หมาจิ้งจอกข้างลาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมาจิ้งจอกข้างลาย[1]
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไพลโอซีน - ปัจจุบัน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Canidae
สกุล: Lupulella
สปีชีส์: L.  adusta
ชื่อทวินาม
Lupulella adusta
(Sundevall, 1847)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง

Canis adustus[3]

หมาจิ้งจอกข้างลาย (อังกฤษ: side-striped jackal; ชื่อวิทยาศาสตร์: Lupulella adusta) สัตว์กินเนื้อชนิดหนึ่ง ในวงศ์สุนัข (Canidae)

จัดเป็นหมาจิ้งจอกที่มีขนาดเล็กกว่าหมาป่า และหมาใน ด้วยเป็นแจ็กคัลชนิดหนึ่ง มีความแตกต่างจากแจ็กคัลชนิดอื่น ๆ โดยมีใบหน้าที่แหลมน้อยกว่า ใบหูมนกว่า ปลายหางเป็นสีขาว และมีลายเส้นสีขาวเส้นเดียวพาดทแยงตามทั้งสองข้างลำตัว มีความใกล้เคียงกับหมาจิ้งจอกหลังดำ (L. mesomelas) ซึ่งเป็นแจ็กคัลอีกชนิดหนึ่ง มีฟันที่สามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า [4]

มีความสูงจากปลายเท้าถึงหัวไหล่ 40–45 เซนติเมตร ความยาว 70–80 เซนติเมตร น้ำหนักโดยเฉลี่ย 7–13 กิโลกรัม ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียและมีน้ำหนักมากกว่า

พบกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา จัดเป็นแจ็กคัลชนิดที่พบได้ยากที่สุด มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียว ยกเว้นในช่วงฤดูผสมพันธุ์หรือเลี้ยงดูแลลูกที่อยู่กันเป็นคู่ มีการจับคู่แบบคู่เดียวตลอดทั้งชีวิต อาศัยอยู่ในสถานที่ ๆ เป็นทุ่งหญ้าและป่าละเมาะ กินซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย และล่าสัตว์ขนาดเล็ก เช่น หนู, กระต่าย, นกที่หากินตามพื้นดิน, สัตว์เลื้อยคลาน หรือแมลง เป็นอาหาร นอกจากนี้แล้วยังอาจล่าสัตว์กีบที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น ลูกแอนทีโลป หรือแอนทีโลปขนาดเล็กเป็นอาหารได้ด้วย โดยเฉพาะการล่าแบบคู่ โดยคู่ผสมพันธุ์ [5]

มีระยะเวลาการตั้งท้องนาน 57–70 วัน พฤติกรรมการเลี้ยงลูกเหมือนกับแจ็คเกิลชนิดอื่น ๆ คือ ตัวผู้เป็นฝ่ายหาอาหารมาเลี้ยงดู ตัวเมียจะเป็นฝ่ายเฝ้าดูแลรังและดูแลลูกมากกว่า แต่ก็อาจจะช่วยตัวผู้ล่าเหยื่อได้ในบางครั้ง ลูกขนาดเล็กที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้จะตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่กว่า เช่น เสือดาว, ไฮยีน่า, งูเหลือม, อินทรีขนาดใหญ่[1]

การจำแนก[แก้]

แบ่งออกเป็นชนิดย่อยได้ 7 ชนิด คือ [6]

  • L. a. adusta (แอฟริกาตะวันตก)
  • L. a. bweha (แอฟริกาตะวันออก, คิซุมุ, เคนยา)
  • L. a. centralis (โมร็อกโกและตูนิเซีย)
  • L. a. grayi (แคฟฟา, ตะวันตกเฉียงใต้ของเอธิโอเปีย)
  • L. a. kaffensis (เคนยา, อูซิน กิชู พลาตู, ภาคใต้ของกาบอง)
  • L. a. lateralis (ลอยตา เพลนส์, เคนยา)
  • L. a. notatus (แอฟริกาตะวันออก; เคนยา, Loita Plains, คูทิง)

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ปองพล อดิเรกสาร. สัตว์ป่าแอฟริกา. กรุงเทพฯ : เอเรียสบุ๊คส์, 2553. 272 หน้า. หน้า 137. ISBN 978-616-90508-0-3
  2. Atkinson RPD & Loveridge AJ (2008). Canis adustus. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 2008-11-12. Database entry includes justification for why this species is of least concern
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Wozencraft2005
  4. "Side-Striped Jackal" (PDF). Canids.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-20. สืบค้นเมื่อ 2008-11-13.
  5. MEET THE JACKALS, "Animal Planet Sunday Showcase" สารคดีทางแอนิมอลพลาเน็ต. ทางทรูวิชั่นส์: อาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม 2556
  6. "Canis adustus". Planet-mammiferes.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-18. สืบค้นเมื่อ 2009-09-07.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Canis adustus ที่วิกิสปีชีส์