สาญฌี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูปสาญฌีมาตาในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในรัฐหรยาณา

สาญฌี (อักษรโรมัน: Sanjhi) เป็นเทพีและชื่อเทศกาลบูชาพระนาง โดยมากฉลองโดยเด็กหญิงในพื้นที่เดลี, ปัญจาบ, หรยาณา และอุตตรประเทศ[1] รูปเคารพสาญฌีจะสร้างขึ้นในวันแรกของเก้าวันในทุรคาบูชาหรือนวราตรี ทุก ๆ วัน เด็กหญิงและสตรีในพื้นที่จะได้รับเชิญไปขับร้องภชันและทำพิธีอารตี ในวันสุดท้ายของนวราตรี หรือ ทุสเสหระ เทวรูปเทพีสาญฌีจะถูกนำลงละลายในแหล่งน้ำ[2]

ในภูมิภาคพรัช มักสร้างรูปสาญฌีเป็นพระกฤษณะและพระนางราธา สัญลักษณ์ของความรัก ตามตำนานทางเทววิทยาเชื่อว่าสาญฌีถูกสร้างขึ้นโดยเทพีราธาเพื่อเรียกพระกฤษณะให้มาปรากฏพระองค์ ตำนานพื้นถิ่นยังบอกเล่าถึงลีลาตอนที่พระกฤษณะจัดดอกไม้เป็นรูปพระนางราธาอย่างสวยงามเพื่อให้พระนางประทับใจ[3] ธรรมเนียมของพรัชในยุคแรกยังมีลักษณะของการทำสาญฌีมาจากมูลวัวและดอกไม้ แต่นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 15-16 มา ก็ได้ถูกนำไปปฏิบัติในโบสถ์ของนิกายไวษณวะ และกลายมาเป็นรูปแบบของศิลปะที่มีความสลับซับซ้อน มีเพียงนักบวชพราหมณ์ที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีถึงจะสร้างสรรค์สาญฌีได้[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Dabas, Maninder (28 Sep 2017). "Here's The Story Of Sanjhi - A Forgotten Festival And Delhi's 'Own Version' Of Durga Puja". India Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 November 2017. สืบค้นเมื่อ 30 Sep 2018.
  2. "The Tribune, Chandigarh, India - Punjab".
  3. Goswami, Saurabh and Thielemann, Selina; Music and fine arts in the devotional traditions of India. Worship through beauty, New Delhi: APH Publishing Corporation, 2005
  4. "Artist couple from UP bring Sanchi art to Udupi", Deccan Herald, 1 August 2011