รางจืด
รางจืด | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Lamiales |
วงศ์: | Acanthaceae |
สกุล: | Thunbergia |
สปีชีส์: | T. laurifolia |
ชื่อทวินาม | |
Thunbergia laurifolia Lindl. |
รางจืด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thunbergia laurifolia) เป็นชื่อของพืชสมุนไพรประเภทไม้เลื้อยหรือไม้เถาในวงศ์เหงือกปลาหมอ มีลักษณะเนื้อแข็ง เลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้ เถาจะมีลักษณะเป็นข้อปล้องกลมมีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ดอกจะเป็นสีม่วงอ่อน ๆ หรือสีคราม ออกดอกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ รางจืดได้รับการขนานนามว่าเป็น "ราชาแห่งการถอนพิษ"[1][2][3] มีสรรพคุณทางยาในด้านการถอนพิษต่าง ๆ หรือใช้เป็นยาพอกบาดแผล น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ รวมถึงใช้เป็นยารับประทานเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ
รางจืดมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ ได้แก่ กำลังช้างเผือก เครือเขาเขียว ขอบชะนาง ยาเขียว (ภาคกลาง) คาย รางเย็น (ยะลา) จอลอดิเออ ซั้งกะ ปั้งกะล่ะ พอหน่อเตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ดุเหว่า (ปัตตานี) ทิดพุด (นครศรีธรรมราช) น้ำนอง (สระบุรี) ย่ำแย้ แอดแอ (เพชรบูรณ์)
ลักษณะทางพฤษศาสตร์
[แก้]ไม้เลื้อยหรือไม้เถา มีลักษณะเนื้อแข็ง ลำต้นหรือเถานั้นจะกลมเป็นปล้อง มีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ใบ จะมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ตรงโคนใบจะเว้า ปลายใบจะเรียวแหลม กว้าง 4-7 ซม. ยาว 8-14 ซม. ส่วนดอกจะมีสีม่วงอมฟ้า ใบประดับ สีเขียวประสีน้ำตาลแดง ออกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ
การปลูกเลี้ยง
[แก้]นิยมใช้เถาในการปักชำ ในการชำเถา ให้เลือกเถาแก่มาตัดเป็นท่อน ยาวประมาณ 6-8 นิ้ว ให้มีตาติดอยู่ 2-3 ตา ถ้าชำเถาในฤดูฝนจะออกรากเร็วกว่า
สรรพคุณ
[แก้]รากและใบ รับประทานเป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ใบและรากใช้ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ ยาพอกบาดแผล ใช้สำหรับถอนพิษยาฆ่าแมลง สำหรับผู้ป่วยที่ดื่มยาฆ่าแมลงเข้าไปเป็นการบรรเทาอาการก่อนถึงโรงพยาบาล แก้พิษแอลกอฮอล์ บรรเทาอาการเมาค้าง บรรเทาอาการผื่นแพ้ ชาวกะเหรี่ยงเรียกว่า จอลอดี่เดอ ตัดลำต้นเป็นชิ้นเล็กพกติดตัว เชื่อว่าป้องกันงูได้[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://medthai.com/รางจืด/
- ↑ http://campus.sanook.com/1371087/
- ↑ https://www.doctor.or.th/article/detail/11960
- ↑ ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ 2551 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่271 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2021-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ITIS 34350 เก็บถาวร 2004-07-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Burkill, I.H. (1966). “A Dictionary of the Economic Products of the Malay Peninsula. Volume II (I–Z)”. Ministry of Agriculture and Cooperatives, Kuala Lumpur.
- Chan, E.W.C., Lim, Y.Y. (2006). “Antioxidant activity of Thunbergia laurifolia tea”. Journal of Tropical Forest Science 18 (2): 130–136. http://info.frim.gov.my/cfdocs/infocenter_application/jtfsonline/jtfs/v18n2/130-136.pdf[ลิงก์เสีย].
- Kanchanapoom, T. et al. (2002). “Iridoid glucosides from Thunbergia laurifolia”. Phytochemistry 60: 769–771. doi:10.1016/S0031-9422(02)00139-5.
- NRM (2003). “Thunbergia: Blue trumpet vine”. Natural Resources and Mines, Queensland. http://www.nrm.qld.gov.au/pests/environmental_weeds/weed_info_series.html[ลิงก์เสีย].
- Schonenberger, J. (1999). “Floral structure, development and diversity in Thunbergia (Acanthaceae)”. Botanical Journal of the Linnean Society 130: 1–36.
- Starr, F. et al. (2003). “Thunbergia laurifolia”. http://www.hear.org/starr/hiplants/reports/pdf/thunbergia_laurifolia.pdf เก็บถาวร 2021-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Thunbergia laurifolia ที่วิกิสปีชีส์