สนธิสัญญาไวตางี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สนธิสัญญาไวทังกิ)
สนธิสัญญาไวตางี
สำเนาสนธิสัญญาไวตางีฉบับหนึ่งในไม่กี่ฉบับเท่าที่เหลืออยู่
บริบทสนธิสัญญาเพื่อสถาปนาผู้ว่าราชการนิวซีแลนด์ชาวบริติช พิจารณาความเป็นเจ้าของที่ดินและทรัพย์สินอื่นของมาวรี และให้สิทธิคนในบังคับบริเตนแก่มาวรี
วันร่าง4–5 กุมภาพันธ์ 1840 โดยวิลเลียม ฮอบสัน ด้วยความช่วยเหลือของเจมส์ ฟรีแมน เลขานุการ และเจมส์ บัสบี ผู้ที่เข้ามามีถิ่นที่อยู่ชาวบริติช
วันลงนาม6 กุมภาพันธ์ 1840
ที่ลงนามไวตางี อ่าวไอแลนส์ ประเทศนิวซีแลนด์ และที่อื่นอีกมาก ปัจจุบันเก็บรักษาที่หอจดหมายเหตุนิวซีแลนด์ กรุงเวลลิงตัน
ผู้ลงนามผู้แทนของคราวน์บริติช หัวหน้าเผ่ามาวรีหลายคนจากเกาะเหนือตอนเหนือ และภายหลังมีผู้ลงนามอีกกว่า 500 คน
ภาษาอังกฤษ, มาวรี
สนธิสัญญาไวตางี *
  ความทรงจำแห่งโลกโดยยูเนสโก
ที่เก็บรักษาหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, เวลลิงตัน
ประเทศ นิวซีแลนด์
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
อ้างอิง[1]
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2540
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีความทรงจำแห่งโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

สนธิสัญญาไวตางี (อังกฤษ: Treaty of Waitangi; เมารี: Tiriti o Waitangi) เป็นสนธิสัญญาที่ลงนามครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1840 โดยผู้แทนของคราวน์หรือรัฐบริติช (British Crown) และหัวหน้าเผ่าเมารีหลายคนจากเกาะเหนือของประเทศนิวซีแลนด์ ส่งผลให้มีการประกาศอำนาจอธิปไตยของบริเตนเหนือนิวซีแลนด์โดยรองผู้ว่าราชการวิลเลียม ฮอบสัน ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1840

สนธิสัญญาฯ ตั้งผู้ว่าราชการนิวซีแลนด์ที่เป็นชาวบริติช รับรองความเป็นเจ้าของดินแดนและทรัพย์สินอื่นของมาวรี และให้สิทธิคนในบังคับบริเตนแก่มาวรี สนธิสัญญาฯ ฉบับภาษาอังกฤษและมาวรีต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ฉะนั้นจึงไม่มีการเห็นพ้องต้องกันว่าตกลงอะไรกันแน่ จากมุมมองของบริเตน สนธิสัญญาฯ ให้อำนาจอธิปไตยของบริเตนเหนือนิวซีแลนด์ และให้สิทธิผู้ว่าราชการปกครองประเทศ มาวรีเชื่อว่าตนยกสิทธิการปกครองแก่คราวน์โดยแลกกับการคุ้มครอง โดยไม่สละอำนาจในการจัดการกิจการของพวกตน[1] หลังการลงนามขั้นต้นที่ไวตางี มีการนำสำเนาสนธิสัญญาฯ ไปทั่วนิวซีแลนด์และในหลายเดือนถัดมา มีหัวหน้าอีกหลายคนลงนาม[2] รวมแล้วมีสำเนาสนธิสัญญาไวตางีเก้าฉบับรวมทั้งฉบับดั้งเดิมที่ลงนามเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1840[3] ชาวมาวรีประมาณ 530 ถึง 540 คน โดยอย่างน้อย 13 คนเป็นหญิง ลงนามสนธิสัญญาไวตางี[4][5][6][7]

จนคริสต์ทศวรรษ 1970 สนธิสัญญาฯ โดยทั่วไปถือว่าบรรลุความมุ่งหมายในประเทศนิวซีแลนด์ ค.ศ. 1840 และถูกศาลและรัฐสภาละเลย แม้โดยทั่วไปถูกพรรณนาในประวัติศาสตร์นิวซีแลนด์ว่าเป็นความใจกว้างในส่วนของจักรวรรดิบริติช ซึ่งในขณะนั้นเป็นจุดสุดยอด[8] มาวรีคาดหวังสิทธิและการชดเชยการเสียที่ดินและการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมจากสนธิสัญญาฯ แต่สำเร็จบ้าง ตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 เมารีเริ่มดึงความสนใจมายังการละเมิดสนธิสัญญาฯ และประวัติศาสตร์ต่อมาเน้นปัญหาเกี่ยวกับการแปล[9] ใน ค.ศ. 1975 มีการตั้งศาลชำนัญพิเศษไวตางีเป็นคณะกรรมการสืบสวนถาวรที่ได้รับมอบหมายให้วิจัยการละเมิดสนธิสัญญาฯ โดยคราวน์บริติชหรือเจ้าหน้าที่ และเสนอวิธีชดใช้

เกือบ 150 ปีหลังการลงนามสนธิสัญญาฯ รัฐบาลพยายามให้ผลทางตุลาการและจริยธรรมต่อเอกสารโดยนิยาม "เจตนารมณ์" หรือ "ความจำนง" ใหม่อีกชุดของสนธิสัญญาผ่านการระบุหลักการของสนธิสัญญาฯ ท่าทีดังกล่าวแสดงว่าเอกสารต้นฉบับมิใช่รากฐานที่หนักแน่นของการสร้างรัฐ[10]

ปัจจุบัน สนธิสัญญาฯ โดยทั่วไปถือเป็นเอกสารก่อตั้งชาตินิวซีแลนด์ กระนั้น ยังเป็นเรื่องที่มีการถกเถียงอย่างเผ็ดร้อน และทั้งชาวมาวรีและชาวนิวซีแลนด์ที่มิใช่มาวรีไม่ลงรอยมาก ชาวมาวรีจำนวนมากรู้สึกว่าคราวน์ไม่บรรลุข้อผูกมัดภายใต้สนธิสัญญาฯ และนำเสนอหลักฐานต่อที่ประชุมศาลชำนัญพิเศษไวตางี ชาวนิวซีแลนด์ที่มิใช่มาวรีบางส่วนแนะว่ามาวรีอาจละเมิดสนธิสัญญาฯ เพื่ออ้างเอกสิทธิ์พิเศษ[11][12] ในกรณีส่วนใหญ่ คราวน์ไม่มีข้อผูกมัดให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของศาลชำนัญพิเศษฯ แต่กระนั้น ในหลายกรณีก็ยอมรับว่าละเมิดสนธิสัญญาฯ และหลักการ การตกลงการละเมิดสนธิสัญญาฯ จนทุกวันนี้ประกอบด้วยการชดใช้ค่าเสียหายหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินสดและสินทรัพย์ ตลอดจนคำขอขมา

วันที่ลงนามเป็นวันหยุดราชการ ปัจจุบันเรียก วันไวตางี ตั้งแต่ ค.ศ. 1974

อ้างอิง[แก้]

  1. "Meaning of the Treaty". Waitangi Tribunal. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-14. สืบค้นเมื่อ 12 July 2011.
  2. "Treaty of Waitangi signings in the South Island", Christchurch City Libraries
  3. "Treaty of Waitangi – Te Tiriti o Waitangi". Archives New Zealand. สืบค้นเมื่อ 10 August 2011.
  4. "Treaty of Waitangi". Waitangi Tribunal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-16. สืบค้นเมื่อ 28 May 2015.
  5. C. Orange.The Treaty of Waitangi. Bridget Willians .1987.Appendices P 260
  6. "In 1840 the document served its original purpose-to proclaim British sovereignty over the country and bring it into ...the British Empire". Michael King, Nga Iwi O Te Motu, Reed, Auckland, 2001. p 35
  7. "Treaty of Waitangi: Questions and Answers" (PDF). Network Waitangi. 2012. p. 13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-01-26. สืบค้นเมื่อ 28 May 2015.
  8. "The Treaty in practice: The Treaty debated". nzhistory.net.nz. สืบค้นเมื่อ 10 August 2011.
  9. "Treaty of Waitangi – Meaning". Waitangi Tribunal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-14. สืบค้นเมื่อ 10 August 2011.
  10. Michael King, Nga Iwi O Te Motu, Reed, 2001, p 35
  11. Dr Donald Brash (26 March 2004). "Orewa Speech–Nationhood". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 20 March 2011.
  12. Radio Live (1 February 2012). "AUDIO: Laws vs. JT on the Treaty of Waitangi". สืบค้นเมื่อ 8 February 2012.