หลอดเลือดแดงเบซิลาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลอดเลือดแดงเบซิลาร์
หลอดเลือดแดงเบซิลาร์พาดผ่านแนวกลางของก้านสมองด้านหน้า เกิดจากการรวมกันของหลอดเลือดแดงเวอร์ทีบรอลด้านซ้ายและขวา
แผนภาพแสดงการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงที่บริเวณฐานของสมอง (มองจากด้านล่าง) หลอดเลือดแดงเบซิลาร์สิ้นสุดโดยแตกแขนงออกเป็นหลอดเลือดแดงสมองใหญ่ด้านล่างซ้าย และขวา
รายละเอียด
จากหลอดเลือดแดงเวอร์ทีบรอล
แขนงหลอดเลือดแดงพอนส์, หลอดเลือดแดงสมองน้อยด้านล่างส่วนหน้า (AICA) และ หลอดเลือดแดงสมองน้อยส่วนบน, สิ้นสุดเป็น หลอดเลือดแดงสมองใหญ่ส่วนหลัง
เลี้ยงพอนส์, แนวด้านบนและด้านล่างของสมองน้อย.
ตัวระบุ
ภาษาละตินArteria basilaris
MeSHD001488
TA98A12.2.07.081
TA24548
FMA50542
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

หลอดเลือดแดงเบซิลาร์ (อังกฤษ: Basilar artery) เป็นหนึ่งในหลอดเลือดแดงที่นำเลือดขึ้นไปหล่อเลี้ยงสมอง โดยจะทอดตัวอยู่ที่บริเวณฐานของสมอง เป็นหลอดเลือดหนึ่งในระบบเวอทีบรอลเบซิลาร์ (Vertebral basilar system) ที่นำเลือดขึ้นไปยังส่วนหลังของเซอร์เคิล ออฟ วิลลิส (Circle of Willis) โดยจะไปเชื่อมต่อกับเลือดที่มาจากส่วนหน้าซึ่งเป็นแขนงต่อมาจากหลอดเลือดแดงอินเทอร์นอลแคโรทิด (Internal Carotid artery)

โครงสร้าง[แก้]

หลอดเลือดแดงเบซิลาร์ เกิดจากการรวมกันของ หลอดเลือดแดงเวอร์ทีบรอล (Vertebral artery) ทั้งสองเส้น ตรงบริเวณรอยต่อระหว่างก้านสมองส่วนท้าย (เมดัลลา) และพอนส์ และระหว่างเส้นประสาทแอบดิวเซนต์ (เส้นประสาทสมองคู่ที่ 12 หรือ CN VI)

โดยหลอดเลือดนี้จะวิ่งขึ้นไปเหนือกว่าร่องเบซิลาร์ (basilar sulcus) ที่อยู่บริเวณพอนส์ส่วนหน้า แล้วจะสิ้นสุดที่บริเวณรอยต่อระหว่างสมองส่วนกลาง (Midbrain) และพอนส์ โดยแตกแขนงออกเป็นหลอดเลือดแดงสองเส้น นั่นคือ หลอดเลือดแดงสมองใหญ่ด้านหลัง (posterior cerebral artery)

หลอดเลือดแดงที่แตกแขนงจากหลอดเลือดแดงเบซิลาร์โดยเรียงลำดับจากด้านบน (Caudal:บนสุด) ไปล่าง (Rostral) มีดังน

  • หลอดเลือดแดงสมองน้อยด้านล่างส่วนหน้า (anterior inferior cerebellar artery)
  • หลอดเลือดแดงห้องหูชั้นใน (labyrinthine artery) (น้อยกว่า 15% ของประชากรที่จะแตกแขนงออกจากหลอดเลือดแดงเบซิลาร์ ในประชากรส่วนใหญ่หลอดเลือดนี้มักจะแตกแขนงออกจากหลอดเลือดแดงสมองน้อยด้านล่างส่วนหน้า (Anterior inferior cerebellar artery)
  • หลอดเลือดแดงพอนส์ (pontine arteries)
  • หลอดเลือดแดงสมองน้อยด้านบน (superior cerebellar artery)

ความเกี่ยวข้องทางคลินิก[แก้]

หากผู้ป่วยเกิดอาการหลอดเลือดเบซิลาร์ตีบ แตก ตัน ฉับพลัน หรือที่เรียกว่า โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน จะนำไปสู่สภาวะร่างกายอัมพาตทั้งตัว หรือกลุ่มอาการ LIS (Locked-in syndrome) ซึ่งผู้ป่วยจะไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ทั้งตัว พูดไม่ได้ แต่จะยังสามารถกรอกลูกตาได้

รูปภาพเพิ่มเติม[แก้]

ภาพแสดงกายวิภาคของหลอดเลือดแดง
มุมมองด้านขวา: หลอดเลือดแดงอินเทอร์นอลแคโรทิด (Internal carotid artery) (หลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ที่วิ่งพาดผ่านลำคอต่อจากหลอดเลือดแดงคอมมอนแคโรทิด (Common carotid artery)), หลอดเลือดแดงเวอร์ทีบรอล (Vertebral artery) (อยู่ถัดจากหลอดเลือดแดงอินเทอร์นอลแคโรทิดไปทางด้านซ้ายของภาพ วิ่งแทรกอยู่ในลำกระดูกสันหลัง)
มุมมองด้านขวา: หลอดเลือดแดงอินเทอร์นอลแคโรทิด (Internal carotid artery) (หลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ที่วิ่งพาดผ่านลำคอต่อจากหลอดเลือดแดงคอมมอนแคโรทิด (Common carotid artery)), หลอดเลือดแดงเวอร์ทีบรอล (Vertebral artery) (อยู่ถัดจากหลอดเลือดแดงอินเทอร์นอลแคโรทิดไปทางด้านซ้ายของภาพ วิ่งแทรกอยู่ในลำกระดูกสันหลัง) 
เซอร์เคิล ออฟ วิลลิส (Circle of Willis) โดยหลอดเลือดแดงเบซิลาร์ (ฺBasilar artery) คือหลอดเลือดที่ถูกย้อมด้วยสีน้ำเงินเส้นที่อยู่บริเวณตรงกลางภาพด้านล่างสุดที่มีลักษณะวิ่งตรง ก่อนที่จะแตกแขนงออกเป็นหลอดเลือดสมองใหญ่ด้านหลังสองเส้นซ้าย-ขวา (Posterior cerebral artery)
เซอร์เคิล ออฟ วิลลิส (Circle of Willis) โดยหลอดเลือดแดงเบซิลาร์ (ฺBasilar artery) คือหลอดเลือดที่ถูกย้อมด้วยสีน้ำเงินเส้นที่อยู่บริเวณตรงกลางภาพด้านล่างสุดที่มีลักษณะวิ่งตรง ก่อนที่จะแตกแขนงออกเป็นหลอดเลือดสมองใหญ่ด้านหลังสองเส้นซ้าย-ขวา (Posterior cerebral artery) 
มุมมองจากด้านล่าง: ภาพแสดงหลอดเลือดแดงที่อยู่บริเวณฐานของสมอง หลอดเลือดเบซิลาร์อยู่บริเวณตรงกลางของภาพ ระบุด้วยคำว่า basilar art. ซีกขวาของสมอง (ด้านซ้ายของภาพ) แสดงสมองที่ตัดส่วนสมองน้อย และส่วนหนึ่งของกลีบขมับของสมองใหญ่ (Temporal lobe) ออก
มุมมองจากด้านล่าง: ภาพแสดงหลอดเลือดแดงที่อยู่บริเวณฐานของสมอง หลอดเลือดเบซิลาร์อยู่บริเวณตรงกลางของภาพ ระบุด้วยคำว่า basilar art. ซีกขวาของสมอง (ด้านซ้ายของภาพ) แสดงสมองที่ตัดส่วนสมองน้อย และส่วนหนึ่งของกลีบขมับของสมองใหญ่ (Temporal lobe) ออก 

อ้างอิง[แก้]