โลหะเจือ
โลหะเจือ โลหะผสม หรือ อัลลอย (อังกฤษ: alloy) คือวัสดุที่เกิดจากการรวมกันของโลหะตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป โดยวัสดุโลหะเจือที่ได้จะมีคุณสมบัติแตกต่างจากส่วนประกอบเดิมของมัน
โลหะเจือถ้าเกิดจากโลหะ 2 ชนิด เรียกว่า ไบนารี่อัลลอย (binary alloy), 3 ชนิด เรียกว่า เทอร์นารี่อัลลอย (ternary alloy), 4 ชนิด เรียกว่า ควอเทอร์นารี่อัลลอย (quaternary alloy)
ตามธรรมดาโลหะเจือจะถูกออกแบบให้มีคุณสมบัติที่ต้องการมากกว่าการดูที่ส่วนผสมของมัน ตัวอย่างเช่น เหล็กกล้าจะแข็งแรงกว่าเหล็กซึ่งเป็นธาตุเหล็ก ทองเหลืองจะมีความทนทานมากกว่าทองแดง แต่มีความสวยงามน่าดึงดูดใจมากกว่าสังกะสี
ต่างจากโลหะบริสุทธิ์ โลหะเจือหลายชนิดไม่ได้มีจุดหลอมเหลวจุดเดียว มันจะมีช่วงหลอมเหลว (melting range) แทน ซึ่งในวัสดุจะเป็นของผสมระหว่างเฟสของแข็งและของเหลว อุณหภูมิที่ซึ่งการหลอมเหลวเริ่มเรียกว่า โซลิดัส (solidus) และอุณหภูมิที่ซึ่งการหลอมเหลวหมดเรียกว่า ลิควิดัส (liquidus) โลหะเจือพิเศษสามารถจะออกแบบให้มีจุดหลอมเหลวเดียวได้ ซึ่งเรียกโลหะเจือนี้ว่า ยูทีติกมิกซ์เจอร์ (eutectic mixture)
บางครั้งโลหะเจือตั้งชื่อตามโลหะพื้นฐาน เช่น ทอง 14 เค หรือ 14 การัต (58%) ทองคำ คือโลหะเจือที่มีทองอยู่ 58 % ที่เหลือเป็นโลหะอื่น เช่นเดียวกับ เงิน ใช้ในเพชร (jewellery) และอะลูมิเนียม
โลหะเจือมีดังนี้
- อะลูมิเนียมสัมฤทธิ์ (aluminium bronze)
- อัลนิโก (alnico)
- อะมัลกัม (amalgam)
- ทองเหลือง (brass)
- ทองสัมฤทธิ์ (bronze)
- ดูราลูมิน (duralumin)
- อีเล็กตรัม (electrum)
- กาลินสแตน (galinstan)
- อินเตอร์เมทัลลิก (intermetallics)
- มู-เมทัล (Mu-metal)
- นิกโครม (Nichrome)
- พิวเตอร์ (pewter)
- ฟอสเฟอร์สัมฤทธิ์ (phosphor bronze)
- โซลเดอร์ (solder)
- สไปเจไลเซน (spiegeleisen)
- เหล็กกล้าไร้สนิม (stainless steel)
- เหล็กกล้า (steel)
- เงินสเตอลิง (Sterling silver)
- โลหะไม้ (Wood's metal)