ศาสนาฮินดูกับกลุ่มแอลจีบีที

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หิชรา

มุมมองของศาสนาฮินดูต่อกลุ่มแอลจีบีทีอย่างเกย์, เลสเบียน, รักร่วมสองเพศ, และกะเทยต่างมีความเชื่อที่หลากหลาย และกลุ่มฮินดูศาสนิกชนต่างมีมุมมองของตนเอง คัมภีร์ฮินดูบางเล่มบันทึกว่ารักร่วมเพศเป็นประสบการณ์ธรรมชาติและสนุกสนาน[1] กามสูตรยืนยันและยอมรับการมีความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน[2] และมีวัดในฮินดูแกะสลักประติมากรรมการร่วมเพศระหว่างชายรักร่วมเพศและหญิงรักร่วมเพศ[3] คัมภีร์พระเวทไม่ได้ระบุถึงการห้ามรักร่วมเพศ และมีเทพเจ้าในศาสนาฮินดูที่ไม่สามารถกำหนดลักษณะเพศได้ โดยถูกจัดว่าเป็นกลุ่มหลายหลายทางเพศ[4][5] ความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันและการเบี่ยงเบนทางเพศมักปรากฏในศาสนาฮินดูนับตั้งแต่ยุคพระเวทจนถึงยุคใหม่ โดยพบในพิธีกรรม, ตำรา, ข้อบัญญัติ, ตำนานทางศาสนา, และตำนานมุขปาฐะ หรือแม้แต่รูปสลัก

คัมภีร์อรรถศาสตร์ (Arthaśāstram) บัญญัติให้รักร่วมเพศเป็นสิ่งที่ผิด และถือเป็นการละเว้นการครองพรหมจรรย์ (อย่างไรก็ตาม หมายความรวมถึงการมีสัมพันธ์กับเพศตรงข้ามด้วย) คัมภีร์ธรรมศาสตร์ (Dharmashastra) ไม่ได้ถือว่าการรักร่วมเพศเป็นสิ่งที่ผิดแต่ไม่ถูกทำนองคลองธรรม โดยไม่มีการบัญญัติชัดเจนในแง่ศาสนาและศีลธรรม คัมภีร์มนูสมฤติ (Manusmṛiti) ถือว่ารักร่วมเพศต้องปฏิบัติในเกวียนที่ลากด้วยวัวในฐานะสิ่งโสมมในการประกอบพิธีกรรม เพราะพราหมณ์ต้องชำระให้บริสุทธิ์ด้วยการจุ่มน้ำพิธีกรรม[6]

ในปี พ.ศ. 2552 ศาลสูงสุดแห่งเมืองนิวเดลีพิพากษายกฟ้องรักร่วมเพศไม่ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่ศาลสูงสุดอินเดียกลับคำพิพากษา[7] ศาลสูงสุดอินเดียซึ่งมีคำพิพากษาในภายหลังในปี พ.ศ. 2561 ได้กลับคำพิพากษาก่อนหน้านี้และตัดสินให้การมีเพศสัมพันธ์และความสัมพันธ์แบบรักร่วมเพศเป็นความผิดอาญา[8] นักบวชฮินดูบางคนได้ประกอบพิธีแต่งงานเพศเดียวกันภายในวัดฮินดูด้วย[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. Bonvillain, Nancy (2001). Women and men: cultural constructs of gender. Prentice Hall. p. 281. ISBN 978-0-13-025973-8.
  2. Cush, Denise; Robinson, Catherine; York, Michael (2012-08-21). Encyclopedia of Hinduism (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 354. ISBN 978-1-135-18978-5.
  3. Keene, Manu (2002). Religion in Life and Society. Folens Limited. p. 58. ISBN 978-1-84303-295-3.
  4. Cousins, L.H. (2014). Encyclopedia of Human Services and Diversity. SAGE Publications. p. 1158. ISBN 978-1-4833-4665-6. สืบค้นเมื่อ 2023-04-04.
  5. Devor, Aaron; Haefele-Thomas, Ardel (2019-02-15). Transgender: A Reference Handbook (ภาษาอังกฤษ). ABC-CLIO. p. 16. ISBN 978-1-4408-5691-4.
  6. Puri, Jyoti (2002-09-11). Woman, Body, Desire in Post-Colonial India: Narratives of Gender and Sexuality (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 180. ISBN 978-1-135-96266-1.
  7. Monalisa (11 December 2013). "Supreme Court upholds Section 377 criminalizing homosexual sex". Livemint.
  8. "India court legalises gay sex in landmark ruling". BBC. 6 September 2018. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  9. Endsjø, D.Ø. (2012). Sex and Religion: Teachings and Taboos in the History of World Faiths. Espiritualidad y religión. Reaktion Books. p. 164. ISBN 978-1-86189-988-0. สืบค้นเมื่อ 2023-04-05.

หนังสืออ่านเพิ่มเติม[แก้]

  • Gandhi's Tiger and Sita's Smile: Essays on Gender, Sexuality and Culture by Ruth Vanita. Yoda Press, 2005.
  • Homosexuality and World Religions by Arlene Swidler. Trinity Press International.
  • Love's Rite: Same-Sex Marriage in India and the West by Ruth Vanita. Penguin Books India, 2005.
  • Neither Man Nor Woman: The Hijras of India by Serena Nanda. Wadsworth Publishing Co., 1999.
  • Same-Sex Love In India: Readings from Literature and History by Ruth Vanita and Saleem Kidwai. Palgrave, 2001.
  • The Complete Kama Sutra by Alain Danielou. Park Street Press, 1994.
  • The Man Who Was a Woman and Other Queer Tales from Hindu Lore by Devdutt Pattanaik. Harrington Park Press, 2002.
  • Third Sex, Third Gender: Beyond Sexual Dimorphism in Culture and History by Gilbert Herdt. Zone Books, 1993.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]