อวทาน-ศตกะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อวทาน-ศตกะ เป็นวรรณคดีพุทธศาสนาภาษาสันสกฤต ประพันธ์ขึ้นราวคริสต์ศักราช 100 (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 7)[1] สันนิษฐานว่าอาจมีที่มาจากนิกายมูลสรวาสติวาท[2] เป็นการรวบรวมอวทาน 100 เรื่อง แต่เรื่องที่ 5 คือ โสมะ (Soma) ของต้นฉบับภาษาสันสกฤตหายสาบสูญ ทำให้เหลืออวทาน 99 เรื่อง อวทาน-ศตกะประกอบด้วย 10 วรรค วรรคละ 10 เรื่อง มีเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า เปรต เทวดา พระอรหันต์ มนุษย์ สัตว์เดรัจฉานและสัตว์นรก มีรายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างกรรมและการรับผลกรรม[3]

เนื้อหาส่วนใหญ่ประพันธ์ด้วยภาษาสันสกฤตมาตรฐาน ร้อยละ 90 ประพันธ์ด้วยสำนวนร้อยแก้ว ที่เหลือเป็นร้อยกรอง (คาถา) แทรก การใช้ภาษาส่วนใหญ่มักใช้สำนวนโวหารซ้ำ ๆ มีการแปลเป็นภาษาจีนครั้งแรกในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 3

อ้างอิง[แก้]

  1. 5J. S. Speyer, ed., Avadāna-Śataka, vol. 1 (St. Pétersbourg: De PAcadémie Impériele des Sciences, 1902), V ; J. N. Bhattacharya and Nilanjana Sarkar, ed., Encyclopaedic Dictionary of Sanskrit Literature (Delhi: Global Vision Publishing House, 2004), 123 ; and P. L. Vaidya, ed., Avadāna-Śataka, X.
  2. Schopen, Gregory (2004). Buddhist Monks and Business Matters: Still More Papers on Monastic Buddhism in India. University of Hawaii Press. p. 125. ISBN 9780824825478.
  3. สาโรจน์ บัวพันธุ์งาม. "การศึกษาเชิงวิเคราะห์คัมภีร์อวทาน-ศตกะ" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร. p. 8.