ราโยกราฟส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Principle of the photogram

ราโยกราฟส์ (rayographs) ถูกพัฒนาโดย แมน เรย์ เค้าเกิดที่เมืองฟิลาเดลเฟีย ในตอนเด็กแมน เรย์ชื่อว่า เอ็มมานูเอล ราดินสกี้ และได้เปลี่ยนชื่อเมื่ออายุ 15 ปี แมน เรย์เป็นชาวยิวซึ่งหนีการก่อกวนและรังแกมาจากประเทศรัสเซีย ที่รัฐนิวเจอร์ซี่ เขาได้ประกอบอาชีพนักเขียนภาพโฆษณาเมื่อช่วงปี 1910 เขาได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น แมน เรย์ เมื่อปี 1912 แต่อย่างไรก็ตาม ครอบครัวของเขาก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงนามสกุลจนกระทั่งปี 1920

เขาเริ่มเรียนรู้การถ่ายภาพด้วยตนเองซึ่งมันได้กลายมาเป็นอาชีพหนึ่งของเขาไป ซึ่งรวมเอาการวาดภาพและการผสมผสานศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน ในปี 1921 เขาได้ย้ายไปอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสและจัดตั้งห้องแสดงภาพศิลป์ของตนเองขึ้น ซึ่งได้มีการจัดแสดงทั้งงานศิลปะ แฟชั่น ในช่วงต่อมาเขาได้เริ่มการสร้างสรรค์งานศิลปะแบบ โฟโต้แกรมขึ้น ซึ่งเขาเรียกมันว่า ราโย่กราฟ (rayographs) ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเล็กน้อย แมน เรย์ได้อพยพกลับไปยังสหรัฐอเมริกาอีกครั้งหนึ่ง แต่เขาก็ได้รับความผิดหวังอย่างมากเนื่องจากงานศิลปะของเขานั้นได้มีเพียงเรื่องที่เกี่ยวกับภาพถ่ายเท่านั้น ซึ่งไม่ได้รวมเอางานประเภทการสร้างภาพยนตร์ การวาดภาพ การสร้างประติมากรรม และสื่ออื่น ๆ เข้ามาไว้ในงานของเขาด้วย จึงทำให้มันไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร ในปี 1951 แมน เรย์ ได้ย้ายกลับไปที่กรุงปารีสอีกครั้งหนึ่ง เขายังคงทำงานเกี่ยวกับศิลปะอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถึงแก่กรรมเมื่อปี 1976

ในปี 1922 หนังสือของเขาเกี่ยวกับราโย่กราฟของเขา “Les Champ” ก็ได้รับการตีพิมพ์ขึ้น และในงานแสดงภาพ rayographs ของแมน เรย์เมื่อปี 1922 นั้นเป็นภาพที่เกิดจากจินตนาการของเขาซึ่งอาศัยแสงเงาของวัตถุต่าง ๆ เป็นแบบที่ปรากฏอยู่บนกระดาษอัดรูป ซึ่งงานชิ้นนี้ไม่ได้ใช้ฟิล์มแต่อย่างใด

rayograph เป็นผลงานที่ได้รับการสร้างสรรค์จาก photogram โดย แมน เรย์ เป็นวิธีการสำคัญอย่างหนึ่งในการถ่ายภาพ สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการทดลองของเขาจากการใช้วัสดุหลากหลายชนิดและวิธีการอันหลากหลาย เขาได้ทดลองเกี่ยวกับภาพถ่ายจนทำให้สามารถพัฒนารูปแบบการถ่ายภาพโดยที่ไม่ต้องใช้กล้องถ่ายรูป เทคนิควิธีดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางโดยนักถ่ายภาพในช่วงศตวรรษที่ 20 ซึ่ง รูปแบบของเขานั้นได้รวมเอาการใช้ประโยชน์จากความแน่นอนตายตัวและผลที่เกิดขึ้นอย่างไม่ตั้งใจของภาพเนกาตีฟ การนำเอาภาพหรือสิ่งของมาเรียงต่อ ๆ กันอย่างไม่เป็นระเบียบและไม่เน้นสิ่งใดเป็นพิเศษ เป็นการนำเอาความหลากหลายของสิ่งที่มีความแตกต่างมาไว้ร่วมกันในภาพ ๆ เดียว และเปลี่ยนแปลงให้สิ่งของต่าง ๆ นั้นได้แสดงภาพของมันออกมา เพื่อให้ผู้พบเห็นได้รู้สึกแปลกตาไปกับมันภาพที่ได้นั้นจะเป็นภาพในแบบเนกาทีฟ และมีผลคล้ายคลึงกับที่เราเห็นในฟิล์มเอ็กซเรย์ทั่วไป ซึ่งวิธีการนี้เองได้ทำให้ชื่อเสียงของ แมน เรย์และวิธีการ rayographs ของเขานั้นโด่งดังเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งบุคคลอื่น ๆ ที่ได้นำเอาเทคนิควิธีการนี้มาใช้ก็มีอาทิเช่น ลาร์สโล่ โมโฮลี่-นากี้ คริสเตียน ช๊าด(ซึ่งเรียกงานประเภทนี้ว่าเป็น”ช๊าดโดกราฟซี่(Schadographs) ” ไอมอจ คันนิ่งแฮม หรือแม้แต่ ปาโบล ปิกาสโซ่ ศิลปินผู้โด่งดังชาวสแปนิชก็ได้เคยทำงานศิลปะประเภทนี้มาแล้ว งานศิลปะของเรย์นั้นจะเน้นไปที่เรื่องของความรู้สึกที่เกินจริง ซึ่งมันก็เป็นเหมือนกับแนวความคิดและจินตนาการของตัวเขาเองด้วย การแสดงออกถึงสิ่งที่ใฝ่ฝัน ความมีอิสระแห่งการระลึกรู้ถึงตนเองและการควบคุมของเหตุผลและข้อตกลงต่าง ๆ แนวคิดดังกล่าวนั้นเป็นเสมือนกับการอุปมาอุปมัยเรื่องราวที่เพ้อฝันว่าเป็นเสมือนเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง แต่เขาได้เน้นย้ำว่าจริง ๆ แล้วงานของเขาเกิดจากข้อผิดพลาดเกี่ยวกับกระบวนการซึ่งมันเกิดมาจากอุบัติเหตุที่เขาได้เปลี่ยนเอากรวยแก้วขนาดเล็กและเครื่องมือวัดอุณหภูมิมาใช้แทนวัตถุอื่น ๆ สำหรับการวางบนกระดาษ ผลที่ได้นั้นเป็นสิ่งบังเอิญที่เกิดขึ้น และเมื่อเขาลองใช้แสงส่องลงไปยังกระดาษอัดภาพนั้น ผลที่ปรากฏออกมาก็คือภาพของวัตถุที่นำมาวางไว้บนกระดาษดังกล่าวได้ปรากฏขึ้นมา ซึ่งภาพที่บิดเบือนออกมานั้นเกิดจากการหายไปของสารที่ฉาบอยู่บนกระดาษนั้น เขาได้เริ่มทำการทดลองกับวัตถุอื่น ๆ เพิ่มเติมซ้ำไปซ้ำมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลที่ได้รับนั้นก็เป็นเช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง อันเป็นที่มาของ rayographs