องค์การอัมพาตโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์การอัมพาตโลก
ตั้งชื่อตาม
  • สหพันธ์โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันโลก
  • สมาคมโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันนานาชาติ
เว็บไซต์www.world-stroke.org

องค์การอัมพาตโลก (อังกฤษ: The World Stroke Organization; อักษรย่อ: WSO) เป็นสมาคมทางการแพทย์ที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่ทำงานเพื่อสร้างความตระหนักในการป้องกันและรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน องค์กรก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 2006 จากการควบรวมกิจการของสององค์การก่อนหน้านี้ ได้แก่ สมาคมโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันนานาชาติ (ISS) และสหพันธ์โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันโลก (WSF)[1] สมาชิกประกอบด้วยทั้งบุคคลระดับอาชีพและองค์การที่มีเป้าหมายเดียวกับองค์การอัมพาตโลก[2]

ภารกิจ[แก้]

ภารกิจขององค์การอัมพาตโลกคือ "ให้การเข้าถึงการดูแลโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน รวมทั้งเพื่อส่งเสริมการวิจัยและการสอนในด้านนี้ ซึ่งจะปรับปรุงการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันทั่วโลก" สมาคมยังทำงานเพื่อ "เพิ่มความชัดเจนและความน่าเชื่อถือของกิจกรรมต่าง ๆ ในหมู่แพทย์โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน, นักวิจัย, ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอื่น ๆ, องค์การวิชาชีพและการวางแผนระดับนานาชาติ รวมถึงประชาชนทั่วไป"[3]

กิจกรรม[แก้]

องค์การอัมพาตโลกเป็นเจ้าภาพการประชุมเป็นทางการทุกสองปีที่ให้การประชุมเชิงปฏิบัติการการสร้างทักษะให้กับผู้เข้าร่วม ในอดีต การประชุมดังกล่าวได้ดึงดูดผู้เข้าร่วมได้มากถึง 2,400 คน ในแต่ละปีองค์การอัมพาตโลกยังรับรองการประชุมหลายครั้งที่เป็นเจ้าภาพโดยสมาคมภูมิภาคแห่งชาติที่เป็นสมาชิกขององค์การอัมพาตโลก[2]

องค์การอัมพาตโลกรับผิดชอบในการก่อวันหลอดเลือดสมองโลกและการรณรงค์ที่เกี่ยวข้อง[4] ซึ่งวันหลอดเลือดสมองโลกได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคมในแต่ละปี

องค์การอัมพาตโลกดำเนินการเวิลด์สโตรกอะแคเดมี[5] ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอีเลิร์นนิงระดับโลกสำหรับการศึกษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน

สิ่งพิมพ์[แก้]

องค์การอัมพาตโลกจัดทำวารสารอินเตอร์เนชันแนลเจอร์นัลออฟสโตรกรายสองเดือน[6] ที่จัดพิมพ์โดยบริษัทสำนักพิมพ์เซจ วารสารนี้มีทั้งผลงานต้นฉบับและบทวิเคราะห์เฉพาะแห่ง โดยเน้นที่ลักษณะทางคลินิกของโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ซึ่งมีการมุ่งเน้นในระดับนานาชาติ โดยมีบรรณาธิการจากหกภูมิภาคที่แตกต่างกัน วารสารนี้ได้รับการจัดทำขึ้นใน ค.ศ. 2005 และกลายเป็นสิ่งพิมพ์อย่างเป็นทางการขององค์การอัมพาตโลก โดยมีการก่อตั้งองค์การใน ค.ศ. 2006[7]

สมาชิกคณะกรรมการ[แก้]

มีสมาชิกคณะกรรมการที่มาจากการเลือกตั้ง 20 คนจากสิบแดนภูมิภาค

อ้างอิง[แก้]

  1. [1] เก็บถาวร มกราคม 22, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. 2.0 2.1 "world-stroke.org". world-stroke.org. 2012-02-03. สืบค้นเมื่อ 2012-07-19.
  3. "WSO Mission". World Stroke Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-04.
  4. "(WSC)". World Stroke Campaign. 2011-10-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-28. สืบค้นเมื่อ 2012-07-19.
  5. Inc., MULTILEARNING Group. "World Stroke Academy". world-stroke-academy.org. สืบค้นเมื่อ 2016-03-01.
  6. "International Journal of Stroke - Journal Information". Wiley.com. สืบค้นเมื่อ 2012-07-19.[ลิงก์เสีย]
  7. "International Journal of Stroke - Journal Information". Wiley.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-23. สืบค้นเมื่อ 2012-07-19.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]