ลิ้น (เครื่องดนตรี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลิ้นของอัลโตแซกโซโฟน และเทเนอร์แซกโซโฟน

ลิ้น เป็นวัสดุแผ่นบางๆ ที่สั่นสะเทือนทำให้เกิดเสียงในเครื่องดนตรีบางชนิด ลิ้นของเครื่องลมไม้นั้นนิยมทำมาจากต้นอ้อชนิดหนึ่ง (Arundo donax) หรือวัสดุสังเคราะห์ สำหรับลิ้นของฮาร์โมนิกา และแอคคอร์เดียนนั้นทำจากโลหะ หรือวัสดุสังเคราะห์

ลิ้นเดี่ยว[แก้]

ลิ้นเดี่ยวนั้นใช้ในส่วนเมาธ์ของคลาริเน็ต และแซกโซโฟน มีลักษณะแบน บรรจุเข้าพอดีกับส่วนเมาธ์ ด้านบนติดกับปลายบางๆ โดยมากมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกเว้นส่วนปลายบางๆ ที่สั่นสะเทือน ซึ่งโค้งให้เข้ารูปกับส่วนโค้งของปลายเมาธ์ แม้ลิ้นเดี่ยวทั้งหมดมีรูปร่างคล้ายคลึงกัน แต่ก็มีขนาดแตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะกับส่วนเมาธ์ (mouthpiece) ของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น

ลักษณะของลิ้นนั้นมีความหลากหลายอย่างมากที่ออกแบบมาสำหรับเครื่องดนตรีชนิดเดียวกันนั้น มีความหนา(หรือ ความแข็ง) แตกต่างกันไป ปกติแล้วมีการระบุความหนาเป็นตัวเลข จากอ่อนสุด คือ 1 จนถึง แข็งสุด คือ 5 นี่ไม่ใช่มาตรฐานวัดความแข็งของลิ้น ซึ่งแตกต่างกันไปในบรรดาผู้ผลิตรายต่างๆ ลิ้นที่อ่อน จะสั่นสะเทือนได้ง่ายกว่า

ตัวแปรอีกอย่างหนึ่งที่มีผลต่อประสิทธิภาพ ก็คือรูปร่างของลิ้น ความหนาของส่วนปลายและขอบ และความลึก ส่วนแต่มีผลต่อเสียงและการเล่น ไม้ที่มีความหนาแน่นแตกต่างกัน แม้จะตัดมาโดยมีขนาดเท่ากัน ก็ยังให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันด้วย

เดิมนั้นนักดนตรีจะลิ้นจากไม้โดยใช้เครื่องมือง่ายๆ เป็นกระบวนการที่ใช้เวลาและยุ่งยาก ทุกวันนี้นักเล่นเครื่องดนตรีลิ้นเดี่ยวนิยมซื้อลิ้นที่ผลิตจากโรงงาน แต่นักดนตรีมืออาชีพบางคนนิยมทำลิ้นด้วยตนเอง เพราะเชื่อว่าลิ้นที่ผลิตจากโรงงานนั้นมีคุณภาพด้อยกว่า นอกจากนี้การทำลิ้นด้วยตนเองยังทำให้ได้คุณภาพของลิ้นอย่างที่ตัวเองต้องการด้วย

ลิ้นคู่ของบาสซูน

ลิ้นสังเคราะห์นั้นมีอายุยาวนานกว่าลิ้นทำจากไม้ และดูแลรักษาง่ายกว่า แต่ส่วนใหญ่ถือว่าลิ้นไม้ที่ทำเองให้เสียงที่ดีกว่า

ขลุ่ยจีนนั้น มีลักษณะลิ้นที่แตกต่างไป ทมาจากเผื่อไผ่บาง ส่วนปี่ของไทยก็ต้องใช้ลิ้นเช่นเดียวกัน

ลิ้นคู่[แก้]

ลิ้นคู่นั้นมีใช้ในบาสซูน โอโบ แบกไปป์ อิงลิชฮอร์น และออร์แกนบางแบบ ลิ้นคู่นี้ไม่ได้ใช้เชื่อมกับเมาธ์ แต่จะสั่นสะเทือนกระทบกัน ความแข็งของลิ้นนั้น แบ่งเป็น 1 ถึง 5 เช่นเดียวกับลิ้นเดี่ยว

ดูเพิ่ม[แก้]