อนุสัญญาว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อนุสัญญาว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว (อังกฤษ: Freedom of Association and Protection of the Right to Organise Convention) (1948) No 87 เป็นอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และเป็นหนึ่งในแปดอนุสัญญาซึ่งประกอบขึ้นเป็นแกนกลางของกฎหมายแรงงานระหว่างประเทศ ตามที่ปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน (Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work) ตีความ[1]

เนื้อหา[แก้]

อนุสัญญาว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวประกอบด้วยอารัมภบทและเนื้อหาสี่ส่วน รวมทั้งสิ้น 21 มาตรา อารัมภบทประกอบด้วยบทนำอย่างเป็นทางการของตราสารนี้ ในสมัยประชุมที่ 31 ของการประชุมใหญ่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1948 ถ้อยแถลง "ข้อพิจารณา" นำไปสู่การจัดตั้งเอกสารดังกล่าว ข้อพิจารณาเหล่านี้ประกอบด้วยอารัมภบทของธรรมนูญแห่งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ การยืนยันปฏิญญาฟิลาเดลเฟียที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ และตำขอของสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อรับรองรายงานที่ได้รับก่อนหน้านี้เมื่อ ค.ศ. 1947 เพื่อ "ดำเนินการทุกความพยายามซึ่งอาจเป็นไปได้ในการรับอนุสัญญาระหว่างประเทศตั้งแต่หนึ่งฉบับขึ้นไปต่อ" ในข้อความปิดท้าย อารัมภบทระบุวันที่รับ คือ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1948

ส่วนที่ 1 ประกอบด้วย 10 มาตราซึ่งวางเค้าโครงสิทธิของทั้งแรงงานและนายจ้างให้ "เข้าร่วมองค์การตามที่ตนเลือกโดยไม่ต้องขออนุญาตก่อน" นอกจากนี้ สิทธิยังขยายไปถึงองค์การต่าง ๆ เองในการร่างกฎและธรรมนูญ ออกเสียงเลือกผู้ดำรงตำแหน่ง และจัดระเบียบการทำหน้าที่บริหารโดยปลอดการแทรกแซงจากรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีความคาดหมายอย่างชัดเจนต่อองค์การเหล่านี้ โดยได้รับกำหนดให้เคารพกฎหมายแผ่นดินในการใช้สิทธิเหล่านี้ ในทางกลับกัน กฎหมายแผ่นดัน "จะต้องไม่ลดทอน หรือมีการใช้บังคับเพื่อลดทอน การรับประกันที่อนุสัญญานี้ให้ไว้" สุดท้าย มาตรา 9 ระบุว่า บทกฎหมายเหล่านี้ใช้บังคับกับทั้งกองทัพและกำลังตำรวจตามที่กฎหมายและระเบียบของชาติกำหนด และไม่ใช้แทนกฎหมายของชาติซึ่งสะท้อนสิทธิเดียวกันของกำลังทั้งสอง

ส่วนที่ 2 ระบุว่า สมาชิก ILO ทุกประเทศจะต้องดำเนินการเพื่อรับประกัน "มาตรการทั้งหมดที่จำเป็นและเหมาะสมเพื่อรับประกันว่าแรงงานและนายจ้างสามารถใช้สิทธิในการรวมตัวอย่างเสรี" ต่อมามีการขยายความประโยคนี้ในอนุสัญญาสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง ค.ศ. 1949 (Right to Organise and Collective Bargaining Convention, 1949)

ส่วนที่ 3 ซึ่งประกอบด้วยมาตรา 12 และ 13 ว่าด้วยปัญหาเทคนิคที่เกีย่วข้องกับอนุสัญญาฯ วางเค้าโครงนิยามของผู้ที่อาจยอมรับ (ทั้งที่มีการดัดแปรหรือไม่) หรือปฏิเสธข้อผูกพันของอนุสัญญานี้ว่าด้วย "ดินแดนที่มิใช่มหานคร" ซึ่งอำนาจปกครองตนเองขยายเข้าไปสู่พื้นที่นี้ นอกจากนี้ ยังอภิปรายถึงกระบวนวิธีพิจารณาการรายงานสำหรับการดัดแปรปฏิญญาก่อนหน้าว่าด้วยการยอมรับข้อผูกพันเหล่านี้

ส่วนที่ 4 วางเค้าโครงกระบวนวิธีพิจารณาสำหรับการให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ อย่างเป็นทางการ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Conventions and ratifications". International Labour Organization. May 27, 2011.