ระบบพิกัดกริดแบบยูทีเอ็ม
ระบบพิกัดกริดแบบยูทีเอ็ม (Universal Transverse Mercator - UTM) เป็นพิกัดภูมิศาสตร์ในลักษณะกริดระบุตำแหน่งของสิ่งบนผิวโลกในลักษณะระบบพิกัดคาร์ทีเซียน ซึ่งระบบนี้จะแตกต่างจากระบบดั้งเดิมที่ใช้ละติจูดและลองจิจูด ระบบกริดแบบยูทีเอ็มจะแบ่งส่วนออกเป็นทั้งหมด 60 โซน
ลักษณะเฉพาะและตำแหน่งของพิกัด[แก้]
ลักษณะของพิกัดจะประกอบไปด้วยสามส่วนโดยส่วนแรกคือช่องกริด ส่วนสองและสามคือคู่ระยะตะวันออกและเหนือในหน่วยเมตร ตัวอย่างของพิกัดยูทีเอ็ม เช่น 47P 679815 1513661 แสดงตำแหน่งของสวนหลวง ร.9 (ซึ่งตรงกับละติจูดลองจิจูดที่ 13° 41′ 11.02″ N, 100° 39′ 45.58″ E) ระยะตะวันออกเป็นระยะจากเส้นเมอริเดียนศูนย์กลาง ในขณะที่ระยะเหนือวัดจากเส้นศูนย์สูตร (สำหรับซีกโลกเหนือ) ซึ่งพิกัด 0,0 ของระบบนี้คือจุดตัดของเส้นศูนย์สูตรและเส้นเมอริเดียนศูนย์กลาง
ตำแหน่งในแต่ละทวีป[แก้]
อ้างอิง[แก้]
Snyder, John P. (1987). Map Projections - A Working Manual. U.S. Geological Survey Professional Paper 1395. United States Government Printing Office, Washington, D.C.
![]() |
บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล หมายเหตุ: ขอแนะนำให้จัดหมวดหมู่โครงให้เข้ากับเนื้อหาของบทความ (ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:โครงการจัดหมวดหมู่โครงที่ยังไม่สมบูรณ์) |