ข้ามไปเนื้อหา

อาการกลัวเลือด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพพิมพ์ไม้ญี่ปุ่นแสดงนักรบนายหนึ่งท่วมไปด้วยเลือด

อาการกลัวเลือด (อังกฤษ: Hemophobia, Haemophobia, หรือ Hematophobia) เป็นความกลัวต่อเลือดอย่างรุนแรงและไม่สมเหตุผล ซึ่งผู้ที่มีอาการเฉียบพลันจะมีปฏิกิริยาตอบสนองทางกายมากกว่าความกลัวปกติธรรมดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเป็นลม[1] ซึ่งอาจพบปฏิกิริยาดังกล่าวได้ในผู้ที่มีอาการกลัวเข็ม (trypanophobia) และอาการกลัวการบาดเจ็บ (traumatophobia) โรคกลัวชนิดนี้จัดอยู่ในประเภทโรคกลัวเลือด-การฉีดยา-การบาดเจ็บ (blood-injection-injury phobia) ตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิตเวช DSM-IV [2] หรือเป็นกลุ่มโรคกลัวเลือด-การบาดเจ็บ-การเจ็บป่วย (blood-injury-illness phobia) ในตำราสมัยก่อน[3]

สาเหตุ

[แก้]

อาการกลัวเลือดมักเกิดจากประสบการณ์การบาดเจ็บของตนเองหรือผู้อื่นในช่วงวัยเด็กหรือวัยรุ่น[3] และยังพบองค์ประกอบทางพันธุกรรมที่กำหนดลักษณะอาการกลัวเลือดอีกด้วย[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The Merck Manual". สืบค้นเมื่อ 2007-05-19.
  2. Lipsitz, JD; Barlow, DH; Mannuzza, S; Hofmann, SG; Fyer, AJ (July 2002), "Clinical features of four DSM-IV-specific phobia subtypes", The Journal Of Nervous And Mental Disease, 190 (7): 471–8
  3. 3.0 3.1 Thyer, Bruce A.; Himle, Joseph; Curtis, George C. (July 1985), "Blood-Injury-Illness Phobia: A Review", Journal Of Clinical Psychology, 41 (4): 451–9
  4. Neale, MC; Walters, EE; Eaves, LJ; Kessler, RC; Heath, AC; Kendler, KS (December 15, 1994), "Genetics of blood-injury fears and phobias: a population-based twin study", American Journal Of Medical Genetics, 54 (4): 326–34