ข้ามไปเนื้อหา

ระบบพิกัดคาร์ทีเซียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ระบบพิกัดคาร์ทีเชียน)
ตัวอย่างระบบพิกัดคาร์ทีเซียนที่มีจุด (2,3) สีเขียว, จุด (-3,1) สีแดง, จุด (-1.5,-2.5) สีน้ำเงิน, และจุด (0,0) สีม่วงซึ่งเป็นจุดกำเนิด

ในทางคณิตศาสตร์ ระบบพิกัดคาร์ทีเซียน (อังกฤษ: Cartesian coordinate system) เป็นระบบที่ใช้กำหนดตำแหน่งของจุดแต่ละจุดบนระนาบโดยอ้างถึงตัวเลข 2 จำนวน ซึ่งแต่ละจำนวนเรียกว่า พิกัดเอกซ์ และ พิกัดวาย ของจุดนั้น และเพื่อที่จะกำหนดพิกัดของจุด จะต้องมีเส้นแกนสองเส้นตัดกันเป็นมุมฉากที่จุดกำเนิด ได้แก่ แกนเอกซ์ และ แกนวาย ซึ่งเส้นแกนดังกล่าวจะมีหน่วยบ่งบอกความยาวเป็นระยะ ระบบพิกัดคาร์ทีเซียนยังสามารถใช้ได้ในปริภูมิสามมิติ (ซึ่งจะมี แกนแซด และ พิกัดแซด เพิ่มเข้ามา) หรือในมิติที่สูงกว่าอีกด้วย

ประวัติ

[แก้]

คำว่า คาร์ทีเซียน (Cartesian) มาจากชื่อของนักคณิตศาสตร์และนักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส เรอเน เดส์การตส์ (René Descartes) ซึ่งรู้จักกันในภาษาละตินว่า คาร์ทีซิอุส (Cartesius) ซึ่งเป็นผู้ที่รวมวิชาพีชคณิตกับเรขาคณิตแบบยุคลิดเข้าด้วยกัน ซึ่งการรวมของเขาทำให้เกิดการพัฒนาแขนงความรู้เรขาคณิตวิเคราะห์ แคลคูลัส และการสร้างแผนที่

แนวความคิดของระบบนี้เริ่มพัฒนาใน พ.ศ. 2180 (ค.ศ. 1637) ซึ่งระบุไว้ในงานเขียนของเดส์การตส์สองฉบับ ในส่วนที่สองของ Discourse on the Method เขาได้แนะนำแนวความคิดใหม่สำหรับการระบุตำแหน่งของจุดหรือวัตถุใด ๆ บนพื้นผิวหนึ่ง ๆ โดยใช้แกนสองเส้นตัดกันและมีการวัดระยะกำกับ และใน La Géométrie เขาได้วิจัยและอธิบายเกี่ยวกับแนวความคิดข้างต้นเพิ่มเติม

อ้างอิง

[แก้]
  • Descartes, René, Oscamp, Paul J. (trans) (2001). Discourse on Method, Optics, Geometry, and Meteorology.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Morse PM, Feshbach H (1953). Methods of Theoretical Physics, Part I. New York: McGraw-Hill. p. 656. ISBN 0-07-043316-X. LCCN 52-0 – 0.