ข้ามไปเนื้อหา

อาโอกิงาฮาระ

พิกัด: 35°28′12″N 138°37′11″E / 35.47000°N 138.61972°E / 35.47000; 138.61972
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อะโอะกิงะฮะระ)
อาโอกิงาฮาระ

อาโอกิงาฮาระ (ญี่ปุ่น: 青木ヶ原โรมาจิAokigahara) หรือมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า นทีแห่งไม้ (ญี่ปุ่น: 樹海โรมาจิJukai; อังกฤษ: Sea of Trees) เป็นชื่อเรียกป่าบริเวณเชิงภูเขาฟูจิด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ในประเทศญี่ปุ่น

อาโอกิงาฮาระเป็นสถานที่ที่ชาวญี่ปุ่นมาฆ่าตัวตายบ่อยครั้ง โดยนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 เป็นต้นมา พบศพผู้เสียชีวิตในป่าแห่งนี้มากกว่า 500 คน เฉลี่ยแล้วมีผู้ฆ่าตัวตายในป่าแห่งนี้ประมาณปีละ 30 ราย ในปี ค.ศ. 2002 พบร่างผู้เสียชีวิต 78 ศพ แม้ว่าในป่าจะมีป้ายทั้งในภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นที่มีเนื้อหาเกลี้ยกล่อมให้เปลี่ยนใจ[1]

จนได้มีตำนานและความเชื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับสถานที่แห่งนี้มากมาย ว่า เป็นที่สิงสถิตย์ของเหล่าภูตผี โดยเชื่อว่า ป่าแห่งนี้มีวิญญาณต้นไม้หรือโคดามะ (木魂) สิงสถิตย์อยู่ เหล่าวิญญาณของต้นไม้จะดูดเอาพลังงานชีวิตจากผู้เสียชีวิตกลับคืนเป็นพลังแห่งป่า เพื่อต้านภัยธรรมชาติและต้านภัยของมนุษย์

ภูมิศาสตร์

[แก้]

พื้นป่าส่วนใหญ่เป็นหินภูเขาไฟและมีความแข็งยากที่จะเจาะทะลุได้ด้วยเครื่องมืออย่างพลั่วหรือเสียม นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางอย่างไม่เป็นทางการหลายเส้นทางซึ่งถูกใช้กึ่งปกติสำหรับ "การตามหาศพ" ประจำปีซึ่งกระทำโดยอาสาสมัครท้องถิ่น ผู้ซึ่งทำเครื่องหมายพื้นที่ค้นหาด้วยเทปพลาสติก[2] เทปพลาสติกนี้ไม่เคยถูกนำออก ดังนั้นเทปพลาสติกจำนวนมากจึงพบดาษดื่นในกิโลเมตรแรกของป่า พ้นจากเส้นทางที่กำหนดไว้นั้นนำไปสู่แหล่งท่องเที่ยว อย่างเช่น ถ้ำน้ำแข็งและถ้ำลม หลังจากกิโลเมตรแรกเข้าสู่ป่าอาโอกิงาฮาระในทิศทางมุ่งไปยังภูเขาไฟฟูจินั้น ป่าอยู่ในสภาพ "ดึกดำบรรพ์" มากขึ้น โดยมีสัญลักษณ์ให้เห็นว่ามนุษย์เข้ามาย่างกรายเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย

การท่องเที่ยวและการฆ่าตัวตาย

[แก้]

อาโอกิงาฮาระเป็นสถานที่ยอดนิยมที่จะมีผู้มาฆ่าตัวตาย โดยมีรายงานว่าเป็นสถานที่ฆ่าตัวตายที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกเป็นอันดับสองรองจากสะพานโกลเดนเกตในซานฟรานซิสโก[3][4] จนกระทั่งมีการดัดแปลงเป็นนวนิยายในปี ค.ศ. 1960 ชื่อ "ทะเลป่าดำ" (波の塔) โดยไซโซ มัตสึโมโตะ ที่เรื่องราวจบลงที่คู่รักทั้งสองที่เป็นตัวเอกของเรื่องฆ่าตัวตายในป่า[5] อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์การฆ่าตัวตายในอาโอกิงาฮาระมีมาตั้งแต่ก่อนตีพิมพ์นวนิยายดังกล่าว และสถานที่แห่งนี้ยังเกี่ยวของกับความตายมาเป็นเวลาช้านานแล้ว มีการกล่าวว่าอูบาซูเตะได้กระทำในสถานที่แห่งนี้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และป่าเป็นที่เลื่องลือว่ามีผีสิงซึ่งเป็นผู้ที่ถูกทิ้งให้ตายในป่า[6]

นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 มีผู้เสียชีวิตในป่ามากกว่า 500 คน ซึ่งส่วนใหญ่ฆ่าตัวตาย โดยเฉลี่ยแล้วมีผู้เสียชีวิตราว 30 คนต่อปี[7] ในปี ค.ศ. 2002 พบร่างผู้เสียชีวิต 78 ศพอยู่ในป่า ทำลายสถิติ 73 ศพ เมื่อปี ค.ศ. 1998[8] ในปี ค.ศ. 2003 จำนวนผู้เสียชีวิตในปีนั้นเพิ่มขึ้นเกิน 100 ศพ และปัจจุบัน รัฐบาลท้องถิ่นได้หยุดการเผยแพร่จำนวนผู้เสียชีวิตในความพยายามที่จะลดความสัมพันธ์ระหว่างอาโอกิงาฮาระกับการฆ่าตัวตาย[6] อัตราการฆ่าตัวตายที่สูงทำให้เจ้าหน้าที่ทางการติดป้ายในป่า ทั้งในภาษาญี่ปุ่นและอังกฤษ โดยกระตุ้นให้ผู้ที่มาฆ่าตัวตายเปลี่ยนใจเสีย คณะค้นหาศพ ซึ่งประกอบด้วยตำรวจ อาสาสมัครและสื่อจำนวนหนึ่ง เริ่มต้นตั้งแต่ ค.ศ. 1970[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Zack Davisson. "The Suicide Woods of Mt. Fuji". Seek Japan.
  2. "Intruders tangle 'suicide forest' with tape". Asahi Shimbun. 3 พฤษภาคม 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 พฤษภาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2008.
  3. Meaney, Thomas. "Exiting Early: Is life worth living? The question is perennial. The answers include 'no'", The Wall Street Journal, 15 เมษายน 2006. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2009.
  4. Amazeen, Sandy. "Book Review: Cliffs of Despair A Journey to Suicide's Edge" เก็บถาวร 4 ธันวาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Monsters & Critics. 21 ธันวาคม 2005.
  5. 5 สถานที่ท่องเที่ยวสยองขวัญของญี่ปุ่น ต่วย'ตูน คอลัมน์ ซันเดย์สเปเชี่ยล ไทยรัฐ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
  6. 6.0 6.1 Studio 360:Suicide Forest เก็บถาวร 12 กุมภาพันธ์ 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Studio 360 in Japan (radio program). 8 มกราคม 2010. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2010.
  7. Hadfield, Peter (19 มิถุนายน 2001). "Japan struggles with soaring death toll in Suicide Forest". The Telegraph. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 ธันวาคม 2008.
  8. "'Suicide forest' yields 78 corpses". The Japan Times. 7 กุมภาพันธ์ 2003. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2008.
  9. "Japan's harvest of death". The Independent. London. 24 ตุลาคม 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 เมษายน 2008. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


35°28′12″N 138°37′11″E / 35.47000°N 138.61972°E / 35.47000; 138.61972