ข้ามไปเนื้อหา

รกฟ้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รกฟ้า
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Myrtales
วงศ์: Combretaceae
สกุล: Terminalia
สปีชีส์: T.  elliptica
ชื่อทวินาม
Terminalia elliptica
Willd.
ชื่อพ้อง
  • Terminalia alata Heyne ex Roth
  • Terminalia tomentosa (Roxb.) Wight & Arn.

รกฟ้า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Terminalia elliptica) เป็นพืชในสกุลสมอ ลักษณะเป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ สูง 20–30 เมตร เปลือกต้นขรุขระสีเทาดำ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงกันข้าม ใบตอนบนออกเรียงสลับกัน รูปขอบขนานหรือขอบขนานแกมรูปไข่ ขนาด 5–10 x 10–15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือเบี้ยว แผ่นใบหนา มีต่อม 1 คู่ที่แผ่นใบด้านล่างใกล้โคนใบ ดอกออกเป็นช่อเชิงลดแยกแขนงตามซอกใบหรือปลายยอด ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ไม่มีกลีบดอก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นกลีบรูปสามเหลี่ยม 5 กลีบ เกสรตัวผู้มี 10 อัน รังไข่มี 1 ช่อง ผลเป็นผลแห้งไม่แตก ขนาด 2.5–5 x 4–6 เซนติเมตร มีปีกเป็นครีบหนา 5 ปีก ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด[1][2]

รกฟ้ามีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เนปาล และอินโดจีน[3] ในไทยพบได้แทบทุกภาค โดยขึ้นในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ที่ความสูง 100–1000 เมตร เปลือกรกฟ้ามีรสฝาดเฝื่อน ต้มดื่มแก้ท้องร่วง แก้ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ และฆ่าเชื้อรา รากมีรสเฝื่อน ใช้ขับเสมหะ[1][4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 คำอธิบาย ตำราพระโอสถพระนารายณ์, ชยันต์ พิเชียรสุนทร และคณะ, หน้า 576–577, พ.ศ. 2558, สำนักพิมพ์อมรินทร์ กรุงเทพฯ
  2. สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ), ราชันย์ ภู่มา และคณะ, หน้า 366, พ.ศ. 2559, โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรุงเทพฯ
  3. "Terminalia elliptica Willd. - Plants of the World Online". Kew Science. สืบค้นเมื่อ March 3, 2020.
  4. ""รกฟ้า" กับสรรพคุณยา". ไทยรัฐ. August 21, 2012. สืบค้นเมื่อ March 3, 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ รกฟ้า
  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Terminalia elliptica ที่วิกิสปีชีส์