ศาสนาอิสลามในประเทศญี่ปุ่น
ประวัติศาสตร์ของ ศาสนาอิสลามในประเทศญี่ปุ่น ปรากฏขึ้นไม่นานเมื่อเทียบกับการมีอยู่ของศาสนาอื่น ๆ ในประเทศใกล้เคียงอย่างยาวนาน ศาสนาอิสลามเป็นหนึ่งในศาสนาชนกลุ่มน้อยในประเทศญี่ปุ่น โดยมีผู้นับถือประมาณร้อยละ 0.15 จากประชากรทั้งหมดใน ค.ศ. 2020[1][2] ปัจจุบัน มุสลิมอาศัยอยู่กันเป็นชุมชนผู้อพยพส่วนใหญ่ และชุมชนชาวญี่ปุ่นส่วนน้อย[3]
ประวัติ
[แก้]ช่วงต้น
[แก้]มีบันทึกเกี่ยวกับการติดต่อระหว่างอิสลามกับญี่ปุ่นก่อนการเปิดประเทศใน ค.ศ. 1853[4] มุสลิมบางส่วนอาจเดินทางมาในศตวรรษก่อนหน้า แม้ว่าจะอยู่ในชุมชนแบบบโดดเดี่ยวก็ตาม องค์ประกอบปรัชญาอิสลามบางส่วนได้รับการกลั่นกรองย้อนไปถึงยุคเฮอัง ผ่านแหล่งข้อมูลจากจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[5]
ประชากร
[แก้]ใน ค.ศ. 1941 หนึ่งในผู้สนับสนุนหลักของมัสยิดโตเกียวยืนยันว่ามีมุสลิมในประเทศญี่ปุ่น 600 คน ในจำนวนนี้มี 3 หรือ 4 คนที่เป็นชาวญี่ปุ่น[6] ข้อมูลบางส่วนระบุว่ามีมุสลิมถึง 30,000 คน (ครึ่งหนึ่งเป็นคนในประเทศ) ใน ค.ศ. 1982[7] ในกลุ่มมุสลิมเชื้อสายญี่ปุ่น ส่วนใหญ่น่าจะเป็นหญิงชาวญี่ปุ่นที่แต่งงานกับชายมุสลิมที่อพยพเข้ามาในช่วงที่เศรษฐกิจบูมในคริสต์ทศวรรษ 1980 แต่มีปัญญาชนจำนวนหนึ่ง (รวมถึงศาสตราจารย์มหาวิทยาลัย) เข้ารับอิสลาม[8][9] ข้อมูลประมาณการส่วนใหญ่ระบุประชากรมุสลิมในขอบเขตประมาณ 100,000 คน[7][9][10] ศาสนาอิสลามยังคงเป็นศาสนาชนกลุ่มน้อยในประเทศญี่ปุ่น และไม่มีหลักฐานว่ามีจำนวนผู้นับถือเพิ่มขึ้นหรือไม่ การเข้ารับศาสนาส่วนใหญ่พบในกลุ่มหญิงสาวชาวญี่ปุ่นที่แต่งงานแล้ว ตามข้อมูลที่อ้างโดย The Modern Religion ในคริสต์ทศวรรษ 1990[8]
ขนาดที่แท้จริงของประชากรมุสลิมในญี่ปุ่นในปัจจุบันยังคงเป็นการคาดคะเน นักวิชาการชาวญี่ปุ่นอย่างฮิโรชิ โคจิมะ จาก National Institute of Population and Social Security Research และเคโกะ ซากูไร จากมหาวิทยาลัยวาเซดะ กล่าวแนะว่ามีประชากรมุสลิมประมาณ 70,000 คน ในจำนวนนี้ ประมาณ 90% เป้นพลเมืองต่างชาติ และประมาณ 10% เป็นชาวญี่ปุ่น[3][9] ในกลุ่มผู้อพยพเข้า เรียงตามประชากรจากมากไปน้อยได้เป็น ชาวอินโดนีเซีย อินเดีย ปากีสถาน และบังกลาเทศ[9] The Pew Research Center ประมาณการว่ามีมุสลิมในญี่ปุ่น 185,000 คนใน ค.ศ. 2010[11] ส่วนใน ค.ศ. 2019 มีการประมาณการว่ามีมุสลิมเพิ่มขึ้นถึง 230,000 คน เนื่องจากนโยบายที่เป็นมิตรต่อผู้อพยพ มีชาวญี่ปุ่นเปลี่ยนศาสนาประมาณ 50,000 คน และมีมัสยิดในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 110 แห่ง จาก 24 แห่งใน ค.ศ. 2001[12] ใน ค.ศ. 2020 มุสลิมในประเทศญี่ปุ่นเกือบครึ่งหนึ่งเป็นชาวอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย[13]
ประชากรมุสลิมที่มีอายุน้อยบ่งชี้ว่าจะมีประชากรมุสลิมถาวรในรุ่นที่สองและสาม[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://www.thearda.com/world-religion/national-profiles?u=117c
- ↑ "Ever growing Muslim community in the world and Japan".
- ↑ 3.0 3.1 Yasunori, Kawakami; JapanFocus.org (May 30, 2007). "Local Mosques and the Lives of Muslims in Japan". JapanFocus.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-14. สืบค้นเมื่อ 27 December 2008.
- ↑ Obuse, Keiko. "Islam in Japan". Oxford Bibliographies (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-09-22.
- ↑ Takahashi (2021). "Islamophobia in Japan: A Country at a Crossroads". Islamophobia Studies Journal. 6 (2): 167–181. doi:10.13169/islastudj.6.2.0167. JSTOR 10.13169/islastudj.6.2.0167. S2CID 239198369.
- ↑ R&A No. 890 1943, p. 1
- ↑ 7.0 7.1 E. Farah, Caesar (25 April 2003). Islam: Beliefs and Observations. Barron's Educational Series; 7th Revised edition. ISBN 978-0-7641-2226-2.
- ↑ 8.0 8.1 Y. Nakano, Lynne; Japan Times Newspaper (November 19, 1992). "Marriages lead women into Islam in Japan". Japan Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-25. สืบค้นเมื่อ 27 December 2008.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 Penn, Michael. "Islam in Japan". Harvard Asia Quarterly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2007. สืบค้นเมื่อ 28 December 2008.
- ↑ International Religious Freedom Report 2008 - Japan
- ↑ "Table: Muslim Population by Country". Pew Research Center. 27 January 2011. สืบค้นเมื่อ 19 March 2017.
- ↑ "The number of Muslims in Japan is growing fast". The Economist. 7 January 2021. สืบค้นเมื่อ 9 January 2021.
- ↑ Barber, B. Bryan (2020). Japan's Relations with Muslim Asia. Palgrave Macmillan. p. 227.
- ↑ "Why Islam Is The Fastest-Growing Religion In Japan". Medium. 2 February 2021. สืบค้นเมื่อ 6 October 2021.