วันทหารม้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงม้ากับสี่ทหารเสือ

วันทหารม้า ตรงกับวันที่ 4 มกราคมของทุกปี เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้เห็นถึงความสำคัญของวีรกรรมที่บ้านพรานนก ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในขณะยังเป็นพระยาวชิรปราการ

ประวัติ[แก้]

วันทหารม้ามีต้น กำเนิดจากวีรกรรมที่ บ้านพรานนก ปัจจุบันตั้งอยู่ในอำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การกู้ชาติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระยาตากในขณะนั้นยังเป็นพระยาวชิรปราการ ได้นำกองทหารผ่านมาทางบ้านธนู บ้านข้าวเม่า เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2309

ตลอดทางของการรบ ชาวบ้านได้จัดส่งข้าวเม่า ให้เป็นเสบียงและส่งธนูให้แก่ทหารใช้เป็นอาวุธ กองทหารได้ปะทะกับพม่าที่คลองแห่งหนึ่ง พระยาตากตีทหารพม่าแตกพ่าย จึงตั้งชื่อคลองว่า "คลองชนะ" ฝ่ายทหารพม่าได้ติดตามไปอย่างกระชั้นชิดตลอดระยะทางที่หนีออกจากกรุงศรีอยุธยา พระยาตากต้องต่อสู้กับพม่าถึง 4 ครั้ง แต่กองทหารพม่าก็ไม่ยอมลดละ และไล่ตามไปทันที่บ้านโพธิ์สังหาร มีหญิงสาวชาวบ้านชื่อนางโพ ได้ช่วยรบกับพม่าจนเสียชีวิต และภายหลังจากพระยาตากกู้ชาติได้แล้ว จึงได้ระลึกถึงกลับมาตั้งชื่อหมู่บ้านโพธิ์สังหาร เป็นหมู่บ้านโพสาวหาญ และยังใช้มาจนถึงปัจจุบัน และมีบุคคลสำคัญอีกคนหนึ่งคือ พรานนก หรือเฒ่าคำ ซึ่งเป็นผู้ช่วยจัดเสบียงอาหารให้กับกองทหารพระยาตากในระหว่างสงคราม ในปัจจุบันมีรูปปั้นให้ประชาชนเคารพที่หมู่บ้านพรานนก อำเภออุทัย

กองทัพบกไทยจึงตั้งวันที่ 4 มกราคม ของทุกปี เป็นวันทหารม้า

กิจกรรม[แก้]

หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องจะจัดพิธีสักการะอนุสรณ์พระเจ้าตาก ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนั้นจะมีการจัดงานวันที่รำลึกทหารม้าในเดือนมกราคมของทุกปี

อ้างอิง[แก้]

  • พงษ์ ณ พัฒน์, วันสำคัญไทยนอกปฏิทิน, สำนักพิมพ์ แสงดาว, 2551, หน้า 12-13