อวินิพโภครูป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อวินิพโภครูป อ- อุปสรรค (น นิบาต ไม่) วิ (วเศษ) +นิ ( ออก) +โภค (มาจาก ภช แปลว่า แบ่ง) +รูป หมายถึงรูปที่ไม่(สามารถ)แยกกันได้เด็ดขาด ในทางพระพุทธศาสนา ถือว่า รูปธาตุในโลกนี้จะต้องมี อวินิพโภครูปเป็นส่วนประกอบ รูปธาตุที่ใหญ่กว่าหรือมีองค์ประกอบร่วมกันของอวินิพโภครูป จะเรียกว่า วินิพโภครูป แปลว่ารูปที่แบ่งแยกได้ รูปทั้ง 8 จะต้องอยู่ร่วมกัน ต่างรูป ต่างอยู่เป็นไม่มีเลย หรือ มีอีกชื่อว่า สุทธัฏฐกลาป

องค์ประกอบ[แก้]

  1. ปฐวี
  2. อาโป
  3. วาโย
  4. เตโช
  5. วัณณะ สี
  6. คันธะ กลิ่น
  7. รสะ รส
  8. โอชา (อาหารรูป)

อวินิพโภครูป เป็น 8 ในรูป 28 แบ่งเป็นสภาวรูป18 เป็นรูปที่ลักษณะเฉพาะ คือ อวินิพโภครูป8 ปสาทรูป 5 ภาวรูป 2 หทยรูป1 ชิวิตินทริยรูป1 สัททรูป1 อสภาวรูป เป็นรูปที่ไม่มีลักษณะเฉพาะ 10 คือ วิการรูป3 วิญญัติรูป2 ปริจเฉทรูป1 ลักขณรูป4