รถไฟรางเบาเยรูซาเลม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถไฟรางเบาเยรูซาเลม
הרכבת הקלה בירושלים
قطار القدس الخفيف
รถไฟฟ้ารางเบาที่ถนนยัฟฟา
รถไฟฟ้ารางเบาที่ถนนยัฟฟา
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของสมาคมซีตีพาส
พื้นที่ให้บริการเยรูซาเลม
ประเภทรถไฟฟ้ารางเบา
จำนวนสาย1 (สายสีแดง)
จำนวนสถานีสายสีแดง: 23
ผู้โดยสารต่อวัน150,000 (ค.ศ. 2019)[1]
ผู้โดยสารต่อปี42.457 ล้านคน (ค.ศ. 2017)[2]
เว็บไซต์www.citypass.co.il
การให้บริการ
เริ่มดำเนินงาน19 สิงหาคม ค.ศ. 2011 (ทดลองเดินรถไม่เสียค่าโดยสาร)
1 ธันวาคม ค.ศ. 2011 (ให้บริการแบบเก็บค่าโดยสารอย่างเต็มรูปแบบ)
ผู้ดำเนินงานซิตีพาส
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง13.8 กม. (8.6 ไมล์)[3]
จำนวนราง2
รางกว้าง1,435 mm (4 ft 8 12 in) สแตนดาร์ดเกจ
การจ่ายไฟฟ้า750 โวลต์ DC
ระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัว
ความเร็วเฉลี่ยสูงสุด 50 กม./ชม. (31 ไมล์/ชม.)

รถไฟรางเบาเยรูซาเลม (ฮีบรู: הרכבת הקלה בירושלים, HaRakevet HaKala Birushalayim; อาหรับ: قطار القدس الخفيف, Qiṭār Al-Quds Al-Khafīf) เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบาในเยรูซาเลม ประเทศอิสราเอล ปัจจุบันมีให้บริการ 1 เส้นทาง ได้แก่ สายสีแดง โดยเริ่มก่อสร้างในปี ค.ศ. 2002 และเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2010 ก่อสร้างโดยสมาคมซิตีพาส ซึ่งมีสัญญาให้บริการ 30 ปี โครงการรถไฟรางเบานี้ยังรวมถึงการก่อสร้างสะพานคอร์ดและการบูรณะตามจุด ๆ ต่างของเยรูซาเลม

การเปิดให้บริการล่าช้าออกไปเนื่องจากการค้นพบโบราณวัตถุและปัญหาทางเทคนิค รถไฟรางเบาเริ่มทดลองเดินรถตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 2011 และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2011 เส้นทางสายสีแดงมีระยะทาง 13.9 กิโลเมตร ประกอบด้วยจุดจอด 23 แห่ง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างส่วนต่อขยายไปยังย่านชานเมืองเนเวยาคอฟและศูนย์การแพทย์ฮาดัสซาห์ เมื่อโครงการทั้งหมดเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2018 จะมีระยะทางยาวถึง 22.5 กิโลเมตร[4]

การก่อสร้างสายสีแดงส่วนแรกใช้งบประมาณ 3.8 พันล้่านเชเกล (ประมาณ 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)[5][6] โครงการเคยถูกวิจารณ์อย่างหนักในด้านงบประมาณและการก่อมลพิษขณะก่อสร้าง[7]

สายสีเขียวและสายสีแดงส่วนต่อขยายได้รับการอนุมัติจากนครเยรูซาเลม และปัจจุบันอยู่ในระหว่างการประมูลการก่อสร้าง ส่วนสายสีน้ำเงินอยู่ในขั้นตอนการขออนุมัติ[8][9]

อ้างอิง[แก้]

  1. Peggy Cidor (11 พฤษภาคม 2019). "Jerusalem by rail: What's the latest on the capital's light rail lines?". The Jerusalem Post.
  2. "ביצוע תקציב 2017" [Budget Report 2017] (PDF). Israel Ministry of Transport. 2018. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2018. (ในภาษาฮีบรู)
  3. "Jerusalem Light Rail Project". Railway Technology. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2008.
  4. "Extending Light Rail to Hadassa Ein Kerem" (Press release). Jerusalem Municipality. 12 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2012. (ในภาษาฮีบรู).
  5. Melanie Lidman (30 มิถุนายน 2011). "Capital merchants struggle with endless light rail delays". The Jerusalem Post. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2011.
  6. Hasson, Nir (2 เมษายน 2011). "Light Rail on the Way". Haaretz. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2011. (ในภาษาฮีบรู).
  7. "Findings of the London session, 20-22 November 2010" (PDF). Russell Tribunal on Palestine. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2011.
  8. Ltd, DVV Media International. "Single-View". railwaygazette.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2018.
  9. "Foreign cos bid in force for Jerusalem light rail tender - Globes English". Globes. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]