ข้ามไปเนื้อหา

หุบอุกกาบาตบาร์ริงเกอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริเวณปากหลุม
ภาพถ่ายจากดาวเทียม

หลุมอุกกาบาตบาร์ริงเกอร์ (อังกฤษ: Barringer Crater) เป็นหลุมอุกกาบาตที่ตั้งอยู่ในรัฐแอริโซนา ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา อยู่ระหว่างเมืองวินสโลว์กับเมืองแฟล็กสตาฟฟ์ หลุ่มอุกกาบาตบาร์ริงเกอร์มีความกว้าง 1,250 เมตร ลึก 174 เมตร ถ้ามองจากพื้นราบทะเลทราย บริเวณรอบหลุมจะดูเหมือนเนินเตี้ยๆ จากการสำรวจโดย ซึ่งการค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1890 หลายคนยังคงเข้าใจว่าเป็นหุบภูเขาไฟธรรดา แต่ในปี ค.ศ. 1890 มีการค้นพบเศษเหล็ก ในปี ค.ศ. 1902 ดร. แดเนียล บาร์ริงเกอร์ ก็เข้ามาสำรวจและพบข้อเท็จจริงว่า ชั้นหินด้านตะวันออกเฉียงใต้ของหลุมสูงกว่าด้านอื่นถึง 30 เมตร ทำให้สรุปได้ว่า เกิดจากดาวเคราะห์​น้อยพุ่งชนในมุมต่ำทางทิศเหนือ และฝังตัวลงในด้านตะวันออกเฉียงใต้ จึงมีการขุดบริเวณนั้นและพบเศษนิกเกิลและเศษเหล็กมากขึ้นเมื่อขุดลึกเข้าไป วงการวิทยาศาสตร์สมัยนั้นเริ่มคล้อยตามว่าเกิดจากการชนของดาวเคราะห์​น้อย​

คาดว่าน้ำหนักที่แท้จริงของดาวเคราะห์​น้อย มีการประมาณการณ์หลายครั้ง ในปี ค.ศ 1930 นักวิทยาศาสตร์คาดว่าดาวเคราะห์​น้อยน่าจะหนักราว 14 ล้านต้น และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 122 เมตร แต่ในการคำนวณต่อๆมา ขนาดดาวเคราะห์​น้อยยิ่งเล็กลง คือมีน้ำหนักราว 2 ล้านต้นและเส้นผ่าศูนย์กลาง 79 เมตร ต่อมาก็ประมาณว่าน่าจะ 70,000 ต้นเส้นผ่าศูนย์กลาง 25-30 เมตร การที่จะทำให้เกิดหลุมกว้างขนาดนี้ได้ ดาวตกต้องพุ่งชนด้วยความเร็ว 69,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แรงกระทบคาดว่า น่าจะรุนแรงเท่ากับระเบิดขนาด 500,000 ตัน แรงกว่าระเบิดปรมาณูในฮิโรชิมากับนางาซากิ 40 เท่า แรงระเบิดทำให้เกิดฝุ่นฟุ้งไปในอากาศ 100 ล้านตัน และยังดันให้วัตถุอื่นขึ้นมากองอยู่รอบๆกลายเป็นหลุมอุกกาบาต ในปัจจุบัน

ขณะที่ดาวเคราะห์​น้อยพุ่งเข้าสู่บรรยากาศโลก ก็ถูกแรงเสียดทานจากชั้นบรรยากาศโลก ทำให้ผิวหลอมเหลวเป็นทาง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโลหะเหลว โปรยปรายเป็นทางครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่า 260 ตารางกิโลเมตร ซึ่งโลหะก้อนใหญ่ที่สุดหนักกว่า 630 กิโลกรัม

ลูกอุกกาบาตซึ่งอยู่ข้างใน นักวิทยาศาสตร์คาดว่าคงมีมวลเหลือไม่เกินร้อยละ 10 ของมวลเดิมซึ่งส่วนใหญ่ลุกไหม้ขณะกำลังตกสู่พื้นโลก

ทิวทัศน์มุมกว้างของหลุมอุกกาบาตบาร์ริงเกอร์ ถ่ายจากระยะใกล้