หน้าทับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หน้าทับ เป็นการกำหนดจังหวะในเพลงไทยเดิม ซึ่งมีสามแบบคือ

  • หน้าทับปรบไก่ ใช้ทับตีเลียนเสียงของลูกคู่ที่ร้องรับในการเล่นเพลงปรบไก่ ตัวอย่างเพลงที่ใช้หน้าทับนี้ เช่น เขมรไทรโยค แขกบรเทศ เถา
  • หน้าทับสองไม้ เกิดจากการเล่นเพลงพื้นเมืองที่ใช้การร้องแบบด้นสองไม้ แต่ละจังหวะของเพลงจะมีความยาวเพียงครึ่งหนึ่งของหน้าทับปรบไก่ ตัวอย่างเพลงที่ใช้หน้าทับนี้ เช่น ลาวดวงเดือน ลาวเสี่ยงเทียน ลาวจ้อย
  • หน้าทับพิเศษ สำหรับเพลงที่ไม่อาจใช้หน้าทับทั้งสองแบบข้างต้นได้ เพราะมีจังหวะตัดหรือจังหวะผสมเป็น 2/4 เช่น เพลงโอ้ปี่ ชมตลาด หรือจังหวะไม่สม่ำเสมอเช่น เพลงรัว หรือเพลงที่ประโยคยาวสั้นไม่เท่ากัน เช่น เพลงฉิ่งบางเพลง

อ้างอิง[แก้]

  • สำเนียง มณีกาญจน์ และสมบัติ จำปาเงิน. ประชุมเพลงเถาของไทย (ประวัติและบทร้อง). กรุงเทพฯ: ต้นอ้อแกรมมี. 2539. หน้า 3-33