วิกิพีเดีย:สารวิกิพีเดีย/07-2553/ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สารวิกิพีเดีย

สารวิกิพีเดีย

เปลี่ยนบอร์ด กูเกิลใช้โปรแกรมแปลภาษาเพิ่มเนื้อหาวิกิพีเดียขนาดเล็ก

ผู้ใช้:Horus 31 กรกฎาคม 2553, ก


เปลี่ยนบอร์ด

กรรมการบริหารมูลนิธิวิกิมีเดียชุดใหม่ รวมไปถึงประธานซึ่งกำลังพ้นจากตำแหน่ง มิเชล สโนว์ และหัวหน้าฝ่ายติดต่อสื่อสารของมูลนิธิ เจย์ วัลช์ (ขวา) ในงานวิกิเมเนียสัปดาห์ที่แล้ว

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม มูลนิธิวิกิมีเดียได้ประกาศการเปลี่ยนกรรมการบริหารมูลนิธิหลายตำแหน่ง

โฟบี อายเออรส์ และอาร์นี เคล็มเพิร์ตได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกบอร์ดมูลนิธิวิกิมีเดีย ตำแหน่งซึ่งได้รับเลือกโดยคณะ 2 ตำแหน่งได้รับการบรรจุโดยเคล็มเพิร์ตและมิเชล สโนว์ (ผู้ซึ่งทำหน้าที่ประธานบอร์ดเป็นเวลาสองปี) ซึ่งหมายความว่าสโนว์กำลังพ้นจากตำแหน่งในบอร์ด ทิง เชิน จะเป็นประธานคนใหม่

นี่เป็นครั้งแรกที่ใช้กระบวนการเลือกตำแหน่งโดยคณะเพื่อเลือกสมาชิกใหม่สองคน กระบวนการดังกล่าวถูกปกปิดเป็นความลับและผู้สมัครรับตำแหน่งมักจะไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจนกว่าจะมีการประกาศตัวออกมาเอง ตาม Q&A ในปีนี้มีผู้สมัครรับตำแหน่ง 9 คน ซึ่งมาจากการสมัครเองหรือถูกเสนอชื่อ โดยมี 2 คนขอถอนตัวออกระหว่างกระบวนการ

ภายในบอร์ดยังมีการเปลี่ยนแปลงตัวบางตำแหน่ง สจวต เวสต์จะดำรงตำแหน่งรองประธานบอร์ด แทนที่แจน-บาร์ต เดอ วรีดี ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งมาเป็นเวลากว่า 4 ปี ในขณะที่ซามูเอล เคล็น ดำรงตำแหน่งเลขานุการจากแคท วัลช์

ที่มา: Wikipedia Signpost/2010-07-12/News and notes

กูเกิลใช้โปรแกรมแปลภาษาเพิ่มเนื้อหาในวิกิพีเดียขนาดเล็ก

ในการนำเสนอที่การประชุมวิกิเมเนีย ตัวแทนของกูเกิลได้อธิบายว่าทำอย่างไรเป็นเวลากว่า 16 เดือนมาแล้ว ที่ "กูเกิลได้ทำงานร่วมกับมูลนิธิวิกิมีเดีย นักเรียนนักศึกษา ศาสตราจารย์ อาสาสมัครกูเกิล นักแปลที่ได้รับค่าตอบแทน และสมาชิกของประชาคมวิกิพีเดียเพื่อเพิ่มเนื้อหาของวิกิพีเดียในภาษาอารบิก กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน และภาษาสวาฮีลี"

สตีเฟน แชงค์แลนด์ แห่ง Cnet ได้เขียนในบล็อกของเขาว่า “ภารกิจของกูเกิลคือการจัดระเบียบข้อมูลของโลกและทำให้มันสามารถเข้าถึงได้อย่างทั่วถึง หากไม่จำเป็นจะต้องสร้างมันอย่างเปิดเผย นี่จะทำให้วิกิพีเดียเป็นหุ้นส่วนตามธรรมชาติ” กูเกิลวางแผนที่จะขยายบริการกับภาษาอารบิก กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน และภาษาสวาฮีลี ภาษาเหล่านี้มักจะไม่ค่อยมีทรัพยากรขนาดใหญ่บนเว็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยูนิโค้ด การเข้าถึงทรัพยากรเหล่านี้จะช่วยในการฝึกฝนของนักแปล “ชุดอุปกรณ์แปล” ของกูเกิลได้ช่วยในโครงการแปล และผลความคืบหน้าด้านความแม่นยำ

ในแถลงการณ์ซึ่งโพสต์เมื่อวันพุธ กูเกิลประกาศว่า:

เพื่อช่วยให้วิกิพีเดียมีประโยชน์มากยิ่งขึ้นต่อผู้พูดภาษาที่มีผู้พูดจำนวนน้อย เรากำลังทำงานร่วมกับอาสาสมัคร นักแปล และชาววิกิพีเดียตลอดทั่วอินเดีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา เพื่อแปลมากกว่า 16 ล้านคำจากวิกิพีเดียเป็นภาษาอารบิก ภาษาคุชราต ภาษาฮินดี ภาษากัณณาฑ ภาษาสวาฮีลี ภาษาทมิฬ และภาษาเตลูกู เราเริ่มความพยายามเหล่านี้ใน พ.ศ. 2551 เริ่มด้วยการแปลบทความวิกิพีเดียเป็นภาษาฮินดี ซึ่งเป็นภาษาของผู้ใช้อินเทอร์เนตกว่า 10 ล้านคน ในเวลานั้น วิกิพีเดียภาษาฮินดีมีทั้งหมดเพียง 3.4 ล้านคำ ใน 21,000 บทความ ในขณะที่วิกิพีเดียภาษาอังกฤษมี 1.3 พันล้านคำ ใน 2.5 ล้านบทความ เราเลือกบทความวิกิพีเดียโดยใช้หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันหลายชุด หนึ่ง เราใช้ข้อมูลค้นหาของกูเกิลเพื่อพิจารณาบทความจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษซึ่งมีผู้คลิกเข้าไปอ่านมากที่สุดในอินเดีย ผ่านทางกูเกิลเทรนดส์ เราค้นพบบทความที่มีผู้อ่านอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่ได้รับความนิยมชั่วคราว ในขั้นสุดท้าย เราใช้ชุดอุปกรณ์แปลภาษาเพื่อแปลบทความซึ่งยังไม่มีหรือบทความประเภท “โครง” ในวิกิพีเดียภาษาฮินดี ภายในเวลาสามเดือน เราได้ใช้ทั้งมนุษย์และชุดอุปกรณ์แปลภาษาเครื่องจักรแปลมากกว่า 600,000 คำ จากมากกว่า 100 บทความในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ซึ่งทำให้วิกิพีเดียภาษาฮินดีเติบโตขึ้นอีกเกือบร้อยละ 20 เราได้ดำเนินการกระบวนการดังกล่าวนี้ซ้ำในภาษาอื่นเพิ่มเติม เพื่อให้มีจำนวนคำที่เราแปลทั้งหมดถึง 16 ล้านคำ

ทว่าในอีกการนำเสนอหนึ่งที่วิกิเมาเนีย เอ. รวีชังก้า จากวิกิพีเดียภาษาทมิฬ ได้นำเสนอมุมมองวิพากษ์วิจารณ์ต่อกิจกรรมของกูเกิลบนโครงการ เนื่องจากมีข้อกังวลซึ่งอธิบายโดยรวีชังก้า (และได้ปรากฏบนเดอะนิวยอร์กไทมส์) รวมไปถึงข้อเท็จจริงที่ว่ากูเกิลไม่ได้ประกาศกิจกรรมของตนก่อนหน้าที่จะลงมือ – “ผู้ดูแลระบบของไซต์ค้นพบว่าจู่ ๆ ก็มีบทความโผล่ขึ้นมาจากที่ไหนก็ไม่ทราบ” การเลือกความคุ้มครอง และ “ความเลอะเทอะทางด้านภาษาและการเข้ารหัส” มีหน้าในวิกิพีเดียภาษาทมิฬซึ่งอธิบายเพิ่มเติมถึงปัญหาของการแปลของกูเกิลในวิกิพีเดียภาษาทมิฬ (ภาษาอังกฤษ) ในวิกิพีเดียภาษาเบงกาลี เนื้อหาซึ่งได้รับการจัดหาโดยกูเกิลถึงกับถูกลบเนื่องจากไม่เป็นไปตามมาตรฐานของประชาคม

ที่มา: Wikipedia Signpost/2010-07-19/News and notes

หน้าหลัก เกี่ยวกับ ความเห็น ขอรับรายเดือน กรุ