อนุราธา โกอิราลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนุราธา โกอิราลา
โกอิราลาเมื่อปี 2011
ผู้ว่ากาาแคว้นพคมาตีคนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
19 มกราคม 2018[1] – 3 พฤศจิกายน 2019
ประธานาธิบดีวิทยาเทวี ภัณฑารี
มุขมนตรีโทรมณี ปูเฑล
ก่อนหน้าประเดิมตำแหน่ง
ถัดไปวิษณุปรสาท ประไสน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
อนุราธา กุรุง

(1949-04-14) 14 เมษายน ค.ศ. 1949 (75 ปี)
เชื้อชาติเนปาลี
พรรคการเมืองพรรคคองเกรสเนปาล
คู่สมรสทิเนศ ประสาท โกอิราลา
บุตรมนิศ โกอิราลม
บุพการีประตาปสิงห์ กุรุง, ลักษมีเทวี กุรุง
อาชีพนักสังคมสงเคราะห์

อนุราธา โกอิราลา (อักษรโรมัน: Anuradha Koirala, สกุลเดิม กุรุง; Gurung, เกิด 14 เมษายน 1949) เป็นนักสังคมสงเคราะห์ชาวเนปาล ผู้ก่อตั้งองค์การไม่แสวงผผลกำไร ไมติเนปาล ซึ่งดูแลเหยื่อการค้าเพศในเนปาล[2] เธอได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการคนที่หนึ่งของแคว้นพคมาตี ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2018 – 2019 โดยรัฐบาลเนปาลเป็นผู้มอบหมาย[3]

ไมติเนปาลเปิดให้บริการศูนย์พักพิงฟื้นฟูในกาฐมาณฑุและบ้านพักรอการเปลี่ยนถ่ายในเมืองบนพรมแดนกับอินเดีย และสถาบันในกาฐมาณฑุหนึ่งแห่ง คำว่าไมติ มาจากภาษาเนปาลแปลว่าบ้านแม่ องค์การดำเนินกิจกรรมในการให้ที่พักพิงแก่เหยื่อค้าเพศจากอินเดียจนกว่าจะสามารถเดินทางกลับภูมิลำเนา หรือจนกว่าจะสามารถออกไปตั้งต้นใช้ชีวิตเองได้โดยอิสระ ระหว่างปี 1993 ถึง 2022 มีสตรีและเด็กหญิงมากกว่า 50,002 คนที่ได้รับการฟื้นฟูและดูแลโดยองค์การนี้ นอกจากการให้ที่พักพิงแล้ว องค์การยังมีภารกิจในการส่งคืนสตรีกลับยังครอบครัว ตรวจตราพื้นที่พรมแดนเนปาลกับอินเดียร่วมกับตำรวจและหน่วยกฎหมาย รวมถึงช่วยสตรีที่ค้าบริการในอินเดียโดยความช่วยเหลือร่วมกับหน่วยงานรัฐของอินเดีย[4]

โกอิราลาได้รับรางวัลความกล้าหาญแห่งจิต (Courage of Conscience Award) โดยเดอะพีชแอบบี (The Peace Abbey) ในเชอร์บอร์น รัฐแมสซาชูเซตส์เมื่อ 25 สิงหาคม 2006[5] และชนะรางวัลวีรชนแห่งปีของซีเอ็นเอ็นประจำปี 2010[2] และยังได้รับการเชิดชูให้เป็น "แม่ชีเทเรซา" ของเนปาล[6]

ในปี 2017 โกอิราลาเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคคองเกรสเนปาล[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. "President to administer oath of office to Province Chiefs at 4 pm today". www.newspnp.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-01-19. สืบค้นเมื่อ 2018-01-19.
  2. 2.0 2.1 "Anuradha Koirala named CNN Hero of the Year 2010". The Money Times. 21 November 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2010. สืบค้นเมื่อ 25 February 2011.
  3. https://www.tribuneindia.com [ระบุ]
  4. "Top 10 CNN Hero: Anuradha Koirala". www.cnn.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-24.
  5. "The Peace Abbey Courage of Conscience Recipients List". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-05. สืบค้นเมื่อ 2008-05-12.. peaceabbey. org
  6. "Nepal's 'Mother Teresa' Rescues Thousands From Sex Trafficking". 6 May 2020.
  7. "CNN Hero awardee Anuradha Koirala joins NC". 2017-11-12. สืบค้นเมื่อ 5 December 2017.