วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา/กรุ/วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์/ตุลาคม 2553

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คำถาม ตุลาคม 2553

การวัดค่าความหนืดเชิงจลน์ (Kinematic Viscosity) ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ทำไมต้องทำที่อุณหภูมินี้?

Kinematic Viscosity หรือ ความหนืดเชิงจลน์ ที่ 40 องศาเซลเซียส (เป็นมาตรฐานตาม ASTM ที่ใช้วัดน้ำมันดีเซล) อยากทราบว่า ทำไมต้องทำการวัดค่าความหนืดเชิงจลน์ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ด้วยคะ เหตุผลคืออะไร ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

--58.9.138.39 22:58, 3 ตุลาคม 2553 (ICT) Peach


จะวัดอะไรที่อุณหภูมิใด เพื่อเป็น reference point ตามมาตรฐานต่างๆ นั้นย่อมมีที่มาแน่นอน บางมาตรฐานจะใช้ อุณหภูมิห้อง RT= 15, 20, 25, 28, 30 องศาเซลเซียส (แล้วแต่ว่าประเทศอยู่แถวไหน) บางทีใช้ 273.15 K (จุดเยือกแข็งของน้ำ) สำหรับกรณีน้ำมันดีเซล ผมเดาว่าเป็นอุณหภูมิในห้องเครื่อง ซึ่งย่อมร้อนกว่าอุณหภูมิของบรรยากาศรอบๆ --taweethaも 12:57, 22 ตุลาคม 2553 (ICT)
อุณหภูมิห้องเครื่อง ไม่น่าจะใช่นะครับ เพราะปกติแล้ว จุดที่เหมาะแก่การเดินเครื่องที่สุดคือเมื่ออุณหภูมิน้ำหล่อเย็นอยู่ที่ 80 องศครับ นอกจากนี้นำมันดีเซลมีจุดวาบไฟ (Flash Point) อยู่ที่ราว ๆ 60 องศา (เบ็นซินอยู่ที่ประมาณ 95 องศา) ดังนั้น สมมติฐานที่ว่าอุณหภูมิห้องเครื่องไม่น่าจะใช้ แต่การใช้เป็น จุดอ้างอิงหน่ะถูกแล้วครับ แต่เพราะอะไร ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ จะให้ไปอ่านที่ตัวมาตรฐาน ผมก็ไม่แน่ใจว่าจะมีหรือเปล่าเหมือนกันครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 13:14, 22 ตุลาคม 2553 (ICT)
ปกติแล้วปัญหาของน้ำมันดีเซลในประเทศเขตหนาวคือ น้ำมันจะแข็งตัวได้ถ้าอากาศเย็นมาก - สำหรับในประเทศไทยก็อาจพอมีบ้าง ถ้ามันหนาวกว่าปกติ เพราะเราไม่ได้เข้มงวดมาตรฐานตรงนี้ - อันนี้น่าจะไม่เกี่ยวเพราะว่าเป็นค่ามาตรฐานอีกตัวนึง ค่ามาตรฐานที่ถามในคำถามนี้ เป็นความหนืดเชิงจลน์ หมายถึงขณะที่น้ำมันมีการเคลื่อนที่ ผมจึงมองว่าเป็นค่ามาตรฐานที่จำเป็นสำหรับอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าปั๊มและหัวฉีดจะได้ออกแบบมาให้รองรับ... คำว่าห้องเครื่องที่ผมกล่าวถึง ผมไม่ได้หมายถึงกระบอกสูบหรือห้องเผาไหม้ หรือ อะไรแถวนั้น แต่ผมหมายความว่า เปิดฝากระโปรงหน้ารถ (หรือท้ายรถ) มา เราจะเจออุปกรณ์ต่างๆ มากมาย ห้องนั่นแหละครับ ที่ผมคิดว่าอุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียส --taweethaも 13:24, 22 ตุลาคม 2553 (ICT)

ไอออกปากเมื่ออุณหภูมิเท่าไหร

--182.232.151.142 21:17, 14 ตุลาคม 2553 (ICT)

ขึ้นกับอุณหภูมิ ความดันบรรยากาศ และความชื้นสัมพัทธ์ของบริเวณนั้นครับ แต่การเกิดไอนั้น หมายความว่า อุณหภูมิ ความดัน และความชื้นมันพัทธ์นั้นเข้าใกล้จุดกลั่นตัว (dew point) ครับ แต่ถ้าอยากทราบข้อมูลที่ชัวร์ ๆ ให้เปิด ไซโครเมตริกซ์ ฉาร์ท (Psychrometrics) ครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 12:49, 22 ตุลาคม 2553 (ICT)

ทำไมน้ำมันที่ยังไม่ได้กลั่น(ที่ไม่ได้แต่งเติมสี)ถึงเปลี่ยนสีได้

น้ำมันที่ผลิตจากพลาสติก (คล้ายกับน้ำมันดิบที่นำไปกลั่นในโรงกลั่นปิโตรฯ) หรือน้ำมันดิบก่อนนำไปกลั่น น้ำมันเหล่านี้เมื่อเวลาผ่านไปทำไมสีของน้ำมันถึงเปลี่ยนได้

ขอลงรายละเอียดเล็กน้อยนะคะ อย่างน้ำมันที่โดนแสง ตามที่ตัวเองสังเกตุมานะคะ จากลำดับการเปลี่ยนสี บางขวดก็เห็นว่าสีมันเปลี่ยนจากเหลืองเป็นเหลืองเข้ม บางขวดก็เปลี่ยนเป็นสีอ่อนลง แต่ที่เพื่อนเคยสังเกตุน้ำมันของเค้ามา คือ ช่วงแรกๆพอเวลาผ่านไป สีเปลี่ยนจากเหลืองซึ่งเป็นสีในตอนแรกที่ผลิตได้ มาเป็นสีที่อ่อนลง และในระยะหลังต่อมา สีก็เปลี่ยนเป็นเข้มขึ้นเรื่อยๆๆๆ

ส่วนน้ำมันที่ไว้ในที่มืด จากที่ตัวเองสังเกตุมานะคะ มันเปลี่ยนสีเดิมจากสีเหลืองกลายเป็นสีน้ำตาล แล้วค่อยๆเข้มขึ้น

บอกตรงๆว่าเรื่องสี ถ้าจะสังเกตุให้ละเอียดโดยใช้สายตาก็ยากเหมือนกันค่ะ ลำดับเปลี่ยนสีมันเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบภายในน้ำมันรึเปล่าคะ ไม่แน่ใจว่าใครสังเกตุมาถูกต้อง เลยเล่ามาให้ละเอียดค่ะ

ประเด็นก็คือว่า อยากทราบว่าทำไมน้ำมันถึงเปลี่ยนสีไปตามที่เล่ามาหรือคะ อยากทราบเหตุผลค่ะ ยิ่งละเอียดก็ยิ่งดีค่ะ ท่านใดพอทราบ รบกวนช่วยตอบหน่อยนะคะ ขอความรู้ค่ะ มากน้อยก็ได้ ขอบคุณมากๆล่วงหน้าค่ะ


--58.9.154.168 01:06, 19 ตุลาคม 2553 (ICT)

อันนี้บอกตรง ๆ ว่า บอกได้ยากในเชิงรายละเอียด เพราะจริงจริงแล้ว น้ำมันเองก็มีหลายชนิด หลายเกรดเหมือนกันนะครับ ให้ข้อมูลมาเท่านี้ ถ้าไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญจริงจริงก็คงจะตอบยาก แต่หลักกว้าง ๆ ก้คือ แสงเข้ามาทำปฏิกิริยากับน้ำมันจนทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 12:46, 22 ตุลาคม 2553 (ICT)

อันว่าน้ำมันก็คือสารประกอบไฮโดรคาร์บอน สำหรับสารประกอบกลุ่มนี้ ถ้าอิ่มตัวแล้ว ย่อมจะไม่มีสี การที่มันมีสีเกิดแต่การที่มันมีพันธะคู่ พันธะสาม หรือวงแหวนอะโรมาติก / conjugation พันธะเหล่านี้ทำให้มันดูดกลืนแสงได้ และเมื่อมันดูดกลืนแสงเข้าไป ก็ทำให้ไปสู่ excited state และอาจเกิดปฏิกิริยาเคมีต่อไปได้ ได้สารตัวใหม่ สีก็จะเปลี่ยนไป โดยมากแล้วของที่โดนแดด สีมักจะซีดจางลง หากสีเกิดจากสารประกอบอินทรีย์ (หรือพูดง่ายๆ ว่าสารประกอบไฮโดรคาร์บอน) เพราะว่าพันธะคู่แตกออก และเกิดปฏิกิริยากลายเป็นพันธะเดี่ยวไป อย่างไรก็ดี บางครั้งปฏิกิริยาเหล่านี้เกิดไปในทิศทางที่ให้เกิด conjugation แม้จำนวนพันธะไม่อิ่มตัวจะไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่ conjugation effect ที่มากขึ้นจะทำให้ดูดกลืนแสงได้มากขึ้น หรือมีสีเข้มขึ้นนั่นเอง

น้ำมันที่กลั่นแล้วองค์ประกอบหลักเป็นไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว เพราะมันจะเผาไหม้ได้สมบูรณ์ ความจริงแล้วน้ำมันที่กลั่นแล้วควรไม่มีสีหรือสีจางมาก แต่บางทีเขาก็ใส่สีลงไปเพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ เช่น น้ำมันม่วง เป็นน้ำมันที่รัฐบาลช่วยอุดหนุนราคาขายให้กับเรือประมงเท่านั้น

ส่วนน้ำมันดิบ หรือน้ำมันที่ยังไม่ผ่านกระบวนการมีสารอินทรีย์อื่นๆ เจอปนอยู่มาก จึงมีสี และสารเหล่านี้ไม่เคยรับแสงแดดมาก่อน เมื่อเจอแสงก็ย่อมเกิดปฏิกิริยาดังกล่าวมาแล้วข้างต้น --taweethaも 13:57, 22 ตุลาคม 2553 (ICT)

สูตรและวิธีการคำนวณความแข็งแรงของกระจก

--58.10.152.183 13:50, 22 ตุลาคม 2553 (ICT)

ใช้สูตรหาค่าความเครียด ความเค้นธรรมดาเหมือนวัสดุอื่นทั่วไปครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 18:45, 22 ตุลาคม 2553 (ICT)