เพลงชุด
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก สวีต (ดนตรี))
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เพลงชุด (อังกฤษ: suite) คือ บทประพันธ์ที่ประกอบด้วยบทเพลงหลาย ๆ บท นำมาบรรเลงต่อกันเป็นชุด ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องราว หรือเป็นลักษณะของการรวมเพลงประเภทใดประเภทหนึ่ง มีการกำหนดลักษณะของการประพันธ์ไว้อย่างแน่นอน โดยแต่ละท่อนมักจะเป็นลักษณะของจังหวะเต้นรำโดยอยู่ในบันไดเสียงเดียวกัน จึงมีอีกชื่อเรียกว่า dance suite บทเพลงประเภทนี้พบได้มากในอุปรากรและบัลเลต์
ลักษณะ
[แก้]ลักษณะของเพลงชุดแบ่งได้ 2 ลักษณะใหญ่ ได้แก่
- บารอกสวีต (Baroque Suite) เป็นเพลงชุดในยุคบารอก โดยเพลงชุดเหล่านี้ประกอบด้วยจังหวะเต้นรำลักษณะต่างๆ แต่ไม่นิยมนำมาเล่นเพื่อเต้นรำจริง เป็นเพลงที่บรรเลงเพื่อการฟังเท่านั้น รูปแบบเพลงชุดในยุคบารอกมักจะเริ่มต้นด้วยบทนำคือ ตอนนำ (prelude) แล้วตามด้วยเพลงจังหวะเต้นรำดังต่อไปนี้
- allemande เพลงเต้นรำของชาวเยอรมัน จังหวะเร็วปานกลาง
- courante เพลงเต้นรำของชาวฝรั่งเศส จังหวะเร็ว
- sarabande เพลงเต้นรำของชาวสเปน จังหวะช้า
- gigue เพลงเต้นรำของชาวไอริช จังหวะเร็ว
- เพลงเต้นรำลักษณะใดลักษณะหนึ่ง
- ระหว่าง sarabande และ gigue จะเป็นเพลงเต้นรำตามที่ผู้ประพันธ์เลือกเอง ซึ่งมักจะเป็นเพลงเต้นรำต่อไปนี้ Gavotte, Bourree, Minuet, Polonaise, Passepied หรือ Rigaudon นอกจากนี้บทเพลงชุดบางบท มีการสอดแทรกด้วยท่อนที่แสดงแนวทำนองที่ไพเราะ ไม่เป็นจังหวะเต้นรำ เพื่อเปลี่ยนอารมณ์ผู้ฟังให้แตกต่างไป ท่อนที่เน้นแนวทำนองเช่นนี้ เรียกว่า แอร์ (air)
- มอเดิร์นสวีต (modern suite) เป็นบทเพลงที่มีหลายท่อน ประพันธ์ขึ้นสำหรับวงออร์เคสตรา บางครั้งใช้ในความหมายของดนตรีบรรยายเรื่องราวที่มีหลายท่อนจบ เช่น Scheherezade โดยริมสกี-คอร์ซาคอฟ เป็นต้น
ตัวอย่าง
[แก้]- Water Music Suite - Handel
- Suite No. 2 in B minor - Bach
- Peer Gynt Suite - Grieg
- Garmen Suite - Bizet
- Nutcraker Suite - Tchaikovsky
- The Sleeping Beauty Suite - Tchaikovsky
- Swan Lake - Tchaikovsky
- Mary Janos Suite - Kodaly