ศูนย์วิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
BME

ศูนย์วิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Biomedical Engineering Center, Chiang Mai University: BMEC CMU)

เป็นศูยน์วิจัยทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์แห่งแรกในภาคเหนือ หลังจากที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้มีงานวิจัยทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์มาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน จึงได้มีการก่อตั้งศูนย์วิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (BMEC) ขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2549 ภายใต้ความร่วมมือของทีมนักวิจัยจากหลายหน่วยงาน ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาทิ คณะวิศวกรรมศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์, คณะเทคนิคการแพทย์, คณะเภสัชศาสตร์, คณะเกษตรศาสตร์, คณะอุตสาหกรรมเกษตร, คณะทันตแพทยศาสตร์ และ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ซึ่งมีผลงานการวิจัยที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติ โดยมีเป้าหมายในการสร้างนักวิจัยในระดับปริญญาโทและเอก ที่จะสามารถสร้างผลงานวิจัยนำไปใช้ในหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อยกระดับการบริการด้านสุขภาพของไทย ให้มีประสิทธิภาพและทั่วถึง


หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน[แก้]

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตรที่ออกแบบเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีในมุมมองของวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์ ทั้งในห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ โดยเน้นหนักในการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์เป็นหลักในการนาไปประยุกต์ใช้ในงานทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งในหลักสูตรนี้มุ่งเน้นที่จะพัฒนาบัณฑิตให้มีความสามารถในการทาวิจัยทางด้านBiomechanics, Medical Signal and Image Processing, Bioinformatics, Cell and Tissue Engineering, Cardiac Electrophysiology และ Biomaterial ทั้งนี้รวมถึงการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษามีทักษะทางด้านภาษา และมีความสามารถในการสื่อสารที่ดี รวมทั้งมีความเข้าใจทางด้านวัฒนธรรมต่างสังคม และการเรียนรู้ตลอดชีวิต หลักสูตรนี้จะช่วยให้มีการพัฒนา อุปกรณ์ทางการแพทย์ขึ้นใช้ได้เองในประเทศ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการนาเข้า และบารุงรักษาอุปกรณ์เหล่านี้ และยังได้อุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่เหมาะสมกับสรีระของคนไทย และสิ่งแวดล้อมภายในประเทศอีกด้วย

ทุนการศึกษา[แก้]

มีการให้ทุนการศึกษาจำนวน 2 ทุนแก่นักศึกษาระดับปริญญาโท โดยพิจารณาจากผลการเรียน สำหรับทุนการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาเอกจะพิจารณาจากผลงานตีพิมพ์

ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและองค์กรต่างๆ[แก้]

ศูนย์วิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและองค์กรต่างๆภายในประเทศ ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศอีกด้วย ได้แก่ Kagawa University, Mie University, Kyushu Kyoritsu University ในประเทศญี่ปุ่น University of New South Wales และ University of Queensland ในประเทศออสเตรเลีย Columbia University, University of Missouri-Columbia, University of Pittsburgh, Texas A&M University ในประเทศสหรัฐอเมริกา และ University College London และ Imperial College London ในประเทศสหราชอาณาจักร ฯลฯ โดยเป็นความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา นักวิจัย และอาจารย์ รวมถึงการเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม

การให้บริการ[แก้]

ศูนย์วิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดโครงการฝึกอบรมสัมมนาทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริม และแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ การกระชับความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศ โดยได้จัดกิจกรรมอาทิเช่น การอบรมสัมมนาเรื่อง Tutorial on Advanced Topics in Rehabilitation, การอบรมสัมมนาเรื่อง Tutorial on Advanced Topics in MRI Images, การอบรมสัมมนาเรื่อง Tutorial on Advanced Topics in Physiological Optics, การอบรมสัมมนาเรื่อง International Networking of Young Scientists (INYS), การอบรมสัมมนาเรื่อง Computational Intelligence in Biomedical Engineering และ การนาเสนอเทคโนโลยีของเครื่อง Atomic Force Microscope (AFM) และการประยุกต์ใช้กับงานวิจัยในด้านต่างๆ นอกจากนั้น บุคลากรจากศูนย์วิศวกรรมชีวการแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยังได้รับการเชิญเพื่อทาหน้าที่เป็นวิทยากรรับเชิญในงานต่างๆ เช่น การประชุมประจาปีของสมาคมแพทยศาสตร์สารสนเทศไทย การประชุมวิชาการระดับชาติเรื่อง Medical Data Standard Expo และการอบรมสัมมนาเรื่อง Computational Science in Biomedicine ฯลฯ ทางศูนย์ฯ ยังได้ให้บริการแก่ชุมชน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น การให้บริการตรวจเช็คสุขภาพเบื้องต้น การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด และการตรวจหาพาหะการเป็นโรคธาลัสซีเมีย ในงาน BMEC Road Show ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 500 รายต่อปี

ห้องปฏิบัติการ[แก้]

เนื่องด้วยศูนย์วิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกิดจากความร่วมมือของหลายหน่วยงาน ดังนั้นจึงมีห้องปฏิบัติการร่วมในหลายส่วน อาทิ

หน่วยงาน คณะ
ห้องปฏิบัติการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ Biomedical Engineering Laboratory (BME) คณะวิศวกรรมศาสตร์
ห้องวิจัยความฉลาดทางการคำนวณ Computational Intelligence Research Laboratory (CI) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มช.
ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ Cardiac Electrophysiology Research and Training Center (CERT) คณะแพทยศาสตร์ มช.
หน่วยวิจัยการออกแบบและเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง Design & Development of Advanced Manufacturing Research Unit (DDRU) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มช.
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววัสดุและเครื่องมือแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
ห้องปฏิบัติการตรวจตัวชี้วัดภาวะออกซิเดทีฟเสตส (Laboratory for Investigation of Biomarkers of Oxidative Stress) คณะแพทยศาสตร์ มช.
ห้องปฏิบัติการเซลล์เชื้อเพลิง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มช.
ห้องปฏิบัติการยาเม็ด-ยาฉีด คณะเภสัชศาสตร์ มช.
คลินิกรังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล คณะทันตแพทยศาสตร์ มช.
ศูนย์สัตว์ทดลอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มช.
ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพสัตว์ ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มช.
ห้องปฏิบัติการ Medical Imaging ศูนย์บริการ เอ็ม อาร์ ไอ คณะเทคนิคการแพทย์ มช.
คลัสเตอร์วิจัยกระบวนการชีวภาพ (Bioprocess Research Cluster: BRC) คณะอุตสาหกรรมเกษตร มช.