ข้ามไปเนื้อหา

วอยัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วอยัก
A depiction of a generic Wojak. It is a simplistic black-and-white drawing of a bald man with a wistful expression.
ภาพวอยักแบบทั่วไป
ปรากฏครั้งแรกอิมเมจบอร์ด Krautchan, 2010
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง
ชื่อเล่นFeels Guy

วอยัก (จากโปแลนด์: wojak, ออกเสียง: [vɔjak]; 'ทหาร') หรือ ฟีลส์กาย (อังกฤษ: Feels Guy) เป็นอินเทอร์เน็ตมีม ในรูปดั้งเดิมของวอยักแสดงภาพเขียนลายเส้นการ์ตูนแบบง่าย ๆ ของชายไร้ผมที่มีสีหน้าละห้อย โดยทั่วไปมักโพสต์ประกอบความรู้สึกเช่น ความหดหู่, ความสำนึกผิด หรือความโดดเดี่ยว

วอยักถูกเผยแพร่ครั้งแรกในปี 2010 และได้รับความนิยมบนบอร์ดของโฟร์แชน ที่ซึ่งเขากลายมาเป็นตัวแทนหนึ่งของ "ความรู้สึกนั้น" หรือ (that feel), "เมื่อคุณ..." (that feel when) และ "เราเข้าใจนาย" (I know that feel, bro) นอกจากนี้ยังมีรูปแบบต่อยอดของมีมจากวอยักปรากฏตามมาอีกจำนวนหนึ่งเพื่อสื่ออารมณ์ต่าง ๆ อีก

ประวัติ

[แก้]

"วอยัก" ดั้งเดิมแล้วเป็นชื่อเล่นของผู้ใช้ชาวโปแลนด์คนหนึ่งบนอิมเมจบอร์ดที่ปิดให้บริการไปแล้ว Krautchan ผู้ซึ่งเริ่มโพสต์ภาพนี้ในราวปี 2010 โดยมักประกอบคู่เนื้อหาความเศร้าโศกที่หาแฟนสาวไม่ได้[1] เขาอ้างว่าภาพนี้แรกเริ่มมาจากอิมเมจบอร์ดของโปแลนด์ที่ชื่อ vichan ที่ซึ่งภาพนี้ถูกโพสต์ด้วยชื่อไฟล์ "ciepła twarz.jpg" ('warm face'; หน้าอุ่น)[2] ไบรอัน เฟ็ลด์แมน (Brian Feldman) จาก Intelligencer อธิบายสีหน้าของวอยักว่าเป็นความ "เจ็บปวดแต่ก็ทนอยู่กับมัน"[3]

ภาพนี้ต่อมาแพร่กระจายไปยังอิมเมจบอร์ดอื่น ๆ รวมถึง โฟร์แชน ที่ซึ่งในปี 2011 ปรากฏภาพวอยักสองคนกอดกัน พร้อมคำประกอบภาพว่า "I know that feel bro" (เราเข้าใจนาย) เริ่มได้รับความนิยม[1] วอยักถูกนำมาใช้ประกอบข้อความเทมเพลต "ความรู้สึกนั้น" (that feel) หรือ "เมื่อคุณ..." (that feel when; ต่อมาย่อเป็น "tfw")[1][2]

รูปแบบอื่นที่นิยม

[แก้]

เอ็นพีซี

[แก้]

ในเดือนตุลาคม 2018 ปรากฏภาพวอยักใบหน้าสีเทา จมูกแหลม สีหน้าไร้ความรู้สึก ในชื่อ "NPC Wojak" กลายมาเป็นรูปแทนที่นอยมของบุคคลซึ่งไม่สามารถคิดเองได้หรือตัดสินใจเองได้ เปรียบเปรยกับเอ็นพีซี ตัวละครที่ทำตามคำสั่งของคอมพิวเตอร์ใตวิดีโอเกม NPC Wojak ได้รับความนิยมบนโลกออนไลน์มาก[4][5] และได้รับความสนใจจากสื่อ ในระยะแรกโดย Kotaku และ The New York Times อันเป็นผลมาจากการใช้ภาพนี้เพื่อล้อดลียนจิตหมู่ของเสรีนิยมในสหรัฐ[4][6] แทนผู้สนับสนุนดอนัลด์ ทรัมป์[7]

คูเมอร์

[แก้]

ในเดือนพฤศจิกายน 2019 วอยัก "คูเมอร์" (Coomer) เป็นที่นิยมควบคู่ไปกับเทรนด์ "No Nut November" คูมเอร์เป็นภาพตัดต่อของวอยักที่มีผมและหนวดรุงรัง เพื่อวร้างความตระหนักถึงภาวะเสพติดวิดีโอผู้ใหญ่[8] ความนิยมส่วนใหญ่ของมีมนี้มาจากการใช้มันแทน "Coomer Pledge" เทรนด์ไวรัลออนไลน์ซึ่งท้าผู้คนไม่ให้สำเร็จความใคร่ทางเพศด้วยตนเองตลอดเดือนพฤศจิกายน และเปลี่ยนภาพแอวาทาร์บนโลกออนไลน์เป็นคูเมอร์หากไม่ประสบความสำเรฺจ[9]

ดูมเมอร์

[แก้]

ดูมเมอร์ (doomer) เป็นภาพมาโครและรูปแบบแรกเริ่มตัวละครที่ปรากฏครั้งแรกบนโฟร์แชน โดยทั่วไปแสดงวอยักสวมหมวดไหมพรมและสูบบุหรี่ มักใช้เพื่อแทนความคิดสุญนิยมและความสิ้นหวัง ความเชื่อมั่นในจุดจบของโลกว่าจะเกิดขึ้นจากการล่มสลายของภูมิอากาศ และ พีคออยล์ ไปจนถึง การเสพติดฝิ่น[10][11][12] มีมนี้ปรากฏครั้งแรกบนโฟร์แชนที่บอร์ด /r9k/ ในเดือนกันยายน 2018[13]

รูแบบมีมคล้ายกัน "ดูมเมอร์เกิร์ล" (doomer girl) เริ่มปรากฏบนโฟร์แชนในเดือนมกราคม 2020 ก่อนจะแพร่ไปยังชุมชนแอนไลน์อย่างเรดดิต และ ทัมเบลอร์[13] รูปแบบมีมนี้ The Atlantic อธิบายไว้ว่าเป็น "ภาพการ์ตูนวาดขึ้นลวก ๆ แสดงผู้หญิงผมดำ สวมเสื่อสีดำ แววตาเศร้าหมอง แต่งหน้าสีแดง" มักปรากฏในภาพมาโครพูดคุยกับตัวดูมเมอร์เเดิม[13][14] และมักถูกนำไปเทียบกับรูปแบบของเรจคอมิกส์[15]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Brown, Elizabeth Nolan. "That Feeling When..." Bustle (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-10-19.
  2. 2.0 2.1 Feldman, Brian. "What 4chan Memes Will Go Mainstream in 2017?". Intelligencer. สืบค้นเมื่อ 2019-02-09.
  3. Feldman, Brian (13 February 2017). "People Are Arguing About the Size of Their Brains Using MS-Paint Illustrations". Intelligencer (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 1 August 2021.
  4. 4.0 4.1 Alexander, Julia (October 23, 2018). "The NPC meme went viral when the media gave it oxygen". The Verge. สืบค้นเมื่อ 23 December 2018.
  5. Sommerlad, Joe. "What is an NPC? The liberal-bashing meme sweeping social media ahead of the US midterms". The Independent (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-10-23.
  6. "Why has Twitter banned 1500 accounts and what are NPCs?". BBC News. 17 October 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-10-19.
  7. "What Is NPC, the Pro-Trump Internet's New Favorite Insult?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2018-10-19.
  8. Dickson, E. J. (2019-11-08). "How a New Meme Exposes the Far-Right Roots of #NoNutNovember". Rolling Stone (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-12-30.
  9. Iskiev, Max (2019-11-11). "Breaking Down the 'Coomer Pledge' Taking Over No Nut November 2019". StayHipp (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-12-30.
  10. Read, Max (2019-08-01). "Is Andrew Yang the Doomer Candidate?". Intelligencer (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-10-17.
  11. Keating, Shannon (11 September 2019). "Against Nihilism". BuzzFeed News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 27 April 2020.
  12. Knibbs, Kate (17 February 2020). "The Hottest New Literary Genre Is 'Doomer Lit'". Wired (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 27 April 2020.
  13. 13.0 13.1 13.2 Tiffany, Kaitlyn (3 February 2020). "The Misogynistic Joke That Became a Goth-Meme Fairy Tale". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020.
  14. Martinez, Ignacio (7 January 2020). "Meet 'Doomer Girl,' the new voice of a classic meme". The Daily Dot. สืบค้นเมื่อ 28 April 2020.
  15. "Meet 'Doomer Girl,' the new voice of a classic meme". The Daily Dot (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-01-07. สืบค้นเมื่อ 2021-01-15.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]