วิกฤตหนึ่งส่วนสี่ชีวิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิกฤตหนึ่งส่วนสี่ชีวิต (อังกฤษ: Quarter-life crisis) มักเกิดในช่วงอายุระหว่าง 20-30 ปี[1][2] เป็นช่วงที่คนตั้งคำถามเกี่ยวกับชีวิตตนเองเนื่องจากความเครียดที่เกิดจากการเริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่

ลักษณะ[แก้]

เอริค เอริคสัน ผู้คิดค้นทฤษฎีวิกฤตทั้งแปดที่มนุษย์เผชิญในระหว่างการพัฒนาได้กล่างถึงวิกฤตชีวิตที่เกิดขึ้นในวัยนี้ ความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับวัยหนุ่มสาวคือวิกฤตความใกล้ชิดกับความเหงา หลังจากการสร้างอัตลักษณ์ส่วนบุคคล คนหนุ่มสาวจะพยายามที่จะสร้างความสัมพันธ์แบบคู่รักกับคนอื่น ๆ[3] จากการศึกษาของ LinkedIn เกือบ 3 ใน 4 ของหนุ่มสาววัยทำงานในสหราชอาณาจักรเคยเผชิญวิกฤตหนึ่งส่วนสี่ชีวิต ทำให้พวกเขากลับมาวิเคราะห์อาชีพของตัวเองและทางเลือกในชีวิต มีความกดดันหลายอย่างในชีวิตที่วัยหนุ่มสาวต้องเจอที่นำไปสู่วิกฤต โดยสองเหตุหลักได้แก่การมีอสังหาริมทรัพย์และการหางานที่รัก (57%) และรองลงมาคือการหาคู่ชีวิต (47%) นักจิตวิทยาคลินิคอเล็กซ์ ฟอร์เกอร์ได้นิยามความหมายของวิกฤตหนึ่งส่วนสี่ชีวิตว่าเป็น ช่วงเวลาของความไม่มั่นคง ความสงสัยและความผิดหวังที่เกิดขึ้นจากอาชีพ ความสัมพันธ์ และสถานการณ์ทางการเงิน มักเกิดจากช่วงเวลาที่ต่อจ่ากการเปลี่ยนแปลงชาวงวัยรุ่น ที่บุคคลเริ่มมีความสงสัย ไม่แน่ใจในชีวิตของตนและเริ่มมีความเครียดจากการเข้าสู่วัยผู้ใหญ่วิกฤตหนึ่งส่วนสี่ชีวิตพบเห็นได้มากขึ้นเนื่องจาก มิลเลนเนียลประสบปัญหาด้านการเงินมากกว่าพ่อแม่ของตน และเป็นรุ่นแรกที่สถานะทางการเงินด้อยกว่ารุ่นพ่อแม่ การวิจัยพบว่า 31% ของ 2000 คนพบว่าตัวเองเสียเวลาไปกับงานที่ไม่ใช่ และกว่า 34% ได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ต่างประเทศ 35% เปลี่ยนสายงานโดยสิ้นเชิง และ 22% ลาออกโดยยังไม่มีงานใหม่ งานวิจัยอีกชิ้นพบว่าผู้หญิงมากกว่าผู้ชายที่รู้สึกไม่แน่ใจกับงานที่ทำอยู่ 61% ต่อ 56%[4] LinkedIn ได้สัมภาษณ์ผู้ที่มีอายุระหว่าง 25 ถึง 33 ปี จากประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย และอินเดียเพื่อหาว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้เกิดความสิ้นหวังในอาชีพและชีวิตของพวกเขา [5]การหางานที่รักเป็นเรื่องกังวลหลักของหนุ่มสาว ตามมาด้วยการเปรียบเทียบตัวเองกับเพื่อนที่ประสบความสำเร็จ และช่วงเวลานี้เอง คนส่วนใหญ่มักเปลี่ยนหน้าที่การงานและแผนชีวิต กว่า 1 ใน 3 เปลี่ยนหน้าที่และเปลี่ยนงานอย่างสิ้นเชิง 1 ใน 4 ตัดสินใจลาออกจากงานเพื่อคิดว่าอยากทำอะไร และ 1 ใน 10 เปลี่ยนจากงานประจำเป็นทำฟรีแรนซ์หรือรับงานเป็นโปรเจค[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Jessica Girdwain. "How to Survive a Quarter-Life Crisis". SELF.
  2. "Most 25 to 35-year-olds suffering from a 'quarter-life crisis'". Daily Mail.
  3. Erikson, Erik H. (1968). Identity: Youth and Crisis. New York: W. W. Norton.
  4. "The age you are most likely to have a quarter life crisis". Independent.
  5. "New Research: The No.1 Reason Why Millennials Encounter a Quarter-Life Crisis". Inc.[ลิงก์เสีย]
  6. "Encountering a Quarter-life Crisis? You're Not Alone…". Linkedin.