ศาลเจ้าซุยเต็น (โตเกียว)

พิกัด: 35°41′01″N 139°47′06″E / 35.68361°N 139.78500°E / 35.68361; 139.78500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Suiten-gū
水天宮
ศาลเจ้าในปัจจุบัน (สร้างใหม่ในปี 2016)
ศาสนา
ศาสนาShinto
เทพอาเมะ โนะ มินาคานูชิ (ในฐานะพระพิรุณ)
จักรพรรดิอันโตกุ
เคนเรน มอนอิน
นี โนะ อามะ
ที่ตั้ง
ที่ตั้ง2-4-1 นิฮงบาชิ คาคิการาโช, เขตชูโอ
โตเกียว 103-0014
ศาลเจ้าซุยเต็น (โตเกียว)ตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ศาลเจ้าซุยเต็น (โตเกียว)
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัดภูมิศาสตร์35°41′01″N 139°47′06″E / 35.68361°N 139.78500°E / 35.68361; 139.78500
สถาปัตยกรรม
เริ่มก่อตั้ง1818
เว็บไซต์
www.suitengu.or.jp

ศาลเจ้าซุยเต็น (ญี่ปุ่น: 水天宮โรมาจิSuiten-gū) คำว่า "ซุยเต็นกู" นั้นแปลตามตัวอักษรได้ว่า "วังของเทพแห่งน้ำ" หรือ "วังแห่งซุยเต็น" เป็นศาลเจ้าที่อุทิศให้แด่เทพเจ้าดังต่อไปนี้:

คำว่า "ซุยเต็น" นั้นหมายถึงชื่อเทพเจ้าฮินดู พระพิรุณ ในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในเทพเจ้าฮินดูที่ถูกนำมาเผยแผ่ในประเทศญี่ปุ่นพร้อม ๆ กับศาสนาพุทธ[หมายเหตุ 1] จนเมื่อจักรวรรดิญี่ปุ่นได้สั่งการให้มีนโยบายแยกศาสนาชินโตกับศาสนาพุทธออกจากกัน (神仏分離) ทำให้ศาลเจ้าถูกแยกออกเป็นของสองศาสนา โดยศาลเจ้าที่นับถือซุยเต็นได้ระบุว่าตนนั้นนับถืออาเมะ โนะ มินาคานูชิ[4]

ศาลเจ้าซุยเต็นตั้งอยู่ที่เขตชูโอ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ถูกกล่าวขานในเรื่องของความคิด มโนภาพและการคลอดบุตรอย่างปลอดภัย ย้อนกลับไปในปี 1818 ไดเมียวคนที่เก้าแห่งแคว้นคูรูเมะได้สั่งให้มีการก่อสร้างศาลเจ้าซุยเต็นขึ้นมาในยุคเอโดะเพื่อให้เป็นศาลเจ้าย่อย ๆ ของศาลเจ้าอีกแห่งหนึ่งในชื่อเดียวกันในนครคูรูเมะ จังหวัดฟูกูโอกะ โดยศาลเจ้านี้ตั้งอยู่ภายในคฤหาสน์ของแคว้นบริเวณอำเภอมิตะ ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเขตมินาโตะ โตเกียว และทางแคว้นเปิดให้ผู้คนเข้าชมได้ทุกวันที่ห้าของเดือน ต่อมาในปี 1871 ตระกูลอะริมะได้ย้ายจากอำเภอมิตะไปยังอากาซากะ และได้ย้ายศาลเจ้าตามไปด้วย จนกระทั่งในปีถัดมา พวกเขาก็ได้ย้ายศาลเจ้าไปยังตำแหน่งปัจจุบัน ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของหนึ่งในคฤหาสน์ของตระกูล

สถานีซุยเทนกูมาเอะ เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินใกล้ ๆ ซึ่งชื่อของสถานีนี้นำมาจากชื่อของศาลเจ้า ในประเทศญี่ปุ่น มีศาลเจ้าที่มีชื่อเดียวกันอีกว่า 25 แห่ง

หมายเหตุ[แก้]

  1. นอกเหนือจากพระพิรุณแล้วยังมี พระอินทร์ (ญป. ไทชาคุเต็น), พระอัคนี (คะเต็น), พระยม (เอ็มมะเต็น), พระนิรฤติ (ราเซ็ตสึเต็น), พระพาย (ฟูเต็น), พระอีสาน (อิชานาเต็น), ท้าวกุเวร (ทามอนเต็น), พระพรหม (บอนเต็น), พระแม่ปฤถวี (ชิเต็น), พระอาทิตย์ (นิตเต็น), พระจันทร์ (กัตเต็น).[1][2][3]

References[แก้]

  1. Willem Frederik Stutterheim et al (1995), Rāma-legends and Rāma-reliefs in Indonesia, ISBN 978-8170172512, pages xiv–xvi
  2. S Biswas (2000), Art of Japan, Northern, ISBN 978-8172112691, page 184
  3. Adrian Snodgrass (2007), The Symbolism of the Stupa, Motilal Banarsidass, ISBN 978-8120807815, pages 120-124, 298-300
  4. "Tokyo Suitengu monogatari" 1985 Kodansha, ISBN 406202117X