วิกิพีเดีย:หลายแหล่งข้อมูล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิกิพีเดีย:ความโดดเด่น ระบุว่า "ไม่กำหนดจำนวนของแหล่งข้อมูลที่ต้องการ.... แต่ก็คาดหวังว่าจะมีแหล่งข้อมูลจากหลายแหล่ง" เพื่อให้ผ่านเกณฑ์ความโดดเด่น คำว่าหลายแหล่งก็ดูมีความคลุมเครือในนโยบายนี้ เพราะ "แหล่งข้อมูลก็ผันแปลไปกับคุณภาพและความลึกที่ครอบคลุม"

แม้ตามสามัญสำนึกที่ดูเข้มงวดที่สุด คำว่า "หลาย" จะหมายถึง "มากกว่าหนึ่ง" แต่ในบางกรณีก็มีความเป็นไปได้ที่จะทำให้โดดเด่นด้วยอ้างอิงจากสองแหล่ง โดยยึดจากมาตรฐานที่มีอยู่ของชุมชนวิกิพีเดีย การโต้แย้งเรื่องความโดดเด่นจะถูกปัดตกไปหาก มีแหล่งอ้างอิงสามแหล่งเชิงลึกจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้จากแหล่งที่อิสระต่อกัน เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องย้ำเรื่องคุณภาพของแหล่งอ้างอิงที่สามารถโต้แย้งได้อย่างเสมอ ผลของการโต้แย้งสำเร็จจะเป็นการลดจำนวน "แหล่งอ้างอิงเชิงลึกที่ดี"

เมื่อพิจารณาคุณภาพของแหล่งข้อมูล จะเป็นการดี (แต่ไม่ได้บังคับ) หากผู้เขียนและ/หรือสำนักพิมพ์ผู้เผยแพร่จะมีชื่อเสียงและมีบทความในวิกิพีเดียด้วย แต่หากผู้เขียนมีความเลื่องชื่อด้านการเขียนเรื่องพิเรน หรือสำนักพิมพ์ที่มีชื่อด้านการเป็นสื่อแท็บลอยด์ ก็จะเป็นการลดคุณภาพของแหล่งอ้างอิงนั้น

การใช้[แก้]

ขณะที่การมีอ้างอิงหลายแหล่งต้องมีการพิสูจน์ยืนยัน แต่แหล่งอ้างอิงหลายแหล่งก็ไม่จำเป็นต้องมีเสมอไปเพื่อแสดงความโดดเด่น วิกิพีเดียมีเกณฑ์ที่เรียกว่า "สันนิษฐานว่าโดดเด่น" ตัวอย่างของเกณฑ์ที่สันนิษฐานว่าโดดเด่น เช่น

  • วิกิพีเดีย:ความโดดเด่น (ดนตรี) เป็นเกณฑ์ที่สันนิษฐานว่าโดดเด่นสำหรับ "นักดนตรี นักแต่งเพลง อัลบัม ซิงเกิล และเพลง"
  • en:WP:ATHLETE เป็นเกณฑ์ที่สันนิษฐานว่าโดดเด่นสำหรับนักกีฬา
  • en:WP:POLITICIAN เป็นเกณฑ์ที่สันนิษฐานว่าโดดเด่นสำหรับนักการเมือง
  • en:WP:NACADEMIC เป็นเกณฑ์ที่สันนิษฐานว่าโดดเด่นสำหรับสถาบันการศึกษา
  • en:WP:NTV เป็นเกณฑ์ที่สันนิษฐานว่าโดดเด่นสำหรับรายการโทรทัศน์
  • en:WP:NFILM เป็นเกณฑ์ที่สันนิษฐานว่าโดดเด่นสำหรับภาพยนตร์

แหล่งอ้างอิงหลายแหล่งคงจำเป็นสำหรับการแสดงความโดดเด่นในกรณีที่ไม่มีเกณฑ์ความโดดเด่นเฉพาะ