วัวลาน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
วัวลาน หรือ วัวระดอก เป็น การละเล่นพื้นบ้านในภาคกลางของไทย โดยใช้วัวพันธุ์ไทย มักจะเล่นในเวลากลางคืน เนื่องจากผู้เล่นส่วนใหญ่เป็นชาวนาที่ทำงานในตอนกลางวัน การเล่นวัวลานใช้วัวที่มีอายุประมาณ 5-9 ปี วัวแต่ละตัวจะมีเครื่องประดับวัวที่สวยงาม สำหรับสถานที่เล่นวัวลานนั้น นิยมเล่นกันในผืนนาที่ร้างไม่มีการทำนาหรือที่บริเวณกว้างและเรียบ
ประวัติ
[แก้]การปลูกข้าวอาชีพหลักของคนไทยส่วนใหญ่ และชาวนาไทยก็ได้อาศัยแรงงานจากวัวไถคราด และงานอื่นๆ นอกผืนนา เช่น งานนวดข้าว ทำนาโดยใช้แรงงานจากวัว มานานถึงประมาณ 5,000 ปี เพราะวัวเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างใหญ่ มีแรงมาก เชื่อง ฝึกง่าย และกินหญ้าและฟาง วัวที่ใช้งานส่วนใหญ่ จะเป็นวัวตัวผู้ที่ตอนแล้ว ส่วนวัวตัวเมียเลี้ยงไว้ขยายพันธุ์แล้วขายหารายได้ การใช้งานวัวของชาวนา วัวคู่หนึ่งสามารถไถนาได้เนื้อที่ ประมาณ 20 ไร่
การเล่นวัวลาน ได้มีวิวัฒนาการมาจากการใช้วัวนวดข้าว เพราะลักษณะลานนวดข้าวเป็นวงกลมเป็นดินเหนียวที่อัดแน่นเป็นพื้นเรียบ แล้วส่วนใหญ่ชาวนาจะทาพื้นด้วยมูลวัวอีกทีหนึ่ง วิธีการนวดข้าวนั้น ชาวนาจะแยกเมล็ดข้าวออกจากรวงหลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว โดยใช้แรงวัวมาช่วยนวดข้าว ชาวนาจะผูกวัวเรียงเป็นแถวหน้ากระดานไว้กับเสากลางลานบ้าน วัวที่อยู่ใกล้จุดศูนย์กลาง ไม่ต้องใช้กำลังและฝีเท้ามาก เพราะอยู่ในช่วงหมุนรอบสั้นวนเป็นรอบ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าข้าวจะหลุดออกจากรวงข้าวหมด แต่วัวตัวที่อยู่นอกสุดอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลาง ระยะทางที่ต้องหมุนจะยาวกว่า จึงต้องเลือกวัวตัวที่มีกำลังและฝีเท้าดีด้วยเหตุนี้ วัวหมุนรอบและเหยียบย่ำจนเมล็ดข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงข้าว เมล็ดข้าวเปลือก วัวหมุนรอบและเหยียบย่ำจนเมล็ดข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงข้าว เมล็ดข้าวเปลือกจะหล่นบนพื้นลานที่ปราบไว้ดีแล้ว การนวดข้าวจึงเกิดการละเล่นพื้นบ้านวัวลาน
วัวลานในปัจจุบัน
[แก้]การวัวลานในปัจจุบันนิยมเล่นในงานวัด เพื่อหารายได้ให้ทางวัด และในท้องนา จะเริ่มเล่นกันประมาณเวลา 21:00 - 8:00 น. วัวทั้งหมดจะวิ่งเป็นวงกลมรอบๆ ลานซึ่งมีเสาอยู่ตรงกลาง จะมีสองกลุ่ม ทั้งหมดมี 19 ตัว เรียกว่า วัวนอก กับ วัวคาน ซึ่งเป็น วัวที่มาร่วมเล่นด้วยโดยไม่แข่งขัน โดยที่วัวตัวในสุดจะเป็นวัวที่ตัวใหญ่ที่สุด และขนาดตัวของวัวก็จะมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ
วัวคานจะมี 18 ตัว (ตัวที่ 18 เรียกว่า วัวรอง) นำวัวคาน 18 ตัว มาผูก แล้วก็จะมีการต่อรองราคา (เพราะความเห็นไม่ตรงกัน)ของผู้ชมและเจ้าของ เมื่อการต่อรองเสร็จสิ้น ก็จะ นำวัวนอก (ตัวที่ 19) มาผูกวิ่งเป็นวงนอกสุด (ซึ่งมีระยะการวิ่งไกลมาก) หลังจากนั้นก็ปล่อยให้มันวิ่ง แล้วก็ใช้เหล็กแหลมแทงมันเพื่อกระตุ้นพลัง การแพ้ชนะคือ เช่น วัวนอกหมดแรง หรือ วัวคานเชือกหลุด หรือวัวรองโดนวัวนอกแซงแล้วเบียดเข้ามาข้างในแทนตำแหน่งที่ 18
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 กระทรวงมหาดไทยได้ออกกฎกระทรวงอนุญาตให้มีการพนันวัวลานได้ในช่วงเวลา 18.00-06.00 น. ของวันรุ่งขึ้น[1] โดยต้องทำหนังสือขออนุญาตไปยังผู้อำนวยการสำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานคร หรือนายอำเภอ/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ สำหรับพื้นที่นอกกรุงเทพมหานคร[2]
การเตรียมความพร้อมของวัว
[แก้]เจ้าของวัวจะนำวัวของตนเอวมารวมกันแล้วต้อนขึ้นรถยนต์ ซึ่งเป็นรถบรรทุก จะบรรทุกวัวไปยังสถานที่เล่นวัวลานตามที่นัดหมาย ซึ่งเรียกกันว่า "ลานวัว" ระหว่างทางก็จะมีการโห่ร้องอย่างสนุกสาน เพื่อให้เกิดความครึกครื้น วัวอยู่ตรงกลางรถ คนจะอยู่ที่ท้ายรถ และด้านบนของหัวรถ เมื่อไปถึงลานวัวเป็นเวลาที่พลบค่ำ เจ้าของวัวจะนำวัวลงจากรถบรรทุกนำไปผูกไว้ยัง "ราวผูกวัว" ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผู้จัดให้มีการเล่นวัวลานเป็นผู้จัดเตรียมไว้ ซึ่งก็จะอยู่ติดกับ "ลานวัว"
สถานที่เล่นวัวลาน
[แก้]สถานที่เล่นวัวลาน คือ ผืนนาที่ร้าง ไม่มีการทำนา หรือลานที่ว่างโล่ง เนื้อที่ประมาณ 350 – 400 เมตร จุดศูนย์กลางที่ให้วัววิ่งจะมีเสา ซึ่งเป็นหลักให้วัววิ่ง เรียกว่า "เสาเกียรติ"
เครื่องประดับวัว
[แก้]-
เชือกขับเป็นเชือกที่ใช้ผูกวัว
-
กระดิ่งมีไว้เพื่อรู้ตำแหน่งของวัวเมื่อวัวหาย
-
เขาลองทำจากไหมพรมใช้ประดับวัว
-
ลูกเชือกทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างอ้อม สะพาย กับ เชือกขับ
-
หน้าเพชร
-
เกาะใช้รู้ตำแหน่งของวัวว่าอยู่ตรงที่ใด