ข้ามไปเนื้อหา

องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ กอสส. ตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บัญญัติว่า "การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว"[1]

การสิ้นสุดหน้าที่

[แก้]

10 ตุลาคม 2560 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประสานงานการให้ความเห็นขององค์การอิสระในโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง พ.ศ. 2553[2] และอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 และถือเป็นการสิ้นสุดหน้าที่ขององค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอย่างถาวร เนื่องมาจากในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 (รัฐธรรมนูญฉบับใหม่) ไม่ได้กำหนดให้ต้องมีองค์การอิสระมาอยู่ในกระบวน การพิจารณาโครงการหรือกิจการที่มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เหมือนกับที่เคยกำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี[3][4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
  2. "สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รหัสเรื่อง : 725480 รับที่ : 514156/6" (PDF). สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ. 2017-09-21.
  3. "ครม.ยุบบอร์ดองค์การอิสระพิจารณาโครงการสวล.กระทบรุนแรง". Thai PBS. 2017-10-10.
  4. กุลชา จรุงกิจอนันต์ (2017-12-13). "อวสาน "องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม" (ตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550)". กรุงเทพธุรกิจ.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]