สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศฮังการี
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดสามแห่งของประเทศฮังการีที่มีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวมากที่สุด ประกอบด้วย กรุงบูดาเปสต์ (Budapest) ทะเลสาบบอลอโตน (Balaton) และ โค้งน้ำดานูบ (Dunakanyar) ใกล้กับเมืองวิเชกราด ในหนึ่งปีมีนักท่องเที่ยวประมาณ 7 ล้านคนที่มาเที่ยว ณ ประเทศฮังการี[1] ตากการแบ่งเขตประเทศในเชิงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศฮังการี สามารถแบ่งเขตประเทศฮังการีได้เป็น 9 เขต:
1. กรุงบูดาเปสต์และแม่น้ำดานูบกลาง (Budapest–Közép-Duna-vidék)
2. เขตทรานส์ดานูเบียกลาง (Közép-Dunántúl)
3. เขตทรานส์ดานูเบียตะวันตก (Nyugat-Dunántúl)
4. ทะเลสาบบอลอโตน (Balaton)
5. เขตทรานส์ดานูเบียใต้ (Dél-Dunántúl)
6. เขตฮังการีเหนือ (Észak-Magyarország)
7. เขตที่ราบใหญ่เหนือ (Észak-Alföld)
8. เขตที่ราบใหญ่ใต้ (Dél-Alföld)
9. ทะเลสาบทิสซอ (Tisza-tó)
เทศกาล
[แก้]ในประเทศฮังการีมีเทศกาลจำนวนมากจัดขึ้นในแต่ละปี ทั้งเทศกาลด้านศิลปะวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ ดนตรี และ การแข่งขันกีฬา เทศกาลที่จัดในกรุงบูดาเปสต์ประกอบด้วย: เทศกาลตอวอซิเฟสติวัล/เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ (Tavaszi Fesztivál), บูดาเปสต์พาเรด (Budapest Parádé) และ เทศกาลซิแก็ดเฟสติวัล/เทศกาลเกาะ (Sziget Fesztivál) ส่วนในเขตทะเลสาบบอลอโตน จะมีเทศกาลดนตรีบอลอโตนซาวนด์ (Balaton Sound) ที่มีศิลปินจากทั่วโลกมา และเทศกาลหุบเขาศิลปะ (Művészetek Völgye หรือ เทศกาลมือเวแซแต็กเวิลจแย) ในที่ราบใหญ่ฮังการี มีเทศกาลแข่งม้าเมืองฮอร์โตบาจ (Hortobágyi Lovasnapok és Hídivásár), เทศกาลคาร์นิวัลดอกไม้เมืองแดแบร็ตแซ็น (Debreceni virágkarnevál) และเทศกาลซอบอดเตริยาเตกโก็ก/เทศกาลเพลงกลางแจ้งจตุรัสเสรีภาพเมืองแซแก็ด (Szegedi Szabadtéri Játékok) ในเมืองมิชโกลซ์ทางเหนือของฮังการี มีเทศกาลโอเปร่านานาชาติเมืองมิชโกลซ์ (Miskolci Nemzetközi Operafesztivál) และในเมืองโชโปรน ทางตะวันตกของประเทศ มีเทศกาลโวล์ต (VOLT Fesztivál)
ในประเทศฮังการี นอกจากกรุงบูดาเปสต์ (Budapest) แล้ว ยังมีเมืองที่เป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมอื่น ๆ อยู่ในประเทศ ประกอบด้วย เซแก็ชแฟเฮร์วาร์ (Székesfehérvár), แดแบร็ตแซน (Debrecen), โชโปรน (Sopron), เจอร์ (Győr), โซ็มบ็อทแฮย์ (Szombathely), เคอแซ็ก (Kőszeg), เปช (Pécs), คอโป็ชวาร์ (Kaposvár), แอสแตร์โกม (Esztergom), แว็สเปรม (Veszprém), ปาปอ (Pápa), วาร์ปอโลตอ (Várpalota), แอแกร์ (Eger), มิชโกลซ์ (Miskolc), และเมืองแซแก็ด (Szeged) ส่วนเมืองที่มีมรดกโลกอยู่นั้น มีเมืองโตคอย (Tokaj), ฮอร์โตบาจ (Hortobágy), ญีแร็จฮาซอ (Nyíregyháza), ญีร์บาโตร์ (Nyírbátor), ชาโรชปอต็อก (Sárospatak), ปาซโต (Pásztó), แค็ชแคเมต (Kecskemét), คอโลชอ (Kalocsa), แซนแตช (Szentes), โฮดแมเซอวาชาร์แฮย์ (Hódmezővásárhely), บอยอ (Baja) และ แซ็นแต็นแดร (Szentendre)[2]
ในประเทศฮังการีมีโบสถ์สมัยยุคกลางจำนวนมาก (Ják, Lébény, Ócsa, tihanyi altemplom, Csaroda เป็นต้น) ปราสาทแสนโรแมนติก (Visegrád, Nagyvázsony, Sümeg, Szigliget, Szigetvár, Siklós, Pécsvárad, Magyaregregy, Sárvár, tatai vár, cseszneki vár, Drégely vára, Hollókő, boldogkői vár, diósgyőri vár, füzéri vár, Sárospatak, Szerencs, Szécsény, Gyula) พิพิธภัณฑ์ในราชวังเก่า (Fertőd, Nagycenk, Keszthely, Gödöllő, Martonvásár, Ráckeve เป็นต้น) สถานที่ท่องเที่ยวมรดกโลกที่นักท่องเที่ยวไปในประเทศฮังการี ประกอบด้วยหมู่บ้านโบราณโฮโล่เคอ (hollókő), ราชวังพันโนฮอลมิแบนเซ็ช (Pannonhalmi Bencés Főapátság), กำแพงป้องกันเมืองโคมาโรม (komáromi erődrendszer), โบราณสถานกอร์ซิอุมในเมืองตาทซ์ (gorsium), แหล่งโครงกระดูกมนุษย์โบราณเมืองเวร์แต็ซเซอเลอ (vértesszőlősi ősemberleletek), และเขตเมืองเก่าเมืองมอยค์ (majki műemlékegyüttes)
มรดกโลก
[แก้]องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้จัดให้ 9 สถานที่ในประเทศฮังการีให้เป็นมรดกโลก ดังนี้:
- กรุงบูดาเปสต์: ทิวทัศน์รอบแม่น้ำดานูบ และเขตหุบเขาปราสาทฝั่งบูดอ (Budai Várnegyed)
- หมู่บ้านโฮโล่เคอ (Hollókő) หมู่บ้านเก่าที่ยังรักษาสถาปัตยกรรมและวิถีชีวิตของชาติพันธุ์ฮังการีไว้ (เมืองโฮโล่เคอ)
- ระบบถ้ำอ็อกก์แตแล็ก-กอร์สต์และสโลวัก-กอร์สต์ (Aggteleki-karszt és a Szlovák-karszt barlangjai) (มรดกโลกร่วมกับประเทศสโลวาเกีย)
- อารามปอนโนนฮอลมอ (Pannonhalmi Bencés Főapátság) อารามเก่าแก่อายุพันปี และทิวทัศน์รอบอาราม (เมืองปอนโนนฮอลมอ)
- อุทยานแห่งชาติโฮร์โตบาจย์ (Hortobágyi Nemzeti Park) – ทุ่งหญ้าธรรมชาติขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปกลาง
- สุสานคริสเตียนโบราณเมืองเปช (Pécsi ókeresztény sírkamrák)
- ชนบทรอบทะเลสาบแฟร์เตอ (Fertő-táj) (มรดกโลกร่วมกับประเทศออสเตรีย)
- เขตชนบทโตกอยิ (Tokaji Történelmi Borvidék) สถานที่ทำไวน์ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
- กรุงบูดาเปสต์: ถนนอ็อนดราชชี (Andrássy út)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Turizmus Magyarországon 2009". KSH előzetes adatok. สืบค้นเมื่อ 2010-02-23.[ลิงก์เสีย]แม่แบบ:Halott link
- ↑ "Látnivalók adatbázisa". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-12. สืบค้นเมื่อ 2017-01-18.