อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง (อังกฤษ: Right to Organise and Collective Bargaining Convention) (1949) No 98 เป็นอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เป็นหนึ่งในแปดอนุสัญญาพื้นฐานขององค์การฯ[1]

เนื้อหา[แก้]

อารัมภบทของอนุสัญญาฉบับที่ 98 หมายเหตุว่ามีการลงมติรับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1949 หลังจากนี้ ข้อหนึ่ง อนุสัญญาฯ ครอบคลุมสิทธิของสมาชิกสหภาพแรงงานในการจัดระเบียบอย่างอิสระ โดยปราศจากการแทรกแซงของนายจ้างในมาตรา 1 ถึง 3 ข้อสอง มาตรา 4 ถึง 6 กำหนดการสร้างสิทธิเป็นลายลักษณ์อักษรในการร่วมเจรจาต่อรอง และกฎหมายของรัฐสมาชิกแต่ละรัฐต้องให้การส่งเสริมสิทธิดังกล่าว

สิทธิในการรวมตัว[แก้]

มาตรา 1 ระบุว่าแรงงานจะต้องได้รับการคุ้มครองจากการเลือกปฏิบัติสำหรับการเข้าร่วมสหภาพแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงื่อนไขของนายจ้างที่ห้ามเข้าร่วมสหภาพแรงงาน การปลดออกหรือความเดียดฉันท์อื่นใดสำหรับการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานหรือเข้าร่วมกิจกรรมของสหภาพแรงงาน มาตรา 2 กำหนดให้ทั้งองค์การแรงงานและนายจ้าง (เช่น สหภาพแรงงานและสมาพันธ์ธุรกิจ) ไม่ควรถูกแทรกแซงในการจัดตั้ง การทำหน้าที่หรือการบริหารองค์การ โดยเฉพาะมาตรา 2(2) ห้ามสหภาพถูกนายจ้างครอบงำผ่าน "วิธีการทางการเงินหรือวิธีอื่น" (เช่น นายจ้างให้เงินทุนแก่สหภาพ หรือนายจ้างเข้ามามีอิทธิพลในตัวผู้ดำรงตำแหน่ง) มาตรา 3 กำหนดให้สมาชิก ILO แต่ละประเทศมีกลไกที่เหมาะสมสำหรับทำให้มาตรา 1 และ 2 เกิดผล เช่น องค์การเฝ้าดูภาครัฐ

สิทธิในการร่วมเจรจาต่อรอง[แก้]

มาตรา 4 ว่าด้วยการร่วมเจรจาต่อรอง โดยกำหนดให้กฎหมายส่งเสริม "การพัฒนาและการใช้ประโยชน์อย่างสมบูรณ์ซึ่งกลไกสำหรับการเจรจาโดยสมัครใจ" ระหว่างองค์การแรงงานและกลุ่มนายจ้างเพื่อวางระเบียบการจ้างงาน "ด้วยวิธีการความตกลงร่วม" มาตรา 5 ระบุว่า กฎหมายของชาติสามารถมีกฎหมายต่างหากสำหรับตำรวจและทหาร และอนุสัญญาฯ ไม่มีผลต่อกฎหมายที่มีอยู่เมื่อสมาชิก ILO ให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ มาตรา 6 ยังให้ข้อยกเว้นแก่ "ตำแหน่งข้าราชการซึ่งมีส่วนในการบริหารจัดการรัฐ"

อ้างอิง[แก้]

  1. "Conventions and ratifications". International Labour Organization. May 27, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]