ราฟาเอล ตรูฮิโย
ราฟาเอล ตรูฮิโย | |
---|---|
Rafael Trujilo | |
ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐโดมินิกัน | |
ดำรงตำแหน่ง 16 สิงหาคม พ.ศ. 2473 – 16 สิงหาคม พ.ศ. 2481 | |
รองประธานาธิบดี | ราฟาเอล เอสเตรยา อูเรญญา (2473–2474) ว่าง (2475–2477) ฆาซินโต เปยาโน (2477–2481) |
ก่อนหน้า | ราฟาเอล เอสเตรยา อูเรญญา (รักษาการ) |
ถัดไป | ฮาซินโต เปย์นาโด |
ดำรงตำแหน่ง 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 – 16 สิงหาคม พ.ศ. 2495 | |
รองประธานาธิบดี | ไม่มี |
ก่อนหน้า | มานูเอล เด เฮซุส ตรองโกโซ |
ถัดไป | เอกตอร์ ตรูฮิโย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ราฟาเอล เลโอนิดัส ตรูฮิโย โมลินา 24 ตุลาคม พ.ศ. 2434 ซานกริสโตบัล สาธารณรัฐโดมินิกัน |
เสียชีวิต | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 (69 ปี) ซานโตโดมิงโก สาธารณรัฐโดมินิกัน |
ลักษณะการเสียชีวิต | ถูกลอบสังหาร |
ที่ไว้ศพ | สุสานมองกอร์รูบิโอ มาดริด ประเทศสเปน |
พรรคการเมือง | พรรคโดมินิกัน |
คู่สมรส | อามินตา เลเดสมา อี เปเรซ (2456-2470) บิเอนเบนิดา ริการ์โด อี มาร์ติ (2470-2478) มาริอา เด โลส อังเฮเลส มาร์ติเนซ อี อัลบา (2480-2504) |
บุตร | 8 คน เช่น รัมฟิสและอังเฮลิตา[1] |
วิชาชีพ |
|
ลายมือชื่อ | |
ราฟาเอล เลโอนิดัส ตรูฮิโย โมลินา (สเปน: Rafael Leónidas Trujillo Molina; 24 ตุลาคม พ.ศ. 2434 – 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2504) เป็นอดีตประธานาธิบดีและผู้เผด็จการแห่งสาธารณรัฐโดมินิกัน[2] ดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ. 2473–2481 และ พ.ศ. 2485–2495 จนกระทั่งถูกลอบสังหารใน พ.ศ. 2504[3] ระหว่างเขาปกครองสาธารณรัฐโดมินิกันนั้น เขาปกครองในลักษณะเผด็จการทหาร และยังคงกุมอำนาจในประเทศทั้งที่เขาไม่ได้อยู่ในตำแหน่งประธานาธิบดีก็ตาม ซึ่งเขาครองอำนาจในสาธารณรัฐโดมินิกันทั้งสิ้น 31 ปี ซึ่งชาวโดมินิกันจะรู้จักกันดีในชื่อว่า ยุคตรูฮิโย (El Trujillato) เขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้นำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการสังหารชาวเฮติในสาธารณรัฐโดมินิกันไป 5,000–67,000 รายในเหตุการณ์สังหารหมู่พาร์สลีย์[4]
ตรูฮิโยมีทรัพย์สินราว 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือราว 23,936 ล้านบาท)[5] ในสมัยที่เขาดำรงตำแหน่งนั้น มีการตรวจพบการทุจริตทางการเมืองและการฉ้อราษฎร์บังหลวง ทั้งยังมีการเล่นพวกพ้องและเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องตัวเองเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เขายังเกือบถูกลอบสังหารมาแล้วหลายครั้ง[6] แต่ในที่สุดเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 เขาก็ได้ถูกลอบสังหารขณะกำลังนั่งรถยนต์ส่วนตัว โดยผู้ที่ลอบสังหารเขาคือคนสนิทของเขาเอง โดยมีสำนักข่าวกรองกลางของสหรัฐอยู่เบื้องหลังการลอบสังหารของเขา[7][8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Espinal Hernández, Edwin Rafael (21 February 2009). "Descendencias Presidenciales: Trujillo" (ภาษาสเปน). Instituto Dominicano de Genealogía. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2014. สืบค้นเมื่อ 15 April 2015.
- ↑ ชีวประวัติของราฟาเอลตรูฮิโย "ซีซาร์น้อยแห่งทะเลแคริบเบียน"
- ↑ "I shot the cruellest dictator in the Americas". BBC News. 2011. สืบค้นเมื่อ 19 June 2013.
- ↑ Capdevilla (1998)
- ↑ Rogozinski 258
- ↑ "Documentary Heritage on the Resistance and Struggle for Human Rights in the Dominican Republic, 1930-1961" (PDF).
- ↑ Kross, Peter (9 December 2018). "The Assassination of Rafael Trujillo". Sovereign Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-28. สืบค้นเมื่อ 17 January 2019.
- ↑ "The Kaplans of the CIA - Approved For Release 2001/03/06 CIA-RDP84-00499R001000100003-2" (PDF). Central Intelligence Agency. 24 November 1972. pp. 3–6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-12. สืบค้นเมื่อ 17 January 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ผลงานเกี่ยวกับ/โดย ราฟาเอล ตรูฮิโย ที่อินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์
- Biography (ในภาษาสเปน)