วงศ์งูน้ำ
วงศ์งูน้ำ | |
---|---|
งูกระด้าง (Erpeton tentaculatum) เป็นชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Erpeton | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Reptilia |
อันดับ: | Squamata |
อันดับย่อย: | Serpentes |
วงศ์ใหญ่: | Homalopsoidea |
วงศ์: | Homalopsidae Bonaparte, 1845[1] |
สกุล | |
| |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
วงศ์งูน้ำ เป็นวงศ์ของงูพิษอ่อนวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Homalopsidae[2] เดิมทีเคยจัดเป็นวงศ์ย่อยของงูในวงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง (Colubridae) ใช้ชื่อว่า Homalopsinae[3]แต่งูในวงศ์นี้มีพันธุกรรมที่มีความแตกต่างจากวงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง แยกออกมาเป็นอีกวงศ์
มีลักษณะโดยรวม คือ ช่องเปิดจมูกอยู่ทางด้านบนของหัวและมีแผ่นลิ้นปิด ตามีขนาดเล็กและอยู่ทางด้านบนของหัว ช่องเปิดของท่อลมยืดยาวไปในโพรงจมูกได้ ทำให้หายใจได้ตามปกติเมื่อโผล่เฉพาะช่องเปิดจมูกขึ้นเหนือน้ำ บนหัวมีแผ่นเกล็ดนาซัลใหญ่กว่าแผ่นเกล็ดอินเตอร์นาซัล ฟัน 2–3 ซี่อยู่ทางด้านท้ายของขากรรไกรบนขยายใหญ่เป็นฟันเขี้ยวที่มีร่องอยู่ทางด้านหน้า ต่อมน้ำพิษเจริญ
งูในวงศ์นี้มีพฤติกรรมที่อาศัยและหากินในแหล่งน้ำเป็นหลัก ทั้งในแหล่งน้ำจืดสนิท, น้ำกร่อย และน้ำเค็ม หรือทะเล โดยทั่วไปจะหากินในน้ำตื้นเพื่อจับเหยื่อ โดยจะอาศัยและหากินในแหล่งน้ำจืดมากที่สุด กินปลาและกบเป็นอาหารหลัก หากินในเวลากลางคืน โดยจะกัดเหยื่อหลายครั้งเพื่อให้น้ำพิษเข้าสู่ตัวเหยื่อมากพอที่จะทำให้เหยื่อสลบได้ โดยมี งูกินปู (Fordonia leucobalia) ที่วิวัฒนาการตัวเองให้อาศัยในน้ำกร่อยและทะเลได้เป็นอย่างดี เพื่อกินปู โดยการใช้ลำตัวรัดปูไว้แล้วกัดปล่อยน้ำพิษ
เป็นงูที่ออกลูกเป็นตัวทั้งหมด ครั้งละ 5–15 ตัว ในชนิดที่มีขนาดใหญ่จะให้ลูกได้ถึงครั้งละ 20–30 ตัว
พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของเอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงทางเหนือของออสเตรเลีย จำแนกออกเป็นสกุลได้ 28 สกุล มากกว่า 50 ชนิด ในประเทศไทยพบราว 14 ชนิด[3]
การจำแนก
[แก้]สกุล[2]
- Bitia Gray, 1842
- Brachyorrhos Kuhl, 1826
- Calamophis Meyer, 1874
- Cantoria Girard, 1857
- Cerberus Cuvier, 1829
- Dieurostus Berg, 1901
- Djokoiskandarus Murphy, 2011
- Enhydris Sonnini & Latreille, 1802
- Erpeton Lacépède, 1800
- Ferania Gray, 1842
- Fordonia Gray, 1837
- Gerarda Gray, 1849
- Gyiophis Murphy & Voris, 2014
- Heurnia Jong, 1926
- Homalophis Peters, 1871
- Homalopsis Kuhl & Hasselt, 1822
- Hypsiscopus Fitzinger, 1843
- Karnsophis Murphy & Voris, 2013
- Kualatahan Murphy & Voris, 2014
- Mintonophis Murphy & Voris, 2014
- Miralia Gray, 1842
- Myron Gray, 1849
- Myrrophis Kumar, Sanders, Sanil & Murphy, 2012
- Phytolopsis Gray, 1849
- Pseudoferania Ogilby, 1891
- Raclitia Gray, 1842
- Subsessor Murphy & Voris, 2014
- Sumatranus Murphy & Voris, 2014
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Homalopsidae". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
- ↑ 2.0 2.1 Jayne, B.C.; Voris, H.K.; Ng, P.K.L. (2002), "Herpetology: Snake circumvents constraints on prey size", Nature, 418 (6894): 143, doi:10.1038/418143a, PMID 12110878
- ↑ 3.0 3.1 วีรยุทธ์ เลาหะจินดา (2552). วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ISBN 978-616-556-016-0.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Homalopsisnae.com เก็บถาวร 2008-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Aquatic Snakes: Mud Snakes เก็บถาวร 2009-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน