ข้ามไปเนื้อหา

อัลลอฮ์ในฐานะเทพแห่งดวงจันทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หออะษานของมัสยิดกุลชะรีฟที่เครมลินแห่งคาซัน ประเทศรัสเซีย

อัลลอฮ์ในฐานะเทพแห่งดวงจันทร์ สื่อถึงสมมติฐานประวัติศาสตร์เทียมที่ปัจจุบันถูกหักล้างไว้ว่า 'อัลลอฮ์' (พระนามของพระเป็นเจ้าในศาสนาอิสลาม) มีต้นกำเนิดในฐานะเทพแห่งดวงจันทร์ โดยปรากฏครั้งแรกใน ค.ศ. 1901 เมื่อ Hugo Winckler ระบุพระนามอัลลอฮ์เข้ากับเทพอาหรับก่อนการมาของอิสลามที่รู้จักกันในชื่อฮุบัล ซึ่งเขาเรียกเป็นเทพแห่งดวงจันทร์

ผู้แก้ต่างคริสเตียนได้เผยแพร่แนวคิดทั่วไปนี้อย่างกว้างขวางในสหรัฐเมื่อคริสต์ทศวรรษ 1990 โดยครั้งแรกผ่านการตีพิมพ์จุลสาร The Moon-god Allah: In Archeology of the Middle East (1994) ของรอเบิร์ต โมรีย์ ตามมาด้วยหนังสือของเขาที่มีชื่อว่า The Islamic Invasion: Confronting the World's Fastest-Growing Religion (2001) โมรีย์โต้แย้งว่า "อัลลอฮ์" เป็นพระนามของเทพีแห่งดวงจันทร์ในเทพปกรณัมอาหรับก่อนอิสลาม การใช้ปฏิทินจันทรคติของอิสลามและการแพร่หลายของภาพพระจันทร์เสี้ยวในศาสนาอิสลามก็ถูกนำมาใช้สนับสนุนแนวคิดนี้เช่นกัน[1]

นักวิชาการสมัยใหม่ปฏิเสธการทำซ้ำของทฤษฎีทั้งสองว่าไม่มีหลักฐานแน่ชัด การเผยแพร่ทฤษฎีอย่างต่อเนื่องถือเป็นการดูหมิ่นทั้งมุสลิมกับชาวอาหรับคริสเตียนที่เรียกพระผู้เป็นเจ้าว่า 'อัลลอฮ์'[2]

มุมมองวิชาการ

[แก้]

ก่่อนการมาของศาสนาอิสลาม กะอ์บะฮ์เคยมีรูปปั้นที่เป็นตัวแทนของเทพฮุบัล[3][4] Julius Wellhausen พิจารณาว่าฮุบัลคือพระนามเก่าของอัลลอฮ์ โดยอิงบนพื้นฐานที่ว่ากะอ์บะฮ์ยังเป็นบ้านของอัลลอฮ์[5][6][7] ในทางกลับกัน Hugo Winckler นักวิชาการในคริสต์ศตวรรษที่ 20 อ้างว่าฮุบัลคือเทพแห่งดวงจันทร์[8] แม้ว่าคนอื่นจะเสนอเป็นอย่างอื่นก็ตาม เดวิด ลีมิงกล่าวถึงพระองค์เป็นเทพนักรบและฝน[9] และ Mircea Eliade ก็กล่าวในแบบเดียวกัน[10]

นักวิชาการสมัยใหม่ปฏิเสธมุมมองนี้ โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะการคาดเดา แต่ก็เป็นเพราะต้นกำเนิดของฮุบัลจากแนบาทีอา[11] เทพต่างชาตินี้นำเข้าไปยังศาลเจ้าอาระเบียตอนใต้ ซึ่งหนึ่งในนั้นอาจเชื่อมโยงกับอัลลอฮ์อยู่แล้ว[9] Patricia Crone โต้แย้งว่า "ถ้าฮุบัลกับอัลลอฮ์เป็นเทพเจ้าองค์เดรยวกัน ฮุบัลควรจะอยู่รอดในฐานะฉายาของอัลลอฮ์ ซึ่งกลับไม่เป็นเช่นนั้น และยิ่งกว่านั้น ไม่มีประเพณีที่ผู้คนขอให้ละทิ้งสิ่งหนึ่งเพื่อนับถืออีกสิ่งหนึ่ง"[12] โจเซฟ ลัมบาร์ด ศาสตราจารย์อิสลามคลาสสิก ได้กล่าวว่าแนวคิดนี้ "ไม่เพียงแค่ดูหมิ่นมุสลิมเท่านั้น แต่ยังดูหมิ่นชาวอาหรับคริสเตียนที่ใช้พระนาม 'อัลลอฮ์' สำหรับพระผู้เป็นเจ้าด้วย"[2]

คำวิจารณ์จากชาวคริสต์

[แก้]

หนังสือ The Moon-god Allah in the Archeology of the Middle East ของรอเบิร์ต โมรีย์อ้างว่าอัลอุซซามีต้นกำเนิดที่เกี่ยวข้องกับฮุบัล ซึ่งเขาอ้างว่าเป็นเทพแห่งดวงจันทร์[13] โดยมีการเน้นย้ำคำสอนนี้ใน "Allah Had No Son" และ "The Little Bride" ของชิก แทร็ก จากนั้นใน ค.ศ. 1996 เจเนต พาร์แชลกล่าวในสมาคมวิทยุกระจายเสียงว่ามุสลิมบูชาเทพแห่งดวงจันทร์[14] แพต รอเบิร์ตสันกล่าวไว้ใน ค.ศ. 2003 ว่า "ความพยายามที่ว่าใครมีอำนาจสูงสุดระหว่างฮุบัล เทพดวงจันทร์แห่งมักกะฮ์ที่รู้จักในนามอัลลอฮ์ หรือพระเยโฮวาห์ในพระคัมภีร์ของยิว-คริสต์"[15]

อย่างไรก็ตาม การวิจัยล่าสุดจากแหล่งต่าง ๆ ได้พิสูจน์แล้วว่า "หลักฐาน" ที่โมรีย์ใช้นั้นเป็นรูปปั้นจากสถานที่ขุดค้นใน Hazor ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับ "อัลลอฮ์" เลย[16] ตามความเป็นจริง ริก บราวน์ นักวิชาการคัมภีร์ไบเบิลปฏิเสธแนวคิดนี้อย่างเปิดเผย โดยกล่าวว่า:

ใครที่อ้างว่าอัลลอฮ์คือเทพเจ้าของพวกนอกรีต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเทพแห่งดวงจันทร์ มักจะอ้างถึงสัญลักษณ์ของดวงจันทร์เสี้ยวบนมัสยิดหลายหลังและมักจะใช้เป็นสัญลักษณ์ของศาสนาอิสลาม ซึ่งความจริงแล้วก่อนที่ศาสนาอิสลามจะบังเกิดนั้น มี "เทพเจ้า" และเทวรูปอยู่หลายองค์ที่ถูกบูชาในตะวันออกกลาง แต่ชื่อของเทพแห่งดวงจันทร์นั้นคือซีน ไม่ใช่อัลลอฮ์, และพระองค์ยังไม่เป็นที่รู้จักอีกในอาระเบีย พระเจ้าที่สำคัญที่สุดในอาระเบียนั้นคือเทพเจ้าที่มีนามว่าฮุบัล และไม่มีหลักฐานเลยว่าพระองค์คือเทพแห่งดวงจันทร์ บางครั้งได้มีการอ้างว่ามีเทวสถานที่บูชาดวงจันทร์ที่ฮาโซร์ ปาเลสไตน์ โดยถือตรงที่มีสร้อยรูปดวงจันทร์เสี้ยวนั้น ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม สร้อยนั้นคือสัญลักษณ์ของเทพแห่งดวงจันทร์ และบริเวณนี้ไม่ใช่บริเวณของชาวอาหรับ แต่เป็นบริเวณของชาวคะนาอัน ซึ่งโจชัวทำลายมันเมื่อ 1250 ปีก่อนคริสตกาล ... ถ้าชาวอาหรับสมัยก่อนบูชาเทวรูปกว่าร้อยองค์ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าซีนจะรวมในนั้นด้วย ... แต่ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าการบูชาดวงจันทร์ หรือการใช้รูปดวงจันทร์เป็นตัวแทนเทพแห่งดวงจันทร์ของชาวอาหรับ และอัลลอฮ์ก็ไม่ใช่ชื่อของเทพแห่งดวงจันทร์[17]

ใน ค.ศ. 2009 Gregory Starrett นักมานุษยวิทยา เขียนไว้ว่า "ผลสำรวจล่าสุดจาก Council for American Islamic Relations rรายงานว่า มีชาวอเมริกามากถึงร้อยละ 10 ที่เชื่อว่ามุสลิมเป็นพวกนอกรีตที่บูชเทพหรือเทพีแห่งดวงจันทร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่เผยแพร่อย่างกระตือรือร้นโดยนักกิจกรรมคริสเตียนบางคน"[18] Ibrahim Hooper จาก Council on American-Islamic Relations (CAIR) เรียกทฤษฎีเทพ-ดวงจันทร์ของอัลลอฮ์เป็น "จินตนาการ" ของผู้ประกาศข่าวดีที่ "ชุกชุมอยู่ในหนังสือการ์ตูนของพวกเขา"[19]

มุมมองของมุสลิม

[แก้]

ใน Book of Idols ของฮิชาม อิบน์ อัลกัลบี นักประวัติศาสตร์ชาวอาหรับในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ระบุว่า เทวรูปฮุบัลมีรูปร่างเป็นมนุษย์ที่มีมือทอง (แทนที่มือเดิมที่หักออกจากรูปปั้น) เทวรูปนี้มีลูกธนูที่ใช้ในการทำนาย 7 อัน[20]

ไม่ว่าฮุบัลจะเกี่ยวข้องกับดวงจันทร์หรือไม่ก็ตาม ทั้งมุฮัมมัดและศัตรูของท่านต่างก็ระบุอย่างชัดเจนว่าฮุบัลกับอัลลอฮ์เป็นเทพเจ้าที่แตกต่างกัน ทั้งสองฝ่ายสู้รบกันในยุทธการที่บะดัร อิบน์ ฮิชามระบุว่า อะบูซุฟยาน อิบน์ ฮัรบ์ ผู้นำกองทัพต่อต้านอิสลามที่พ่ายแพ้ เรียกฮุบัลให้นำมาซึ่งชัยชนะในสงครามถัดไป[21]

อัลกุรอานเองห้ามสักการะดวงจันทร์ ตามที่โองการที่ 37 ของซูเราะฮ์ ฟุศศิลัต ระบุไว้ว่า:

"...และดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ พวกเจ้าอย่าได้สุญูด แต่จงสุญุดแด่อัลลอฮฺพระผู้ทรงสร้างพวกมัน..."[22][23][24]

ศาสนาอิสลามสอนว่าอัลลอฮ์คือพระนามของพระผู้เป็นเจ้า (ตามที่กล่าวซ้ำในอัลกุรอาน)[25] และเป้นพระเจ้าองค์เดียวกันกับศาสนาอับราฮัมอื่น ๆ เช่น ศาสนาคริสต์และศาสนายูดาห์ (29:46).[26]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. A History of Pagan Europe. Prudence Jones, Nigel Pennick. Psychology Press, 1995. ISBN 0415091365 p. 77
  2. 2.0 2.1 "Scholarly Pursuits: Joseph Lumbard, classical Islam professor". BrandeisNOW. Brandeis University. December 11, 2007.
  3. F. Hommel, First Encyclopedia of Islam, eds. M.T. Houtsma, T.W. Arnold, R. Basset, and R. Hartmann, Vol. 1, pp. 379–380
  4. C. Glassé, The New Encyclopedia of Islam, p. 185
  5. J. Wellhausen, Reste Arabischen Heidenthums. pp.75
  6. The idea of idolatry and the emergence of Islam: from polemic to history. Cambridge studies in Islamic civilization. Gerald R. Hawting. Cambridge University Press, 1999. ISBN 0521651654 p. 112
  7. also mentioned in Meccan trade and the rise of Islam, Patricia Crone, Gorgias Press LLC, 2004, ISBN 1593331029 pp. 185–195
  8. Hugo Winckler: "Arabisch, Semitisch, Orientalisch: Kulturgeschichtlich-Mythologische Untersuchung", 1901, W. Peiser: Berlin, p. 83.
  9. 9.0 9.1 David Adams Leeming, Jealous gods and chosen people: the mythology of the Middle East, Oxford University Press, 2004, p. 121.
  10. Eliade, Adams, The Encyclopedia of religion, Volume 1, Macmillan, 1987, p. 365.
  11. T. Fahd, Le Panthéon De L'Arabie Centrale A La Veille De L'Hégire, 1968, op. cit., pp. 102–103; T. Fahd, "Une Pratique Cléromantique A La Kaʿba Preislamique", Semitica, 1958, op. cit., pp. 75–76.
  12. Patricia Crone, "Meccan Trade And The Rise Of Islam", 1987, pp. 193–194."
  13. The Moon-god Allah in the Archeology of the Middle East. Newport, PA : Research and Education Foundation, 1994
  14. Jack G. Shaheen, Arab and Muslim Stereotyping in American Popular Culture, Centre For Muslim-Christian Understanding, Georgetown University Occasional Papers, p. 8.
  15. Donald E. Schmidt, The folly of war: American foreign policy, 1898-2005, Algora, 2005, p. 347.
  16. Mohd Elfie Nieshaem Juferi, "The Mysterious Statue at Hazor: The 'Allah' of the Muslims?", in Bismika Allahuma, October 15, 2005
  17. R. Brown, "Who Is "Allah"?" เก็บถาวร 2016-07-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, International Journal of Frontier Missions, 2006, Volume 23, No. 2, p. 79.
  18. Gregory Starrett, "Islam and the Politics of Enchantment", Journal of the Royal Anthropological Institute, May 2009, vol. 15. S222–S240.
  19. Shaheen, Jack G (1997). "Arab and Muslim Stereotyping in American Popular Culture" (PDF). p. 9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24.
  20. Francis E. Peters, Muhammad and the origins of Islam, SUNY Press, 1994, p. 109.
  21. A. Guillaume, The Life Of Muhammad: A Translation Of Ibn Ishaq's Sirat Rasul Allah, 2004 (18th Impression), op. cit., p. 386.
  22. Juan Eduardo Campo (บ.ก.). "moon". Encyclopedia of Islam. p. 479.
  23. "Tafsir Ibn Kathir – 53:19 – English". quran.com. สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
  24. Shakir, M. H. "Ha Mim". The Koran. University of Michigan. สืบค้นเมื่อ 9 July 2017.
  25. Under the "Allah" entry, Ontology of Quranic Concepts in The Quranic Arabic Corpus, retrieved July 16, 2017
  26. F.E. Peters, Islam, p. 4, Princeton University Press, 2003

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]