adorned by several highly detailed sculptures, including this one depicting a roaring lion raised on its hind legs

ตัวอาคารสร้างจากคอนกรีตเสริมเหล็ก และฉาบด้วยหินพอร์ตแลนด์[14] และตกแต่งด้วยปูนปั้นรอบตึก ในที่นี้ได้มีรูปปั้นของบริแทนเนีย เนปจูน เช่นเดียวกับเทพแห่งความสงบสุข สงคราม ความเปลี่ยนแปลง[4] รวมทั้งรูปปั้นสัญลักษณ์ราศี และปลอกแขนสัญลักษณ์ของฝ่ายพันธมิตรที่ใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1[8] และ 2 และรูปปั้นสิ่งสำคัญอื่น ๆ รอบโลก เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าธุรกิจของบริษัทได้กระจายไปทั่วโลก[4] หินอ่อนได้นำมาใช้เพื่อปูทางเดินเข้าตึกทางด้านเหนือ และใต้ โดยนำเข้าจากอิตาลีและกรีซ

การวางแผนสำหรับใช้พื้นที่อาคารนั้นมีหลากหลายวัตถุประสงค์ เช่นในส่วนสำนักงานที่ต้องการพื้นที่มากและใช้ไฟเยอะสำหรับทำงานได้ จึงเอาไว้ในส่วนชั้นบนที่มีหน้าต่างขนาดใหญ่ สามารถเปิดให้แสงแดดส่องเข้ามาได้ รวมทั้งมีดวงไฟที่ติดตั้งหลายจุด ส่วนให้บริการผู้โดยสารชั้น 1 ได้จัดห้องรับรองอยู่ที่ขั้น 1 สำหรับห้องพักผู้บริการ จะอยู่ชั้น 5 เพื่อเห็นทิวทัศน์แม่น้ำด้านล่าง[9]

หนึ่งในคุณสมบัติที่โดดเด่นที่สุดของอาคาร คือมีห้องใต้ดินทั้งขนาดใหญ่และเล็ก โดยเป็นที่สำหรับจัดเก็บเอกสาร และกระเป๋าเดินทางของผู้โดยสาร รวมทั้งถ่านหินก็เก็บในส่วนนี้โดยมีรางรถไฟ เพื่อขนถ่านหินไปยัง boiler เพื่อผลิตความร้อนสำหรับอาคาร ปัจจุบันรูปแบบเดิม ๆ แบบนี้ยังคงมีอยู่ในอาคาร แม้กระทั่งชั้นวางสัมภาระที่เป็นไม้ เอกสารการเดินเรือ ปัจจุบันห้องใต้ดินนี้ได้ปรับเป็นห้องเก็บเอกสารของลูกค้าบุคคลสำคัญ เพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งพิมพ์เขียวของอาคารก็เก็บแสดงในส่วนนี้

อนุสรณ์สถานที่คิวนาร์ด[แก้]

The Cunard War Memorial

อนุสาวรีย์เพื่อระลึกถึงสงครามจะอยู่ด้านตะวันตกของอาคาร เพื่อระลึกถึงพนักงานคิวนาร์ดที่ถูกฆ่าตายระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2[14] ตั้งอยู่ด้านตะวันตกของอาคาร สร้างขึ้นประมาณปี 1920 ออกแบบโดย Authur Davis ที่ปรึกษาการก่อสร้างอาคาร จนปี 1921 เอิร์ลแห่งคาร์บีเอ็ดเวิร์ดสแตนลีย์ได้นำออกมาแสดง ก่อนที่จะถูกนำไปเก็บรักษาในหอศิลปะกรุงลอนดอน[15] อนุสาวรีย์สร้างจากแผ่นสำริดขนาดใหญ่ และตั้งอยู่บนแท่นยกจากพื้น[14] เนื่องจากสถาปนิกต้องการให้อนุสาวรีย์กลมกลืมไปกับการตกแต่งภายนอก การออกแบบจึงใช้ศิลปะแบบกรีก โดยเป็นรูปผู้ชายที่ยืนอยู่บนหัวเรือ และเพื่อให้ระลึกถึงพนักงานที่เสียชีวิตในสงครามโลกทั้ง 2 ครั้ง และมีการเขียนจารึกที่ด้านข้างว่า “Pro Patria” ซึ่งเป็นภาษาละติน แปลว่า เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ

อ้างอิง[แก้]

Notes

  1. 1.0 1.1 "The building". CB Richard Ellis. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-07. สืบค้นเมื่อ 2009-06-05.
  2. 2.0 2.1 2.2 "The Cunard Building". E Chambre Hardman Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-02. สืบค้นเมื่อ 2009-06-05.
  3. 3.0 3.1 "Cunard History at a Glance" (PDF). Cunard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-26. สืบค้นเมื่อ 2009-06-15.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "Cunard Building". Liverpool World Heritage. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-28. สืบค้นเมื่อ 2009-06-13.
  5. "Cunard Building". Liverpool Architectural Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-06. สืบค้นเมื่อ 2009-06-14.
  6. "Sailing on Saturday". National Museums Liverpool. สืบค้นเมื่อ 2009-07-17.
  7. "Coast Walk Stage 4: Cunard Building". BBC Liverpool. 2005-07-21. สืบค้นเมื่อ 1 February 2008.
  8. 8.0 8.1 Sharples (2004), p71
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ construction
  10. "Images of England - Details for IoE Number: 214150". องค์การอนุรักษ์แห่งอังกฤษ. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 2009-07-06.
  11. McDonough, Tony (2008-11-05). "Rosy outlook for iconic Cunard Building". LDP Business. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-01. สืบค้นเมื่อ 2009-06-11.
  12. "Architects planning ahead for landmark glory". Liverpool CDP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-07. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.
  13. "Cunard Building purchase plan agreed by Liverpool Council". BBC. 2013-10-11. สืบค้นเมื่อ 2013-11-06.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 Hughes, Quentin (1999). Liverpool: City of Architecture. Bluecoat Press.
  15. "Cunard War Memorial". Liverpool World Heritage. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-28. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อาคารคิวนาร์ด

พิกัดภูมิศาสตร์: 53°24′18″N 2°59′43″W / 53.4051°N 2.9954°W / 53.4051; -2.9954