หมู่ถ้ำการเล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมู่ถ้ำการเล
มหาเจดีย์ (มหาไจตยะ) อายุราว ค.ศ. 50-70
ที่ตั้งการเล ประเทศอินเดีย
ธรณีวิทยาบะซอล์ต

หมู่ถ้ำการละ (อังกฤษ: Karla Caves) หรือ หมู่ถ้ำการเล (อังกฤษ: Karle Caves) เป็นหมู่ถ้ำสลักหินของอินเดียโบราณในศาสนาพุทธ ตั้งอยู่ที่การเล ใกล้กับโลณาวลา รัฐหมาราษฏระ นอกจากนี้ยังมีถ้ำอื่น ๆ ในพื้นที่ เช่น หมู่ถ้ำภชะ, ถ้ำพุทธปาฏัณ, หมู่ถ้ำเพทเส และ หมู่ถ้ำนาศิก วิหารในหมู่ถ้ำการเลพัฒนาขึ้นตามยุคสมัย เริ่มต้นที่ 200 ปีก่อนคริสต์กาลถึงศตวรรษที่ 5 ถ้ำที่เก่าแก่ที่สุดเชื่อว่าสร้างขึ้นเมื่อ 160 ปีก่อนคริสต์กาล

แม้หมู่ถ้ำการเลจะมีขนาดเล็กกว่าและเก่ากว่าถ้ำสลักหินส่วนใหญ่ในรัฐมหาราษฏระ แต่หมู่ถ้ำการเลเป็นที่รู้จักเป็นพิเศษจาก "มหาเจดีย์" ("Grand Chaitya") ในถ้ำหมายเลขแปด ซึ่งถือเป็นโถงเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่และอยู่ในสภาพดีที่สุดจากยุคนี้ รวมถึงประติมากรรมในถ้ำซึ่งมีคุณลักษณะวิจิตรกว่าถ้ำอื่น ๆ[1] ถ้ำมหาเจดีย์หรือถ้ำหมายเลขแปด เป็นถ้ำสำหรับประกอบพิธีสวดมนต์ คาดว่าก่อสร้างขึ้นในปี 50-70 และถือเป็นเดีย์สลักหินที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียด้วยขนาดยาว 45 เมตร (148 ฟุต) และสูง 14 เมตร (46 ฟุต) ภายในโถงยังปรากฏประติมากรรมรูปชายและหญิง รวมถึงสัตว์ต่าง ๆ เช่นสิงโต

พ่อค้ามากมาย, พวกสาตราปตะวันตกจากสกะ และเจ้าครองนครของสตวาหนะ ล้วนได้บริจาคทุนทรัพย์เพื่อการก่อสร้างถ้ำเหล่านี้[2] ชาวพุทธในเวลานั้นมักจะสร้างอารามอยู่ตามบริเวณที่มีธรณีสันฐานตามธรรมชาติ ใกล้กับเส้นทางค้าขาย อารามเหล่านี้ยังใช้งานเป็นที่พักแรมแก่พ่อค้าที่เดินทางค้าชายเช่นกัน ชาวพุทธในเวลานั้นระบุตัวตนกับการค้าและการผลิต ผ่านทางความสัมพันธ์กับบรรดาพ่อค้ามาตั้งแต่ในช่วงแรก ๆ[3] ถ้ำการเล ก็เป็นหนึ่งในอารามที่สร้างเข้าไปในธรณีสัณฐาน และตั้งอยู่ไม่ไกลจากเส้นทางการค้าโบราณ หมู่ถ้ำนี้ในปัจจุบันได้รับการคุ้มครองและดูแลโดยกรมสำรวจโบราณคดีอินเดีย[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Michell, 374
  2. "Later Andhra Period India". สืบค้นเมื่อ 2007-01-24.
  3. Keay, John (2000). India: A History. New York, USA: Grove Press. pp. 123–127. ISBN 0-8021-3797-0.
  4. "Karla Caves". NIC. สืบค้นเมื่อ 2012-05-19.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Guide to Monuments of India 1: Buddhist, Jain, Hindu - by George Michell, Philip H. Davies, Viking - 1989