วิทยบูรณากร ไอซีที.

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิทยบูรณากร ไอซีที. คือบุคคลที่ได้รับการพัฒนาโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ ให้มีความรู้ความสามารถใน 3 ด้านหลักๆ คือ ความรู้ความสามารถ1.ด้านการจัดการเรียนการสอนและการฝึกอบรม 2.การจัดการโครงการ และ 3. การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่าย ซึ่งต้องนำมาบูรณาการความรู้เข้าด้วยกัน เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2549 และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในโครงการจัดหาคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการศึกษา[1]ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนั้นคำว่าวิทยบูรณากร ไอซีที. จึงเป็นคำที่เกิดขึ้นมาจาก (วิทยากร + บูรณาการ + ไอซีที.)

หลักการของการก่อกำเนิดวิทยบูรณากร ไอซีที.[แก้]

การศึกษาเป็นพื้นฐานที่จะทำให้มนุษย์พัฒนาขึ้น เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์(คำกล่าวของ พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตโต) ไม่มีอะไรสามารถสอนให้มนุษย์พัฒนาได้ดีกว่ามนุษย์ แต่มนุษย์ที่มีความเชี่ยวชาญ มีความเป็นครูสามารถถ่ายทอดเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์ในประเทศไทยยังมีน้อยไม่พอเพียง ทำอย่างไรที่จะแก้ไขความไม่พอเพียงดังกล่าวให้ได้ในระยะเวลาอันสั้น เป็นแนวคิดหลักของการแทรกสอดเทคโนโลยีทางด้านเทคนิคศึกษา เข้ามา ใช้ในการเรียนการสอน[2] ภาครัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องจึงพยายามระดมความคิดหาทางแก้ไขและทางออก ที่จะทำอย่างไรให้เยาวชนของชาติไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่แห่งหน ตำบลไกล ได้มีโอกาสจะได้รับการถ่ายทอดความรู้จากครูที่มีความสามารถสูงทัดเทียมกัน เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นการผสานเข้าเป็นหนึ่งเดียวระหว่าง เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสาร จึงเป็นทางเลือกแรกๆ ที่ถูกนำมาใช้แก้ปัญหาข้างต้น หากว่าโดยธรรมชาติของบุคลากรครูในปัจจุบันของประเทศนั้น ยังมีน้อยที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศส่งไปยังโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล ฉับพลัน ทันด่วน อาจจะเกิดปัญหาสืบเนื่องมามากมาย ต้องมีพี่เลี้ยงที่จะเข้ามาคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งผู้ดูแลดังกล่าวต้องกอรปด้วยความสามารถ

โครงสร้างของ วิทยบูรณากร ไอซีที.

กระบวนการพัฒนาให้บุคลากรสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.)ให้เป็นวิทยบูรณากร ไอซีที.[แก้]

หลักสูตร ที่ใช้พัฒนาบุคลากร ให้มีความสามารถจนเป็นวิทยบูรณากรไอซีทีนั้นเป็นหลักสูตรที่ต้องเข้ารับการอบรมรวมทั้งสิ้น 70 ชั่วโมง แบ่งเป็น ความรู้ความสามารถด้านการจัดการเรียนการสอน และการฝึกอบรมรวม 17 ชั่วโมง ความรู้ความสามารถด้านบริหารโครงการรวม 10 ชั่วโมง และความรู้ความสามารถด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายรวม 42 ชั่วโมง[3]

รายละเอียดเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอน และการฝึกอบรม[แก้]

โดยพื้นฐานของบุคลากร สังกัด สพฐ. จะมีความรู้ที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเป็นพื้นฐาน ซึ่งโดยส่วนใหญ่คุ้นเคยและเชี่ยวชาญกับวิชาสามัญเป็นพิเศษ หากแต่การดำเนินตามโครงการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต บุคลากรดังกล่าว

รายละเอียดเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการโครงการ[แก้]

รายละเอียดเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่าย[แก้]

จำนวนวิทยบูรณากร ไอซีที. รุ่นแรก[แก้]

วิทยบูรณากร ไอซีที. รุ่นแรกเกิดขึ้นโดยคณะกรรมการฯ[4]และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมายให้สำนักนโยบายและแผน สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ทำงานร่วมกับ กับ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ[2]ในการประชุมกำหนดหน้าที่ จำนวน และกระบวนการพัฒนา ข้อสรุปเกี่ยวกับจำนวนในครั้งแรกนั้น คณะกรรมการฯ ร่วมกำหนดให้มีขึ้นจำนวน 175 คน ประจำใน 175 เขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียนจำนวนประมาณ 32,000 โรงเรียน ยกเว้นกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดภูเก็ต ซึ่งสำนักงานปกครองส่วนท้องถิ่นได้แก่ กรุงเทพมหานคร และองค์การบริหารส่วนจังหวัดของอีกสองจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาเองทั้งสิ้น[5]โดยมีกรอบการดำเนินงานหลักตอนต้นคือ จัดซื้อคอมพิวเตอร์จำนวน 250,000 เครื่องและบริหารจัดการพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่ครูในโรงเรียนที่ได้รับการจัดสรร[6]

หน้าที่ที่วิทยบูรณากร ไอซีที.ได้รับมอบหมาย[แก้]

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดให้วิทยบูรณากร ไอซีที. เป็นผู้มีหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ดูแลการจัดซื้อ การฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการจัดซื้อระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

หน้าที่ของ วิทยบูรณากร ไอซีที.

การดำเนินการของวิทยบูรณากร ไอซีที. ในลำดับแรกจะทำหน้าที่ประสานงานระหว่าง สพฐ. และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจำนวน175เขตพื้นที่การศึกษา

สภาพปัจจุบันของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศไทย[แก้]

ตั้งแต่ในอดีตจนกระทั่งปี 2548 จำนวนคอมพิวเตอร์จำนวนคอมพิวเตอร์ที่รัฐบาลจัดสรรให้แก่โรงเรียนในสังกัด และการรับบริจาคโดยภาคเอกชนมีจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 120,000 เครื่อง คิดเป็นอัตราส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อจำนวนนักเรียนในระดับก่อนอุดมศึกษาคือ 1:61 [6] ในขณะที่อัตราส่วนที่ควรจะเป็นคืออัตราส่วนประมาณ 1:20 (มาตรฐานประกันคุณภาพ สมศ.)นอกจากจะจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วรัฐบาลยังได้เริ่มติดตั้งข่ายงานอินเทอร์เน็ตให้แก่สถานศึกษาตั้งแต่ปีงบประมาณ2546โดยมีทั้งการเชื่อมต่อผ่านคู่สายโทรศัพท์ และเชื่อมต่อผ่านดาวเทียม ซึ่งในปีงบประมาณ2546 ปรากฏค่าใช้จ่ายสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของ สพฐ.คือ 96 ล้านบาท ต่อปี กระทั่งในปีงบประมาณ 2548 งบประมาณดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นเป็น 1200 ล้านบาท ต่อปี [2]

ภาคเหนือ[แก้]

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[แก้]

ภาคกลางและภาคตะวันตก[แก้]

ภาคใต้[แก้]

สำหรับภาคใต้สภาพของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนมีระดับแตกต่างกันหลายระดับ จังหวัดที่มีความพร้อมมากที่สุดคือจังหวัดภูเก็ต เนื่องจากองค์การบริหาส่วนจังหวัดเข้ามารับผิดชอบการจัดหาคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตทั้งหมด ทุกโรงเรียน

การปฏิบัติงาน ของวิทยบูรณากร ไอซีที.[แก้]

ปัจจุบันมีวิทยบูรณากร ไอซีที. ประจำอยู่ในทุก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

อ้างอิง[แก้]

  1. มติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2548 เรื่องโครงการลงทุนขนาดใหญ่ภาครัฐ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
  2. 2.0 2.1 2.2 รายงานการประชุมคณะกรรมการโครงการจัดซื้อระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ครั้งที่ 1/2548 วันที่ 15 กันยายน 2548 เวลา 1000 ถึง 1200น อาคารราชวัลลภกระทรวงศึกษาธิการ
  3. [รายงานการประชุมคณะกรรมการโครงการจัดซื้อระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ครั้งที่ 5/2548 วันที่ 14 ธันวาคม 2548 เวลา 1045น ถึง 1345น อาคารราชวัลลภกระทรวงศึกษาธิการ]
  4. [คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 264/2548 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการศึกษา]
  5. [รายงานการประชุมคณะกรรมการโครงการจัดซื้อระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ครั้งที่ 4/2548 วันที่ 16 พฤศจิกายน 2548 เวลา 1600 ถึง 1800น อาคารราชวัลลภกระทรวงศึกษาธิการ]
  6. 6.0 6.1 รายงานการประชุมคณะกรรมการโครงการจัดซื้อระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ครั้งที่ 2/2548 วันที่ 5 ตุลาคม 2548 เวลา 1400 ถึง 1600น อาคารราชวัลลภกระทรวงศึกษาธิการ