สัญญาณขัดจังหวะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สัญญาณขัดจังหวะ (อังกฤษ: interrupt) หมายถึง สัญญาณที่ส่งไปยังหน่วยประมวลผลเพื่อบ่งบอกว่า มีเหตุการณ์เกิดขึ้นและต้องการความสนใจทันที เพื่อให้หน่วยประมวลผลหยุดการทำงานในกระบวนการที่กำลังทำอยู่ก่อนชั่วคราว แล้วไปทำงานในฟังก์ชันที่เรียกว่า ชุดคำสั่งจัดเรื่องขัดจังหวะ (interrupt handler) เพื่อจัดการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อเสร็จสิ้นแล้วจึงค่อยกลับมาทำงานในกระบวนการที่ค้างไว้ต่อ

ประเภทของสัญญาณขัดจังหวะ[แก้]

  • สัญญาณขัดจังหวะจากฮาร์ดแวร์ (hardware interrupt) เป็นสัญญาณขัดจังหวะที่เกิดจากอุปกรณ์ เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น ซึ่งส่งมายังหน่วยประมวลผลเพื่อบ่งบอกถึงเหตุการณ์บางอย่าง เช่น มีการกดปุ่มบนแป้นพิมพ์ มีการอ่านข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
  • สัญญาณขัดจังหวะจากซอฟต์แวร์ (software interrupt) เป็นสัญญาณที่กระบวนการหรือโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ส่งมายังหน่วยประมวลผลเพื่อบ่งบอกว่าต้องการเรียกใช้ฟังก์ชันหรือบริการบางอย่าง เช่น การหยุดทำงานของโปรแกรม เป็นต้น