อันดับนกหัวขวานและนกโพระดก
อันดับนกหัวขวานและนกโพระดก | |
---|---|
นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง (Dinopium benghalense) อยู่ในวงศ์ Picidae หรือนกหัวขวาน | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
ชั้นย่อย: | Neornithes |
ชั้นฐาน: | Neognathae |
อันดับใหญ่: | Neoaves |
อันดับ: | Piciformes Meyer & Wolf, 1810 |
อันดับย่อย & วงศ์ | |
อันดับย่อยและวงศ์ | |
ชื่อพ้อง | |
|
อันดับนกหัวขวานและนกโพระดก เป็นอันดับของนกขากรรไกรแบบใหม่อันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Piciformes
โดยลักษณะทั่วไปของนกในอันดับนี้ คือ เป็นนกขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง (16-60 เซนติเมตร) มีลักษณะเด่น คือ รูจมูกทะลุไม่ถึงกันเพราะมีผนังกั้น ตัวเต็มวัยไม่มีขนอุย ขนแต่ละเส้นมีแกนขนรอง ขนปลายปีกมี 9-10 เส้น มีขนกลางปีกเส้นที่ 5 ขนหางมี 10-12 เส้น ขาสั้น การจัดเรียงนิ้วเป็นแบบนิ้วคู่สลับ ทำรังตามโพรงไม้หรือโพรงดิน ไข่มีรูปร่างกลม สีขาว ลูกนกแรกเกิดมีสภาพช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โดยนกในอันดับนี้ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ นกหัวขวาน (Picidae) และนกโพระดก (Megalaimidae) เป็นต้น
ในประเทศไทย พบนกในอันดับนี้ 3 วงศ์ ได้แก่ นกหัวขวาน (Picidae), นกโพระดก (Megalaimidae) และนกพรานผึ้ง (Indicatoridae)[1] รวมกันแล้วประมาณ 52 ชนิด ขณะที่ทั่วโลกพบมากกว่า 400 ชนิด ใน 67 สกุล[2] [3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อันดับนกหัวขวาน (Piciformes)
- ↑ Walters, Michael P. (1980). Complete Birds of the World. David & Charles PLC. ISBN 0715376667.
- ↑ Short, L. L. Horne J. F. M. (2002) "วงศ์ Capitonidae (barbets)" in del Hoyo J., Elliott A. & Christie D.A. (2004) Handbook of the Birds of the World. Volume 7. Jamacars to Woodpeckers Lynx Edicions, Barcelona ISBN 84-87334-37-7