สิรปุระ

พิกัด: 21°20′43″N 82°11′05″E / 21.345225°N 82.184814°E / 21.345225; 82.184814
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สิรปุระ

ศรีปุระ
หมู่บ้าน
ลักษมณมนเทียรในหมู่อนุสรณ์สิรปุระ
ลักษมณมนเทียรในหมู่อนุสรณ์สิรปุระ
สิรปุระตั้งอยู่ในChhattisgarh
สิรปุระ
สิรปุระ
สิรปุระตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
สิรปุระ
สิรปุระ
พิกัด: 21°20′43″N 82°11′05″E / 21.345225°N 82.184814°E / 21.345225; 82.184814
ประเทศ อินเดีย
รัฐฉัตตีสครห์
อำเภอมหาสมุนท์
เตหสิลมหาสมุนท์
ประชากร
 (2011)
 • ทั้งหมด1,467[1] คน
เขตเวลาUTC+5:30 (IST)
รหัสไปรษณีย์493445
ทะเบียนพาหนะCG 06

สิรปุระ (อักษรโรมัน: Sirpur) เป็นหมู่บ้านในอำเภอมหาสมุนท์ รัฐฉัตตีสครห์ ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ห่างไป 35 กิโลเมตรจากนครมหาสมุนท์ และ 78 กิโลเมตรจากรายปุระ[2] ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำมหานที[3] สิรปุระเป็นราชธานีของจักรวรรดิปาณฑุวงศ์ในสมัยโบราณ และเป็นที่ตั้งของหมู่อนุสรณ์สิรปุระซึ่งประกอบด้วยเทวสถานในศาสนาพุทธ ฮินดู และไชนะ อายุระหว่างศตวรรษที่ 5-12 ชื่ออื่นที่ปรากฏของสิรปุระในเอกสารโบราณคือ ศรีปุระ

หมู่อนุสรณ์สิรปุระเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญบนฝั่งแม่น้ำมหานที[4] ซากเทวาลัยที่สำคัญได้แก่มนเทียรพระรามและพระลักษมณ์ จากการขุดค้นหลังปี 1950 โดยเฉพาะในปี 2003 สรุปจำนวนเทวสถานในหมู่อนุสรณ์ได้ดังนี้ เทวาลัยพระศิวะ 22 แห่ง, พระวิษณุ 5 แห่ง, พุทธวิหาร 10 แห่ง, ไชนวิหาร 3 แห่ง และตลาด กับโรงอาบน้ำ อย่างละแห่ง รูปเคารพของแต่ละศาสนาปรากฏพบอยู่ร่วมกันในเทวาลัยเหล่านี้[4] สิรปุระยังเป็นแหล่งโราณคดีที่สำคัญของ "ประติมากรรมทองสัมฤทธิ์จากยุคกลางตอนต้น" และเป็นสถานที่ผลิตประติมากรรมบรอนซ์ที่สำคัญในอินเดียโบราณ พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์จากสิรปุระโบราณที่ขุดค้นพบเป็นหนึ่งใน "ประติมากรรมทองสัมฤทธิ์ชิ้นดีที่สุด" ของช่วงสมัยนั้น[5]

ใกล้กับสิรปุระยังเป็นที่ตั้งของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พรรณวประ (Barnawapara) ซึ่งสามารถพบกระทิง, กวางจีตัล, กวางซัมบาร์, นีลไก และหมูป่า[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Census of India: Search Details". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 7 August 2014.
  2. Sirpur raipur.gov.in
  3. SIRPUR : A Goldmine of History Prasar Bharti
  4. 4.0 4.1 Atula Kumar Pradhan and Shambhoonath Yadav (2013), Sirpur - A unique township of early medieval India, Proceedings of the Indian History Congress, Vol. 74 (2013), pp. 854-864
  5. Geri Hockfield Malandra (1993). Unfolding A Mandala: The Buddhist Cave Temples at Ellora. State University of New York Press. pp. 112–113. ISBN 978-0-7914-1355-5.
  6. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-08-01. สืบค้นเมื่อ 2014-08-06.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)